Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โหราทาสเล่าเรื่อง
•
ติดตาม
30 มี.ค. 2020 เวลา 15:44 • การศึกษา
The Art and Practice of Ancient Hindu Astrology by James Braha
1 ผู้เขียนมีชื่อเสียงลำดับต้นในแง่ที่เป็นชาวตะวันตกที่มาศึกษาโหราศาสตร์ภารตะ โดยท่านได้ศึกษามาจากอาจารย์ 2 ท่าน ท่านแรกเป็นนักวิชาการที่แปลคัมภีร์โหราศาสตร์โบราณ ส่วนอาจารย์คนที่สองเป็นนักพยากรณ์ที่อิงประสบการณ์ส่วนตัว ผู้เขียนจึงเห็นความเหมือนและความต่างของอาจารย์ชาวอินเดียทั้งสองท่าน แม้ผู้เขียนเองก็ไม่ได้เห็นด้วยไปทั้งหมดกับอาจารย์ทั้งสองของท่าน
2 หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการรวบรวมประสบการณ์ของผู้เขียนในการพยากรณ์ภาคปฏิบัติมากว่า 16 ปีนับตั้งแต่ผู้เขียนตีพิมพ์หนังสือเชิงหลักการทฤษฎีเล่มแรกออกมา ซึ่งผู้เขียนกล่าวอ้างว่าหนังสือเล่มล่าสุดนี้ความถูกต้องแน่นอน และมีประโยชน์มากสุดเมื่อเทียบตำราอีกสามเล่มที่ท่านเขียนขึ้นมาก่อนหน้านี้
3 โหราศาสตร์ภารตะที่ผู้เขียนได้รับการถ่ายทอดมา มีส่วนที่เป็นหลักการสำคัญที่มีเหตุมีผลต้องพยายามทำความเข้าใจ ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยเทคนิควิธีการย่อยมากมาย ที่หลายสิ่งหลายอย่างที่ผู้เขียนนำไปใช้แล้วไม่ได้ผล
4 เนื่องจากกฏเกณฑ์ตามตำรา เวลาไปใช้จริงกลับมีข้อยกเว้นมากมาย ที่ต้องระมัดระวัง ใส่ใจ และไม่สามารถระบุไว้ในตำรา ผู้เขียนเลยอยากให้ผู้อ่านมีวิจารณญานเหมือนท่าน คือทำความเข้าใจหลักการสำคัญที่มีเหตุผล และละทิ้งสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอ แล้วผู้อ่านนำไปใช้ไม่ได้ผล
5 เนื้อหาภายในเล่ม ประกอบด้วยบทสนทนา 9 ตอนเป็นการโต้ตอบระหว่างลูกศิษย์ที่คอยถามคำถาม และผู้เขียนเป็นอาจารย์ที่คอยตอบและอธิบาย โดยประเด็นสนทนาจะเริ่มจากผู้เขียนยกดวงตัวอย่างขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา อาทิ ในตอนแรกก็จะยกดวงฤกษ์ที่เริ่มโครงการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอธิบายเหตุผลทางโหราศาสตร์
6 ระหว่างการสนทนา ลูกศิษย์ก็จะถามคำถามแย้งเป็นระยะ ซึ่งคำถามแย้งมักเป็นหลักการที่ผู้เขียนเคยถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ หรืออยู่ในตำราที่จัดพิมพ์ขึ้นมาก่อนหน้า ถึงขั้นกล่าวว่าสิ่งที่ผู้เขียนผู้เป็นอาจารย์พูดขัดแย้งกับหลักการที่เคยสอน
7 แต่ผู้เขียนพยายามชี้ให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างหลักการที่กล่าวถึงในตำรา กับประสบการณ์ตรง และได้กล่าวย้ำว่า ข้อแตกต่างระหว่างทฤษฎีในตำรากับประสบการณ์ตรงจากภาคปฏิบัติถือเป็นเรื่องปกติในการศึกษาโหราศาสตร์
8 ไม่มีวิธีการที่ใช้ได้ผล 100% โดยไม่ต้องพึ่งพาสัญชาตญาน ผู้เขียนบอกว่าเรื่องเทคนิคต่างๆของภารตะที่มีเป็นร้อย และโยคต่างๆที่มีเป็นพัน จะให้ผลและความหมายตรงตามตำราเป็นบางครั้ง แม้หมอดูชาวอินเดียที่ผู้เขียนรู้จักที่สามารถจดจำโยคได้นับพัน เทคนิคนับร้อย ก็ยังต้องใช้สัญชาตญานในการเลือกวิธีการและโยคในดวงชะตามาอ่าน ไม่ได้ดึงมาใช้ทั้งหมด
9 โหราศาสตร์ภารตะเป็นเครื่องมือช่วยมนุุษย์ให้บรรลุถึงและเข้าถึงจุดสูงสุดทางจิตวิญญาน แต่กลับได้รับอิทธิพลจากกรีก สังเกตจากชื่อเรียกและศัพท์หลายอย่างเป็นของกรีก ทำให้ยุคหลังผู้ศึกษาโหราศาสตร์ภารตะกลับเน้นไปที่การบรรลุเป้าหมายในโลกวัตถุ
10 ระบบนักษัตร- จันทร์เสวยฤกษ์ต่างๆใน 27 ฤกษ์เป็นระบบพยากรณ์ที่แยกเป็นเอกเทศ จากระบบราศีจักรแต่วิธีการใช้สูญหายไปแล้ว จนเหลือเพียงคำพยากรณ์สั้นๆ เชิงจิตวิทยา เหมือนกับตะวันตก ซึ่งไม่ถูกต้อง
11 จักราศีทั้งนิรายนะ (Sidereal)และสายนะ (Tropical) ล้วนถูกประดิษฐ์โดยมนุษย์ จึงไม่มีอันไหนถูกต้องเป็นจริงกว่าอีกอัน นิรายนะนิยมใช้ในดวงชะตาบ้านเมือง ส่วนสายนะนิยมใช้ในดวงชะตาบุคคล
12 ดาวพุธเดินถอยหลัง 3 ครั้งต่อปี มีระยะเวลาราว 3 สัปดาห์ ช่วงเดินถอยหลังไม่เหมาะแก่การเริ่มงานใหม่ หรือทำสัญญาใดๆ ควรใช้เป็นเวลาสะสางงานเก่าที่ค้างอยู่ และซ่อมของที่ชำรุด
13 โหราศาสตร์ภารตะเน้นการพยากรณ์เหตุการณ์ ส่วนของโหราศาสตร์ตะวันตกเน้นเรื่องผลทางด้านจิตวิทยาและพฤติกรรม ดาวตั้งฉากกันในภารตะจึงไม่ได้มีความหมายเชิงลบเหมือนตะวันตกมอง
14 เวลาอ่านดวงหากผสมผสานหลักการสองระบบเข้าด้วยกันได้จะเป็นประโยชน์มาก กล่าวคือโหราศาสตร์ตะวันตกช่วยระบุปัญหาที่เจ้าชะตาเผชิญอยู่ได้เร็ว ส่วนภารตะใช้แสวงหาทางเลือกที่ช่วยเจ้าชะตาสามารถบรรลุเป้าหมายเชิงจิตวิญาณ ที่เป็นศักยภาพขั้นสูงสุดตามดวงชะตา
ตัวอย่างเนื้อหาตอนที่ 1
ผู้เขียนผูกดวงฤกษ์ (Murhurta/Electional Chart) ณ วันที่เริ่มโครงการผลิตตำราเล่มนี้ขึ้นมา และอธิบายเหตุผลทางโหราศาสตร์ภารตะ
15 เรือนที่ 3 จากพระเสาร์ (๗) ภารตะมองว่าเป็นเหตุการณ์ไม่ดี ตะวันตกมองว่าเป็นมุมโยคที่พระ ๗ ให้คุณด้านระเบียบวินัย
16 ดาวบาปเคราะห์-ศุภเคราะห์ย่อมส่งผลดีร้ายตามธรรมชาติของมันไม่ว่าอยู่สถานะไหน ดาวบาปเคราะห์ (๓ ๗ ๑ ๘) ตำแหน่งเกษตร์/ประ/อุจจ์/นิจจ์ ย่อมส่งผลร้ายตามเชิงมุม (aspect) ต่อดาวอื่น และเช่นเดียวกับดาวศุภเคราะห์ (๕ ๖) ย่อมส่งผลดีตามเชิงมุม
17 ดาวบาปเคราะห์-ศุภเคราะห์ ส่งกำลังเชิงมุมแรงสุดไปยังราศีที่ตนชอบ (เกษตร์-อุจจ์) แต่กำลังจะอ่อนสุดจนแทบไม่มีผลกับราศีที่ไม่ชอบ (ประ-นิจจ์)
18 ดาวบาปแเคราะห์ใน upachaya houses (3-6-10-11 จากลัคนา) จะให้ผลดีต่อลัคนาและเรือนที่มันอยู่ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น แต่ไม่ดีต่อสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
19 ราหู (๘) ในโหราศาสตร์ตะวันตกบ่งบอกสิ่งที่เจ้าชะตาต้องเรียนรู้ในชาตินี้ เพื่อที่จะเป็นอิสระจากสิ่งนั้น
20 ราหูและเกตุสากล (อยู่ตรงข้ามราหู) จะเด่นสุดในราศีกันย์ รองลงมาเป็นมิถุน ต่างกับในตำราปะระสาระที่กำหนดให้ราหูได้ตำแหน่งอุจจ์ในพฤษภ
21 ดาวในทุสถานะ Dusthanas คือเรือนที่ 6-8-12 จากลัคนา จะให้ผลร้ายเว้นแต่เรือนนั้นเป็นเรือนเกษตร์-อุจจ์ของตน
22 ดาวบาปเคราะห์ (๓ ๗) ที่ได้ตำแหน่ง เกษตร์ อุจจ์ อยู่ในเรือนที่ 7 มักหย่าร้าง
23 พระจันทร์ (๒) ในเรือนโลกอื่น (8-12-6) ให้ผลร้ายสุด (เพราะไม่สนใจโลกที่เป็นอยู่) ส่วนพระจันทร์ในเรือนความสุข (5-9) ให้ผลดีสุด (เพราะมีความหวังและศรัทธาในโลกที่เป็นอยู่)
24 พระศุกร์ (๖) เรือนที่ 6 มักเป็นนักบัญชี เรือนที่ 5 งานศิลปะ เรือนที่ 3 ดนตรี เต้นรำ การแสดง เรือน 2 การศึกษา
25 ไม่มีดวงฤกษ์ที่สมบูรณ์แบบ มักได้อย่างเสียอย่าง จึงต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร
=======================
สรุป
=======================
เนื้อหาหนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยประสบการณ์ส่วนตัว หรือเคล็ดลับของผู้เขียนที่มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย ทั้งที่สอดคล้องกับตำราและเป็นข้อยกเว้นจึงยากต่อการทำความเข้าใจ สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านพื้นฐานโหราศาสตร์ภารตะมาก่อน จึงไม่เหมาะเป็นหนังสือเล่มแรกสำหรับผู้สนใจโหราศาสตร์ภารตะ แต่เป็นประโยชน์สำหรับผู้สนโหราศาสตร์แนววิพากวิจารณ์ ที่จะช่วยขยายมุมมองออกไปจากตำราที่ตนเองยึดมั่นถือมั่นอยู่ ซึ่งงานเขีบนประเภทนี้จะหาได้ยากในท้องตลาดยุคนี้ เพราะผู้เขียนจะต้องแม่นยำในตำราที่ตนเองศึกษามา กอปรกับต้องมีประสบการณ์มากพอที่จะสามารถวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีที่ตนใช้อยู่
ที่จริงสไตล์งานเขียนเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ด้วยการยกหลักการในตำราของเก่าขึ้นมา โดยอ้างอิงหลักการของนักโหราศาสตร์ที่มีมาก่อนหน้า และแสดงทัศนะส่วนตัวว่าเห็นด้วยไม่เห็นด้วยตรงไหน อย่างไร และนำเสนอประสบการณ์ส่วนตน มายืนยัน เป็นลักษณะงานที่ปรากฏเป็นปกติของงานเขียนโหราศาสตร์ฝั่งตะวันตกในยุคโรมันราว คศต.1-5 เรื่อยมาจนถึงยุคอิสลามราชวงศ์อับบาสิยะฮ์ราว คศต. 8-13 เนื่องจากตำราในยุคดังกล่าวมักเขียนขึ้นโดยนักโหราศาสตร์ ที่ได้รับการอนุเคราะห์จากผู้ปกครองหรือชนขั้นสูงในสมัยนั้น หรืออย่างน้อยก็จากลูกท่านหลานเธอของชนขั้นสูง ทำให้ไม่ลำบากเรื่องปากท้องและการทำมาหากิน จึงมีเวลาว่างมาวิเคราะห์วิจัยวิจารณ์ให้เนื้อหาในตำรามีความลึกซึ้ง
2
ต่างกับผู้เขียนหนังสือโหราศาสตร์ในยุคหลัง ที่มีข้อจำกัดกว่าเรื่องการดำรงชีพและเวลาว่าง จึงทำได้เพียงคัดลอกตำราเก่ามาพิมพ์ขาย บางทีก็ลอกกันเอง จนเนื้อหาซ้ำไปซ้ำมา บ้างก็คัดลอกหลายตำรามายำรวมกันจนไม่เห็นวิวัฒนาการ ต้น กลาง ปลาย ตะวันตก ตะวันออก บ้างก็เขียนขึ้นจากประสบการณ์ส่วนตัวไปซะมากจนไม่เหลือเค้าให้คนรุ่นหลังจับต้นชนปลาย สืบค้นต่อยอดออกไปได้
โหราทาส 30 มีนาคม 2563
3 บันทึก
5
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
หนังสือ
3
5
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย