29 มี.ค. 2020 เวลา 04:28 • สุขภาพ
Learning Visual Diary #54 : Work From Home อย่างมีคุณภาพกันเถอะ
สวัสดีครับทุกท่าน ในสถานการณ์ Covid19 เราทุกคนต้องปรับตัวอย่างมาก ภายใต้ภาวะที่ท้าทายเช่นนี้ วันนี้ทุกคนพูดถึง Work from Home ครับ ผมเลยอยากมาชวนคุยหลายๆแง่มุมของ WFH ทำแล้วดียังไง หรือว่าไม่ดี แล้วถ้าต้องทำควรปรีบวิธีคิดวิธีทำงานยังไง ใหนๆเราก็ต้องเผชิญกับมันครับ ก็มาทำความรู้จักกับ WFH กันครับ
คือมันอย่างนี้ครับ...
จริงๆแล้วต่อให้เราไม่ได้อยู่สภาพการณ์แบบนี้ Work from Home ก็ถือเป็น trend หนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงมากครับ เพราะในยุคที่เต็มไ ปด้วย gen Y และ Z ซึ่งให้มูลค่ากับความอิสระอยู่แล้ว เราจะมีการพูดกันเรื่อง Flexible time มากขึ้น จากการสำรวจใน US ในปี 2018 พบว่า 57%ของคนทำงานประจำใข้ flexible time และประมาณ 25% มีการทำ Work form Home เป็นบางครั้ง เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เรามีเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อการทำงานได้ง่าย
วัตถุประสงค์ของ Work from Home ถ้าเป็นแบบดั้งเดิมเลย มันก็คงเริ่มจากความจำเป็นของตัวพนักงานหรือสถานการณ์ เช่น คุณแม่มือใหม่ขอ work from home เพื่อดูแลลูก น้ำท่วมที่หลายคนยังจำได้ จนถึง Covid19 ในปัจจุบัน แต่นอกจากเหตุผลด้านความจำเป็น มันก็ยังมีเหตุผลด้าน productivity ด้วย เหมือนที่เราเคยคุยกันในหนังสือ Drive ว่าแรงจูงใจของคนใสปัจจุบันนี้้ส่วนหนึ่งมาจากเรื่องอิสระที่จะเลือกงาน ที่ทำงาน เวลาทำงาน ที่พูดมาก็ฟังดูว่า WFH ก็ดี ลองมาพิจารณาด้วยกันครับ
ข้อสนับสนุนของ WFH
1. ประหยัดเวลาและเงิน ข้อนี้จริงมากๆโดยเฉพาะการทำงานในกรุงเทพ เราต้องเสียเวลาเป็นจำนวนมากบนถนน โดยที่ไม่ได้อะไรเลย การ Work from Home ทำให้ตัวเราและองค์กรได้เวลานี้กลับมา นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พูดถึงว่าพนักงานที่ Work from Home มีแนวโน้มที่จะมีเวลาพักในช่วง Working Hour ลดลง ก็อาจเป็นเพราะไม่ต้องเดินไปใหนไม่มีที่ช๊อปปิ้งมั้งครับ นอกจากนี้ยังมีสถิติว่าพนักงานมีแนวโน้มลาป่วยลดลง อาจเป็นเพราะอยู่บ้านอยู่แล้วป่วยนิดหน่อยก็อาจจะไม่ลาก็ได้ครับ
2. Work-Life Balance อยู่บ้านก็ทำให้พนักงานรู้สึกผ่อนคลายขึ้น มีเวลาให้ครอบครัวมากขึ้น รู้สึกมีอิสระมากขึ้น บางคนหรือบางองค์กรมองว่า Work from Home ถือเป็น benefit สำหรับพนักงานเลยครับ ลองคิดง่ายๆว่าถ้าเราได้ Work from Home แล้วเราได้งานใหม่ที่เงินเดือนมากขึ้นแต่ไม่มี WFH แล้วเราอาจจะไม่ไปก็ได้นะครับ อย่างน้อยถ้าไม่มากพอหรือไม่มากกว่าค่าน้ำมันที่ต้องเสียไป
3. ลด Noise ในที่ทำงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการขาดประสิทธิภาพของคนทำงาน เพราะเมื่อเราเจอกันตลอดเราก็สื่อสารกันตลอดแต่บางทีมันก็อาจจะคุยเยอะไป ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เราไม่ค่อย focus เท่าไร บางทีผมก็เป็นนะ มีคนมาคุยด้วยทั้งวัน จบวันเหมือนยังไม่ได้ทำอะไร ผมคิดว่าการที่เราเจอ office noise มากๆ จะทำให้เรามัวแต่ทำงานไม่สำคัญแต่เร่งด่วนมากเกินไป
4. เป็นโอกาสในการเพิ่ม Productivity อันนี้ประสบการณ์ตรงครับ หลังจากที่เราเจอเหตุการณ์ Covid ทำให้ผมและทีมจำเป็นต้องคิดเรื่อง remote work มากขึ้น สถานการณ์บังคับให้เราหา tool ใหม่ๆมาใช้ หรืออาจจะไม่ใช่ tool แต่เป็นวินัยบางอย่างที่เกิดขึ้น เช่น การทำ performance check in ทั้งๆที่ตอนเจอกันเราอาจจะไม่ทำบ่อยแบบนี้ก็ได้ครับ ก็ถือว่าเป็นการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสครับ เรื่องนึงที่ผมคิดว่าชอบมาก คือการประชุมผ่าน Microsoft Team หรือ Zoom เพราะมันทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพจริงๆ เพราะมันแย่งกันพูดไม่ได้ ใครพูดคนอื่นต้อง mute ผมว่าเวิร์คนะ หลัง WFH ก็น่าจะทำต่อครับ
5. สร้าง Motivation และอาจเปิดโอกาสให้องค์กรสามารถหา talent ใหม่ๆได้ เพราะบางคนก็ให้ค่ากับเรื่อง WFH จนถึงขั้นยอมลดเงินเดือนเลยทีเดียว หรือบางคนอาจจะอยู่ไกลการให้ WFH option ก็ทำให้เรากำจัดข้อจำกัดด้านระยะทางได้
แต่การทำ WFH ก็มีข้อจำกัด
1. มาตรฐานของ Work Environment ไม่เท่ากัน เวลาเราอยู่ใน office เราก็ใช้ facility ของ office แต่เมื่ออยู่บ้านต่างคนก็ต่างมี facility ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นความเร็วของ internet อุปกรณ์สำนักงาน นอกจากนี้ บางงานที่เกี่ยวกับเรื่องเงินทองหรือสัญญาที่เป็นทางการ บางเรื่องเราก็เสี่ยงกับ environment ที่ไม่เสถียรไม่ได้เหมือนกัน
2. ขาดการสื่อสารต่อหน้า แม้จะมี video conference แต่เราก็จะขาดการสื่อสารผ่าน body language ไปเยอะเหมือนกัน งานบางงานทำต่อหน้าดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นการให้ feedback การสอนงาน ต้องอย่าลืมว่าการสื่อสารมนุษย์ผ่านภาษาเป็นแค่ 20% ส่วน body language ทำหน้าที่อีก 80%ที่เหลือครับ
3. สิ่งรบกวนใหม่ในบ้าน ผมนี่โดนตรงๆเลยครับ เพราะผมมีลูกเล็กๆในบ้าน แกคงไม่ปล่อยให้ผมทำงานอย่างสงบง่ายๆแน่ๆ ใครมีลูกคงเข้าใจ บางเรื่องเลี่ยงยากและบางทีที่บ้านก็อาจจะไม่เข้าใจ เช่น ดันคิดว่านี่คือวันหยุด
4. คุณอาจแยกเวลางานกับเวลาส่วนตัวไม่ได้ จากเดิมการเดินทางไป office มันเหมือนพิธีกรรมที่ทำให้คุณเปลี่ยนร่างเป็นมนุษย์ทำงานทันที แต่คุณทำงานที่บ้าน คุณอาจจะโดนชีวิตส่วนใดส่วนหนึ่งกลืนไปก็ได้ หลายๆงานวิจัยยังบอกว่าการทำงานที่บ้านอาจทำให้คุณทำงานมากเกินไปเพราะไม่รู้ว่าควรเลิกตอนใหน
แล้วจะทำ WFH ต้องทำยังไง
เข้าใจข้อดีข้อจำกัดของ WFH แล้ว ตอนนี้ต้องทำแล้วครับ หลักการของ WFH ที่ผมจะยกมาคือหลัก 3C ซึ่งผมเอาความคิดมาจาก Cup of Culture Podcast มีอะไรบ้าง ลองดูนะครับ
Communication เพราะ WFH ทำให้เราไม่เจอกัน การสื่อสารจึงสำคัญมาก ปัจจุบันเรามี tool มากมาย ผมคงไม่ได้มาเล่าเรื่อง Application ครับ แต่มันจริงที่เราต้องมี tool ที่ดีครับ ทุกวันนี้เราชอบใช้ line กัน ซึ่งมันก็ใช้ได้ดี แต่ต้องใช้ให้เหมาะสม บางครั้งการใช้ line อาจจะเกิด distraction มากขึ้นเพราะเรามีเรื่องส่วนตัวในนั้นเยอะมากและโปรแกรม line เองก็ถูกออกแบบมาให้สร้าง distract อยู่แล้ว นอกจากนี้บางครั้งเราแชทผ่าน line มันไม่เหมาะกับงานด่วน แล้ว function การแทคว่า read มันทำให้เราคาดหวัง feedback จากอีกฝ่าย ซึ่งจริงๆแล้วมันอาจจะเป็นแค่การเปิดหน้าจอทิ้งไว้ก็ได้ครับ ปกติถ้าด่วน ผมคิดว่าโทรเอาเลยดีที่สุด line หรือ email คืออะไรที่รอได้ เราต้องแยก tool ที่ใช้ตามความด่วนหรือข้อจำกัดของเวลาด้วยครับ
Coordination ข้อนี้ก็ยังเกี่ยวกับ tool ครับ เพราะการทำ WFH เราไม่ได้สื่อสารกันตลอดเวลา ดังนั่น tool ที่ดีต้องช่วยให้ทีมสามารถเห็นจังหวะการทำงานเดียวกันได้ จึงจะร่วมมือกันได้ มันเหมือนการเต้น cover dance ที่ตอนซ้อมต้องมีกระจกบานใหญ่เพื่อให้ทุกคนเห็นทีมทั้งหมด ดังนั้น เราเลยต้องมี daily check in เราต้องมี task managemnet tool ทั้งหลายมาช่วยครับ
Culture ข้อนี้เป็นเรื่อง mindset การทำ WFH ให้ได้ผลดี ต่องเริ่มจาก mindset ของผู้บริหาร องค์กรต้องมีความชัดเจนเรื่อง core value มากๆ ทีมต้องเห็นเป้าหมายเหมือนๆกันตั้งแต่บนถึงล่าง เมื่อทีมมีเป้าหมายเดียวกัน ทีมก็จะมีความรับผิดชอบต่อเป้าหมาย ซึ่งองค์กรหรือผู้บริหารต้องมีความเชื่อเรื่องความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่ไม่ใช่แค่ความเชื่อใจที่มาจากตำแหน่งหรือความสามารถ แต่เป็นความเชื่อใจที่มาจากเป้าหมายเดียวกัน ทำให้การ empowerment มันเป็นการกระจายความเชื่อใจออกไปได้จริงๆ ปัจจุบันมีการพูดถึงการทำงานแบบ Result Only Work Environment (ROWE) ที่บอกว่าจะทำงานแบบใหนก็ได้ เข้างานที่ใหนก็ได้ แต่ต้องมีเป้าของผลลัพธ์ที่เหมือนกันครับ เหมือนที่ Jeff Bezos พูดไว้ว่า "Stubborn on vision and flixible on details" แต่ก็แน่นอนว่าอุปกรณ์ที่ support สองข้อแรกก็ต้องมีด้วยนะครับ
แต่จะอย่างไรการ WFH ก็ต้องปรับตัวเยอะมากๆครับ ผมหวังว่าทุกท่านที่ต้องทำ WFH จะสามารถเอาประสบการณ์ที่ดีใรช่วงนี้ไปปรับใช้กับงานระยะยาวครับ ใหนๆก็มีเวลาหรือโดนบังคับให้ปรับวิธีทำงานแล้ว อย่าให้เสียเปล่าครับโอกาสนี้ไม่มีบ่อยๆครับ Stay safe and healthy ครับ
Happy Learning
ขอบคุณครับ
ชัชฤทธิ์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา