Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BookDojo
•
ติดตาม
23 มี.ค. 2020 เวลา 05:47 • ข่าว
หมอก้อง เมทิล
-แก้ต่างให้หมอก้องหน่อย ขอค่าจ้างด้วย 55
-เมทานอล คืออะไร
1
วันก่อนดังในโซเชียลว่าหมอก้องโพสต์ใช้เมทิลแอลกอฮอล์หรือเมทานอลทำเป็นเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ ซึ่งโดนโซเชียลกระหน่ำว่าหมอจริงหรือหมอเก๊ เพราะเมทิลแอลกอฮอล์เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมากทั้งการกินและการสัมผัส
แต่ความจริงแล้วหรือเป็นเพราะหมอก้องพิมพ์ผิด ต้องพิมพ์ว่าโพรพิว หรือไอโซโพรพิวแอลกอฮอล์ที่มีกลิ่นฉุนกว่าเอทานอล
เรามาไล่ดูความแตกต่างของแอลกอฮอล์สามชนิดนี้กัน
เริ่มจากตัวที่อันตรายที่สุดอย่าง เมทานอล (Methanol = Methylalcohol)
สูตรโมเลกุลของมันคือ CH3OH จะเห็นว่ามีคาร์บอน 1 ตัว มีอีกชื่อหนึ่งว่า Wood alcohol เมทานอลนั้นเกิดจากการหมักเช่นเดียวกับเอทานอล และในเหล้า เบียร์ ไวน์นั้นมีเมทานอลปนเปื้อนอยู่แต่มีปริมาณน้อยมาก ปัจจุบันการผลิตเมทานอลใช้การไฮโดรจีเนชั่นของคาร์บอนไดออกไซด์ (เติมไฮโดรเจนในคาร์บอนไดออกไซด์)
เมทานอลถูกนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมผลิตสารเคมีหลายชนิด เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ ที่เรารู้จักกันว่าฟอร์มาลีน กรดอะซีติก หรือน้ำส้มสายชูนั่นเอง เอาไปผสมน้ำมันใส่รถได้ด้วย
1
ในอนาคตอาจเห็นการใช้เมทานอลแทนที่น้ำมัน ด้วยต้นกำเนิดมาจากคาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรเจน ทำให้มันเป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกที่มีบทบาทลดภาวะโลกร้อน
อย่างไรก็ตามเมทานอลเป็นสารที่เป็นพิษสูงต่อร่างกาย แม้สูตรโมเลกุลจะต่างจากเอทานอลที่ใช้ดื่มแค่คาร์บอนอะตอมเดียว
มีข่าวคนตายจากเมทานอลเกิดขึ้นเรื่อยๆ ส่วนมากมาจากประเทศกำลังพัฒนาที่หมักและกลั่นเหล้าเอง
อาการพิษจากเมทานอลเกิดจากเมื่อดื่มเมทานอลเข้าไป ด้วยโมเลกุลที่เล็กและละลายในไขมัน ตัวมันจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดอย่างรวดเร็วทางกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังผ่านทางการสูดดมและทางผิวหนังได้อีกด้วย
เมื่อดูดซึมแล้วจะเกิดอาการเช่นเดียวกับเอทานอล คือการกดระบบประสาทส่วนกลาง นอกจากนี้ที่ตับด้วยเอนไซม์ Alcohol dehydrogenase เอนไซม์เดียวกับที่ย่อยเอทานอลในเหล้า เบียร์ จะย่อยเมทานอลให้กลายเป็นฟอร์มัลดีไฮด์ (เอ่ เหมือนพูดไปแล้วครั้งหนึ่งก่อนหน้านี้ ขึ้นไปดู) ที่มีกลิ่นเฉพาะตัว ลองไปดมลมหายใจของคนกินเมทานอลดูนะครับ (ห้ามกิน! ถึงตาย! เตือนแล้วนะ)
ฟอร์มัลดีไฮด์จะถูกย่อยด้วยเอนไซม์ Aldehyde dehydrogenase กลายเป็นกรดฟอร์มิก หรือกรดมดที่อยู่ที่ก้นมดแดง! กรดมดนี้จะไปยับยั้งการหายใจระดับเซลล์ที่ cytochrome c oxidase ในไมโตรคอนเดรียแบบเดียวกับไซยาไนด์!
2
การหายใจระดับเซลล์เป็นการใช้ O2 และกลายเป็น CO2 เพื่อให้เกิดพลังงานขึ้น เพราะร่างกายของทุกสิ่งมีชีวิตต้องการพลังงาน!
1
โคนันคุง
พอขาดพลังงาน ร่างกายเราจะสวิตช์ไปใช้การสร้างพลังงานที่ไม่ใช้ออกซิเจนแทน แต่เราไม่ใช่แบคทีเรียในถังขี้ที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจน เราจะเริ่มย่อยน้ำตาลกลายเป็นกรดแลคติกทำให้มีกรดสะสมในร่างกาย หายใจเร็วเพื่อเรียกออกซิเจนเพิ่มและขับกรดออกทางลมหายใจ
คนที่สัมผัสเมทานอลจะเริ่มมีอาการใน 1-72 ชั่วโมง ในช่วงแรก จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ปวดหัว เดินเซ ซึม ต่อมาจะตาบอด และจบด้วยการเสียชีวิตในที่สุด
การรักษา อาจจะไม่เชื่อกัน แต่ทำโดยการกรอกเหล้าเข้าปากคนไข้เป็นขวดๆ เหล้าที่เป็นเอทานอลจะไปแย่งจับเอนไซม์ Alcohol dehydrogenase ในตับ ทำให้เมทานอลงอนไม่มีที่จับ มันจะอยู่อย่างเหงาๆแล้วขับออกทางไต ตัวเอทานอลเองก็จะกลายเป็นอะซีตัลดีไฮด์ (Acetaldehyde) ที่เป็นพิษน้อยกว่าฟอร์มัลดีไฮด์
3
NIAAA
อะซีตัลดีไฮด์นี่แหละที่ทำให้เกิดหน้าแดงและแฮงค์ตอนเช้าโดยเฉพาะคนเอเชียที่ไม่สันทัดการดื่มเหล้า (หรอออ) จะหน้าแดง ปวดหัว อาเจียนเพราะมีเอนไซม์ Aldehyde dehydrogenase น้อยนั่นเอง เป็นพันธุกรรมที่สืบทอดจากบรรพบุรุษคนเอเชียที่ไม่ชอบดื่มเหล้า
1
wikipedia
นอกจากนี้ก็เป็นการประคับประคองเกลือแร่ กรดด่างในเลือด และการฟอกเลือด
ทำไมหมักแบบบ้านๆถึงเจอคนเป็นพิษจากเมทานอลอยู่บ่อยๆ
อุตสาหกรรมผลิตเหล้าเบียร์ขนาดใหญ่จะมีกระบวนการผลิตอย่างเข้มงวด และมีกระบวนการจำกัดการสร้างเมทานอล ทั้งการคัดเลือกเชื้อที่ใช้ทำการหมักอย่างคงที่ และการกลั่นที่สามารถกำจัดเมทานอลออกไปได้เพราะจุดเดือดของเมทานอลต่ำกว่าเอทานอล
1
ถ้าไม่นับการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ที่ตั้งใจนำเมทานอลใส่เข้าไปผสม โดยส่วนหนึ่งคิดว่าสามารถเพิ่มความแรงของเหล้าได้ ก็แน่ล่ะ เพราะถ้าโดนเมทานอลเข้าไปทั้งเซ ทั้งปวดหัว อีกส่วนหนึ่งใส่เข้าไปเพื่อลดต้นทุน
การหมักแบบบ้านๆที่มีเมทานอลปนเปื้อนมักเกิดในประเทศกำลังพัฒนาโดยมีสาเหตุหลากหลาย ได้แก่ ปริมาณเพคติน สายพันธุ์ของเชื้อยีสต์และแบคทีเรีย และเทคนิกการหมักและการกลั่น
1
พืชที่มีเพคตินสูงเมื่อถูกหมักจะเกิดเมทานอลได้มาก โดยขึ้นกับหัวเชื้อที่ใช้ในการหมัก ปกติยีสต์ Sacharomyces cerevisiae เป็นตัวที่ใช้หมักเบียร์และใส่ในขนมปัง ตัวมันมีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์เมื่อนำไปใช้หมักจะมีเมทานอลในอัตราส่วนที่สูงกว่า
2
กล้วย พลัม มะม่วง แพร์ เมล่อน อ้อย agave ส้ม มะนาว เครื่องดื่มจากผลไม้พวกนี้มีประวัติพิษจากเมทานอลมาหมดแล้ว
ผลไม้ตระกูลส้มและองุ่น เช่น ส้ม มะนาว เลมอน องุ่น มีปริมาณเพคตินสูงถึง 10% เมื่อเพคตินถูกย่อยด้วยเอนไซม์ Pectin Methyl Esterase (PME) ที่สร้างจากหัวเชื้อจุลินทรีย์จะกลายเป็นเมทานอล
1
เพคตินคืออะไร
เพคตินคือโพลีเมอร์ของน้ำตาลที่ต่อๆกันอยู่ที่ผนังเซลล์ของพืชผักผลไม้แทบทุกชนิด ผงเพคตินนำมาทำวุ้น และทำให้แยมหนืดได้
Aiyu jelly เพคตินนำมาเป็นวุ้น
นอกจากนี้ปริมาณเมทานอลยังขึ้นกับขนาดวัตถุดิบ ถ้าใหญ่ก็มีปริมาณมาก อายุวัตถุดิบ โดยปริมาณเพคตินจะลดลงถ้าผลไม้สุก อุณหภูมิการหมัก โดยเอนไซม์ PME นั้นทำงานได้ดีที่ 50-60 องศาเซลเซียส และการกลั่น โดยการกลั่นที่ไม่ถูกวิธียังเพิ่มความเข้มข้นของเมทานอลขึ้นไปอีก
เกร็ดเล็กๆ คนเรายังสามารถสร้างเมทานอลได้เองจากเชื้อ Clostridium, Erwinia, และ Pseudomonas ในลำไส้ใหญ่!
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5028366/
https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/j.1600-0773.1991.tb01290.x
https://www.cdc.gov/niosh/ershdb/emergencyresponsecard_29750029.html
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Pectin
เอทานอล มีคาร์บอนสองตัว ทุกคนรู้จักกันดีว่าคือแอลกอฮอล์ที่ใช้ดื่ม และใช้ล้างแผลได้ด้วย ทำแก๊ซโซฮอล์ได้อีกต่างหาก
ไอโซโพรพิวแอลกอฮอล์ มีคาร์บอนสามตัว ใช้ทำเจลแอลกอฮอล์ ใช้ล้างแผลได้เหมือนกัน แต่ดื่มไม่ได้ เป็นพิษ ตัวนี้จะมีกลิ่นฉุนกว่าเอทานอลตามที่หมอก้องบอกเลย เพราะตัวเมทานอลจะมีกลิ่นเหมือนเอทานอลจนแยกไม่ออก!
สรุปตัดจบ Take home message
-อย่าแดก อย่าทาเมทานอล ถึงตายได้ เตือนแล้วนะ!
-ใช้ถูมือ หรือทำความสะอาดให้ใช้ เอทานอล และโพรพิวแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป
-ที่หมอก้องโดนด่า น่าจะพิมพ์ผิด เกิดเป็นคนก็ผิดกันได้ (แต่ตอนมาสอน CPR แกก็ผิดนะ)
1
-ระวังเวลาไปดื่มเหล้าหมักเองกลั่นเอง ถ้าคนรู้จริงก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ากลั่นแบบงูๆปลาๆ อาจโดนเมทานอลเข้าไปเต็มๆ บอกเลยรสชาติไม่ต่าง (ทำเหมือนเคยกิน) กว่าจะมีอาการก็หนักเสียแล้ว เพราะอาการเริ่มแรกแม่งก็เหล้าดีๆนี่เอง ปกติคนที่จะมาโรงพยาบาลด้วยพิษเมทานอลมักมีเพื่อนตายไปแล้วอย่างน้อย 1 คน!
22 บันทึก
71
11
14
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เรื่องเล่าการแพทย์ Medicine Story
โรคระบาดโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)
22
71
11
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย