Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
29 เม.ย. 2020 เวลา 14:43 • การศึกษา
เพราะถูกบังคับจึง “จำเป็น” ต้องทำความผิด กรณีแบบนี้คนทำจะต้องรับโทษหรือไม่?
ในบางครั้งเราอาจตกอยู่ในสถานการณ์ที่บีบบังคับและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทำให้ต้องตัดสินใจทำอะไรบางอย่างที่ผิดต่อกฎหมาย
เช่น ต้องทุบกระจกรถยนต์เพื่อช่วยเหลือเด็กที่ติดอยู่ข้างใน
หรือ ถูกหมาบ้าไล่กัดจึงต้องพังประตูบ้านคนอื่นคือเข้าไปหลบซ่อน
ซึ่งการกระทำเหล่านั้นอาจทำให้เราถูกดำเนินคดีจนอาจถึงขั้นต้องขึ้นโรงขึ้นศาลก็ได้
Cr. pixabay
สำหรับคนที่ตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้อาจรู้สึกว่าไม่ยุติธรรม เพราะเหตุที่ต้องลงมือทำก็เพราะสถานการณ์บีบบังคับ แต่กลับต้องกลายเป็นคนที่ทำความผิดเสียเอง
ซึ่งกฎหมายได้วางแนวทางสำหรับเหตุกาณ์แบบนี้ไว้อย่างไร ลองมาฟังจากเรื่องนี้กัน…
สามีภรรยาคู่หนึ่ง ได้แต่งงานอยู่กินกันมาหลายปี
วันหนึ่งสามีจับได้ว่าภรรยาของตัวเองเป็นชู้กับหนุ่มรุ่นน้องที่ทำงาน ด้วยความคับแค้นเลยคิดจะฆ่าชายชู้ จึงบอกกับภรรยาว่าจะให้โอกาสกลับตัว แต่ต้องทำตามที่สั่ง ไม่อย่างนั้นจะฆ่าให้ตายทั้งสองคน
Cr. pixabay
จึงวางแผนให้ภรรยานัดหนุ่มรุ่นน้องมาเจอกันในสถานที่นัดพบเพื่อที่จะฆ่าทิ้ง และได้กำชับว่าให้พาไปให้ได้ ไม่งั้นเตรียมตัวตาย..
ด้วยความกลัว ภรรยาจึงไปหลอกชวนหนุ่มรุ่นน้องให้ไปร่วมหลับนอนกัน และเมื่อมาถึงที่นัดหมาย สามีก็ออกมาฆ่าชายชู้จนถึงแก่ความตาย...
ต่อมา ทั้งคู่ก็ถูกจับกุมและดำเนินคดีในข้อหาฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตแต่มีเหตุลดโทษลง 1 ใน 3 เหลือจำคุกตลอดชีวิต และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
1
ศาลฎีกาพิจารณาจากพยานหลักฐานแล้วเห็นว่าที่ภรรยาลงมือกระทำความผิดนั้นเกิดขึ้นเพราะความจำเป็นอันเนื่องมาจาก...
1. ภรรยาและสามีอยู่ด้วยกันเพียงสองคนในบ้านพัก
2. ภรรยาเป็นหญิงซึ่งเป็นเพศที่อ่อนแอกว่าจึงอาจถูกสามีข่มเหงเอาได้ตลอดเวลา
3. การที่ภรรยาเป็นชู้กับผู้ตาย ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงที่ฝ่ายสามีอาจลงมือฆ่าภรรยาได้จริง
Cr. pixabay
4. ไม่ปรากฏว่าภรรยามีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตาย จะเห็นได้ว่าเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจพาภรรยามาถึงที่เกิดเหตุ ภรรยาร้องไห้และเล่าถึงเหตุที่ฆ่าผู้ตายให้ฟัง
5. ผู้ตายยอมทำตามที่ภรรยาชักชวนโดยไม่ระแวงสงสัยชี้ให้เห็นว่า ภรรยาร่วมฆ่าผู้ตายเพราะตกอยู่ภายใต้อำนาจของสามีซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้
6. แต่การที่ภรรยาถึงกับยอมร่วมมือกับสามีฆ่าผู้ตาย ถือได้ว่าได้กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็น ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
7. เมื่อพิเคราะห์ถึงว่าผู้ตายมีส่วนก่อเหตุอยู่ด้วยโดยมาติดพันฝ่ายภรรยาจนได้เสียเป็นชู้กันทั้งที่รู้อยู่แล้วว่า ฝ่ายภรรยามีครอบครัวอยู่แล้ว จึงเห็นสมควรกำหนดโทษให้เหมาะสมกับความผิด จึงพิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำคุก ภรรยา 13 ปี 4 เดือน
(อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 8046/2542)
Cr. pixabay
สรุป... คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นว่าฝ่ายภรรยาได้ร่วมกระทำความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจึงพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
แต่ศาลฎีกาเห็นว่า ที่ฝ่ายภรรยากระทำความผิดก็ด้วยความจำเป็น แต่ก็เกินสมควรแก่เหตุ จึงพิพากษาลงโทษฝ่ายภรรยาน้อยลงกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้
Ref.
- กฎหมายอาญามาตรา 67 "ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือจะได้... ถ้าการกระทำนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุ ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ"
1
- กฎหมายอาญามาตรา 69 "ถ้ากรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 67... ถ้าผู้กระทำได้ทำไปเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
ยังมีช่องทางอื่น ๆ ให้ติดตามกัน 😉
- สำหรับเอาไว้อ่านบทความดีๆ
Facebook.com/Nataratlaw
- สำหรับเอาไว้ดูรูปสวย ๆ กับอินโฟกราฟิก
Instagram.com/Natarat_law
- สำหรับสายย่อ เอาไว้รับข่าวหรือข้อกฎหมายแบบกระชับ
https://twitter.com/Nataratlaw?s=09
27 บันทึก
151
31
25
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายอาญา
27
151
31
25
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย