5 เม.ย. 2020 เวลา 02:44 • สุขภาพ
Learning Visual Diary #55: 5 Stages การเดินทางจากวิกฤตสู่ Next Normal
สวัสดีครับทุกท่าน หวังว่าเพื่อนๆทุกท่านจะยังสบายดีกันอยู่นะครับ ตอนนี้เรื่องสุขภาพน่าจะเป็น priority สำคัญที่สุด รักษาสุขภาพที่ดีทั้งกายและที่สำคัญคือใจ เพื่อผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้ด้วยกันครับ ซึ่งการที่เราจะสามารถผ่านวิกฤตหรืออุปสรรคต่างๆได้ เราต้องมีสติและต้องทำความเข้าใจวิกฤตหรืออุปสรรคนั้นๆครับ วันนี้ผมเลยอยากมาคุยถึงขั้นคอนหรือพัฒนาการของวิกฤตกันครับ มาทำความเข้าใจเพื่อเตรียมพร้อมไปด้วยกันครับ
คือมันอย่างนี้ครับ...
บทความในวันนี้ผมเอาเนื้อหามาจาก Mckinsey โดยคุณ Kevin Sneader and Shubham Singhal ซึ่งได้พูดถึงเส้นทางวิวัฒนาการของวิกฤต Covid19 ที่มีผลต่อตัวเราไปสู่อนาคตที่เราจะเจอโดยแบ่งพัฒนาการของวิกฤตครั้งนี้เป็น 5 stages ได้แก่ Resolve, Resilience, Return, Reimagination และ Reform เราลองมาไล่ดูด้วยกันทีละ stage เพื่อจะทำความเข้าความเป็นไปของวิกฤต และอะไรที่เป็นแนวโน้มที่จะรอเราอยู่ข้างหน้าครับ
Stage 1: Resolve
เมื่อวิกฤต Covid19 เกิดขึ้น สิ่งแรกที่ประเทศหรือสังคมต้องเริ่มทำทันทีคือ การรับมือระยะสั้นเพื่ออยู่รอด มันคือการแก้ไขทุกอย่างเพื่อให้สามารถรองรับวิกฤตให้ได้ ตั้งแต่ระดับประเทศ การสาธารณสุขที่เปลี่ยนไป การจัดการขนส่งสาธารณะที่เปลี่ยนไป ปัญหาของ stage ในระดับสังคมหรือระดับประเทศ คือความไวในการรับรู้ปัญหา และตอบรับอย่างรวดเร็วเพียงพอหรือไม่
สำหรับธุรกิจ ช่วงแรกจะเป็นช่วงที่เราเริ่มขุดแผน BCP มาใช้กัน แผนในการดูแลความปลอดภัยพนักงานก็ต้องมาก่อน WFH ก็ต้องเกิดขึ้น แน่นอนว่าช่วงแรกการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงจะกระทบ operation แน่ๆ แต่บางธุรกิจก็ต้องเร่งตัวเพื่อผลิตสินค้าให้ทันกับความต้องการที่เพิ่มอย่างมาก เข่น หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู หรือของใช้จำเป็นในบ้าน ดังนั้นใน stage นี้ ที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ทันที ความสับสนต้องเกิดแน่นอน สิ่งที่ผู้นำต้องทำคือ ตัดสินใจ และต้องตัดสินใจถึงความเร็ว ขนาด และความลึกของทุกๆ action ที่ทำด้วย การตัดสินใจต้องทำได้ทันที และความต้องตัดสินใจโดยผู้นำเท่านั้น และต้องมีทีมเฉพาะกิจในการจัดการแต่ละเรื่องอย่างรวดเร็ว
Stage 2: Resilience
ตอนแรกวิกฤตจะทำให้เราวุ่นวายครับ ต้องปรับกับสถานการณ์ใหม่ แต่ความน่ากลัวที่แท้จริงของ Covid19 ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วแต่เป็นระยะเวลาของวิกฤตที่ยาวนานและไม่รู้ว่าจะจบตรงใหน ซึ่งพอมันนานและหา ending event ไม่ได้ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าสถานการณ์นี้จะกระทบกับเศรษฐกิจแน่นอน นอกจากนี้ยังกระทบกับความเป็นอยู่ของผู้คน พอมันนานคนออกไปใหนไม่ได้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจถูกจำกัดคนก็เครียดเงินก็ร่อยหรอลงไป
ธุรกิจก็เช่นกัน การอยู่รอดในระยะกลางไม่ได้เป็นเรื่องของแผนที่เฉียบคมแต่เป็นเรื่องของสภาพคล่อง เป็น Liquidity Game บริษัทที่มีสัดส่วนหนี้สินมากๆจะเจอปัญหา ยิ่งเวลานานไปบริษัทยิ่งต้องจำกัดรายจ่าย ทำให้ unemployment rate สูงอย่างเลี่ยงไม่ได้ (แต่ตอนนี้ตัวเลขคน claim สวัสดิการว่างใน US ก็มากกว่า 6.6ล้านคนแล้ว) GDP ของโลกก็ติดลบอย่างไม่ต้องสงสัย และจาก Health Crisis จะกลายเป็น Financial Crisis และเราไม่ได้พูดถึง recession แต่มันจะกลายเป็น Great Depression ครับ ถ้า Stage แรกคือ perfect strom ใน Stage ที่สองนี้คือ the longest winter ครับ ความอดทนจึงสำคัญมาก เงินสดสำคัญมากทั้งสำหรับบุคคลและองค์กร
Stage 3: Return
หลังจากคนหรือธุรกิจเริ่มตั้งตัวได้ สังคมเริ่มเห็นโครงของการควบคุมสถานการณ์ได้ กิจกรรมต่างๆจะเริ่มกลับมาทีละเล็กละน้อย ผู้ประกอบการเริ่มปัดฝุ่นกิจการและกลับมาดำเนินการอีกครั้ง สิ่งสำคัญคือ รายละเอียดของแผนในการกลับมาเริ่มใหม่ ต้องอย่าลืมว่า มันไม่ได้เหมือนผ่าน long holiday ครับ ทั้งในแง่เวลาและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การจ้างงานเกิดขึ้นอีกครั้ง การ training เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรสามารถทำงานได้จริงๆ ขั้นตอนและระบบงานต้องถูก review บทบาทของผู้นำในตอนนี้คือการเข้าไปดูในทุกๆขั้นตอนการทำงาน เพื่อสร้างความแน่ใจและมั่นใจให้กับคนที่เกี่ยวข้องทั่งหมด (ตัวเอง ลูกค้า คู่ค้าและพนักงาน)
Stage 4: Reimagination
เนื่องจากขนาดของ Shock รอบนี้มันหนักมาก และไม่ได้กระทบแต่เศรษฐกิจแต่มันกระทบพฤติกรรมเลย มันกระทบวิธีดำเนินชีวิต วิธีการทำงานร่วมกัน และระดับการเข้าถึง technology วิกฤตครั้งนี้เหมือนเป็นตัวเร่ง trend หลายอย่างให้เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบแต่ทุกคนก็สั่งอาหาา online ได้แล้ว นักเรียนก็เรียนผ่านจอได้แล้ว คนทำงานก็ WFH ได้แล้ว หลังจากนี้ เราอาจจะงงงงก็ได้ว่าทำไม เรายังต้องขับรถไปที่ทำงานหรือมหาวิทยาลัยอยู่ การไปทานข้าวร่วมกันในร้านอาหารยังเป็นพฤติกรรมหลักของเราใหม มาตรฐานความสะอาดต่อจากนี้จะเป็นยังไง การเดินทางหรือรูปแบบการท่องเที่ยวจะเป็นยังไง
เราต้องมองวิกฤตไม่ใช่แค่ความเสี่ยงแต่มีโอกาสในการพัฒนาประสิทธิภาพของธุรกิจ หน้าที่ของผู้นำตอนนี้คือการอ่านเกมส์และตัดสินใจว่ต้นทุนอะไรที่ยังควรเป็น fixed cost อะไรที่ควรเป็น variable cost ต้นทุนอะไรที่จำเป็นจริงๆในอดีตอาจกลายเป็น nice to have ก็ได้ ขณะที่อะไรที่ nice to have อาจจะกลายเป็นสิ่งจำเป็น ผู้นำต้องจินตนาการให้ได้ว่า อะไรไม่จำเป็นแล้ว และอะไรที่จำเป็นต้องทำเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนทฝ วิกฤตรอบนี้บังคับให้คนเข้าถึง technology เป็นตัวเร่งให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งตัวผู้บริโภคและธุรกิจ ธุรกิจที่จะอยู่ต่อไปได้และเติบโตต้องเรียนรู้ที่จะเพิ่มความอดทนต่อแรงเสียดทานจากภายนอกได้ครับ
Stage 5: Reform
Covid19 ถือเป็นวิกฤตของคนทั้งโลก ทำให้บทบาทของภาครัฐมีบทบาทอย่างมากในการควบคุมภาคธุรกิจถึงระดับกิจกรรมทางธุรกิจเลย การออกกฎต่างๆที่ไม่เคยออกมาก่อนก็มีให้เห็นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะด้าน Healthcare นับจากอดีต มาตรฐานด้าน Healthcare ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่นับจากนี้ไปเราอาจเห็นมาตรฐานด้านนี้ที่เปลี่ยนไปอย่างมาก เราอาจจะต้องมีการทำ health certificate เพื่อเดินทางใหม หรือรัฐอาจจะออกกฎในการต้องมีอุโมงค์ค่าเชื้อก่อนเข้างานคอนเสิร์ตหรือป่าว
หรือบางกฎหมายอาจจะมา support การทำ digital transformation จริงๆ สถาบันการศึกษาสามารถทำ online กับ physical class ผสมกันได้ เรื่องหลายอย่างที่กฎหมายปัจจุบันยังไม่อนุญาตให้ทำแบบ online ก็อาจจะเปลี่ยนไป โลกหลังจากนี้ แน่นอนว่สพฤติกรรมคนจะไม่เหมือนเดิม ผู้นำก็ต้องจับให้ได้ว่า กติกาของภาครัฐหรือภาคธุรกิจในยุค post Covid19 ก็อาจจะไม่เหมือนเดิมเช่นกัน
ผ่านไปแล้วกับ 5 stages: The path to the Next Normal ผมคิดว่าบทความนี้ยังเป็นเชิง concept มากๆ แต่ก็ช่วยจับความคิดของเราจากที่มันกระจายๆให้เป็นกลุ่มๆได้ดีขึ้น สิ่งสำคัญคือ เมื่อเราเรียนรู้กับเหตุการณ์มากขึ้นความกลัวจะลดลง สติจะดีขึ้น ความรู้คืออาวุธสำคัญที่ทำให้เราชนะความความกลัวผ่านความมั่นใจในการควบคุมสถานการณ์ ขอให้ทุกท่านมีสติและค่อยๆผ่านวิกฤตที่รุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปีครั้งนี้ไปด้วยกัน แล้วจงมองไปที่ปลายทางเห็นภาพตัวเองที่แข็งแรงขึ้น พัฒนาขึ้น แล้วเราจะมีความหวังครับ
ขอบคุณครับ
Happy Learning
ชัชฤทธิ์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา