Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
16 มี.ค. 2020 เวลา 06:36 • การศึกษา
“หลอกลวงเพื่อเอาเอกสารสัญญาไป ผิดฉ้อโกงหรือไม่?”
คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าความผิดฐานฉ้อโกงนั้น คือการที่ผู้กระทำผิดได้หลอกลวงผู้เสียหายและจากการหลอกลวงนั้นทำให้ได้เงินหรือสิ่งของไป
แต่จริง ๆ แล้วกฎหมายอาญาได้กำหนดให้ความผิดฐานฉ้อโกงนั้นมีขอบเขตที่กว้างกว่าแค่การหลอกเอาเงิน หรือสิ่งของไปจากผู้เสียหาย
เพราะการหลอกลวงให้ผู้เสียหายทำเอกสาร เพิกถอนเอกสาร หรือทำลายเอกสารสิทธิ ก็เป็นความผิดฐานฉ้อโกงได้เช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น นาย ก ให้นาย ข กู้ยืมเงินโดยทำสัญญากู้ยืมกันไว้ ต่อมานาย ข ไปหลอกลวงนาย ก ว่าได้คืนเงินโดยโอนให้นาง ค. แม่ของนาย ก ไปแล้ว นาย ก หลงเชื่อจึงได้ทำลายสัญญากู้ยืมดังกล่าว...
แล้วการหลอกลวงเพื่อให้ผู้อื่นส่งมอบเอกสารให้ล่ะ จะถือว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงด้วยรึเปล่า?
ซึ่งเรื่องนี้ได้เคยเป็นคดีขึ้นสู่ศาลมาแล้ว โดยมีข้อเท็จจริงว่า...
จำเลยตกลงให้ค่านายหน้าโจทก์จำนวน 40,000 บาท และได้บันทึกข้อตกลงไว้ในสัญญาฉบับที่อยู่กับโจทก์
ต่อมาจำเลยได้หลอกลวงเอาสัญญาฉบับดังกล่าวไปจากภรรยาของโจทก์โดยทุจริต ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้เอกสารดังกล่าวในการดำเนินคดีแก่จำเลยได้
โจทก์จึงได้ฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง แต่ศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องเนื่องจากเห็นว่า แม้จำเลยจะเอาสัญญาซึ่งเป็นเอกสารสิทธิไปจากภรรยาโจทก์โดยทุจริต แต่การเอาไปไม่ใช่การทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิซึ่งจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงได้
ซึ่งคดีนี้โจทก์และจำเลยต่อสู้กันมาจนถึงชั้นศาลฎีกา และศาลฎีกาก็ได้มีคำพิพากษาว่า...
ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 นอกจากจะเป็นการหลอกลวงผู้อื่นให้ทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิแล้ว ยังบัญญัติว่าโดยการหลอกลวงนั้นทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามด้วย
ซึ่งทรัพย์สินนั้น มีความหมายรวมถึงทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ และทรัพย์หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง
ดังนั้น เอกสารสัญญาแม้จะเป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียวก็ถือว่าเป็นทรัพย์ เมื่อจำเลยหลอกลวงเอาเอกสารสัญญาของโจทก์ไปจึงครบองค์ประกอบของความผิดฐานฉ้อโกง
(อ้างอิงคำพิพากาษฎีกาที่ 4046/2536)
สรุปคือ แม้การหลอกลวงของจำเลยนั้นจะทำให้ได้ไปซึ่งกระดาษเพียงแผ่นเดียว แต่ตามกฎหมายถือว่ากระดาษเป็นทรัพย์สินของผู้เสียหายเช่นเดียวกัน
เมื่อการหลอกลวงทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินของผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงได้ครับ
ขอบคุณภาพจาก pixabay
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻
13 บันทึก
74
25
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายอาญา
13
74
25
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย