Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เทรดมั่วทัวร์ดอย
•
ติดตาม
2 เม.ย. 2020 เวลา 14:07 • ธุรกิจ
"THANI" ร่วง floor 2 วันติด
[เทรดมั่วทัวร์ดอย]
THANI - [เทรดมั่วทัวร์ดอย]
หลังจากตลาดหลักทรัพย์ได้มีการปรับเกณฑ์ Ceiling & floor มีผลเริ่มตั้งแต่ 18 มี.ค. ถึง 30 มิ.ย. 2563 หุ้นรายตัว สามารถวิ่งบวกลบได้ไม่เกิน 15% จากราคาปิดวันก่อนหน้าเท่านั้น
หุ้นหลายๆตัวได้มีการปรับตัวบวกและลบจนชนเพดานนี้ไปบ้างแล้ว แต่ล่าสุดมี THANI เป็นหุ้นใน SET100 ที่ราคาดิ่งชนเพดานล่าง -15% ถึง 2 วันติด!!
หุ้นตัวนี้มีประเด็นอะไรให้กังวล เรามาลองหากันตอบกันดูครับ
บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ THANI
Cr.ratchthani.com
ก่อตั้งปี พ.ศ.2531 โดยเริ่มต้นทำธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มือ 2 ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชน เข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ปี พ.ศ. 2545
ปัจจุบัน THANI ทำธุรกิจเป็นผู้ให้บริการให้สินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อเช่าการเงิน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนรายได้หลักถึง 82.5% และรายได้อื่นๆอีก 16.5% จะมาจากค่าธรรมเนียมและค่าบริการรวมถึงค่าปรับ เป็นต้น
ธุรกิจหลักเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์
โดยหากแบ่งสัดส่วนตามประเภทความใหม่-เก่าของรถยนต์ THANI มีสัดส่วนรายได้จากรถยนต์ใหม่ 70% และรถยนต์เก่า 30%
และสามารถแบ่งตามประเภทของรถยนต์ เป็นรถยนต์ส่วนตัวและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ได้เป็นสัดส่วน 35% ต่อ 65% ของรายได้สินเชื่อตามลำดับ
การทำกำไรของ THANI
Cr.unsplash
โมเดลการทำธุรกิจของ THANI คือ บริษัทต้องหาเงินทุนมา แล้วนำไปบริการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าบุคคลธรรมดารวมถึงลูกค้านิติบุคคล ซึ่ง THANI มีสัดส่วนลูกค้าหลักเป็นบุคคลธรรมดาประมาณ 56% ของลูกค้าทั้งหมด โดยสินเชื่อที่ปล่อยให้กับลูกค้านั้น จะเป็นสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เกือบทั้งหมด ทั้งรถยนต์นั่งบุคคลและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
1
สินเชื่อที่ปล่อยให้กับลูกค้านั้น จะนำมาซึ่งการรับรู้รายได้ คือ ดอกเบี้ย และเมื่อนำมาหักลบกับต้นทุนของเงินทุน ก็จะได้เป็นกำไรส่วนต่างดอกเบี้ยจากการทำธุรกิจออกมา
โดยที่ THANI รับดอกเบี้ยเป็น Fixed rate ขณะที่เงินทุนส่วนใหญ่นั้นจะมาจากการกู้ยืมและมีดอกเบี้ยจ่ายเป็น Float rate
การพิจารณาถึงเหตุผลการร่วงติด floor ของ THANI นั้น ผมจึงสามารถหาได้จากประเด็นต่างๆต่อไปนี้ คือ
1.ดูงบกำไรขาดทุน
2.แหล่งที่มาของเงินทุน
3.วิเคราะห์สถานการณ์
ประเด็นที่ 1 - ดูงบกำไรขาดทุน
เรามาลองพิจารณาถึงการทำกำไรของ THANI กัน
ปี 2559 2560 2561 2562
รายได้ 2,484 2,760 3,202 3,538
กำไร 881 1,125 1,640 1,963
NPM(%). 29% 34% 42% 46%
พบว่าด้านงบของ THANI นั้น มีการเติบโตอย่างโดดเด่น ซึ่งโตมาจากทั้งรายได้ กำไร และความสามารถในการทำกำไร หรือเรียกได้ว่า เติบโตตลอดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา
ประเด็นตรงนี้คงไม่น่าจะมีผลอะไรกับแรงเทขาย THANI ในวันนี้
ประเด็นที่ 2 - แหล่งที่มาของเงินทุน
Cr.unsplash
พิจารณาพอร์ตสินเชื่อของ THANI ผ่านงบดุล
set.or.th
พบว่าพอร์ตสินเชื่อของ THANI นั้น มีการเติบโตตลอดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาสอดคล้องไปกับรายได้และกำไร โดยที่
ปี 2559 2560 2561 2562
พอร์ตสินเชื่อ 32,747 38,598 46,411 49,708
หนี้สินรวม 28,355 33,864 40,336 43,209
ส่วนผู้ถือหุ้น 5,009 5,627 7,194 7,671
แต่เห็นอะไรไหมครับ THANI นั้น มีโมเดลการสร้างการเติบโตทผ่านการจัดหาเงินทุนด้วยกู้ยืมมาใช้ในการขยายพอร์ตสินเชื่อ อันเป็นที่มาของการเติบโตของรายได้และกำไรอย่างมากของบริษัท
เรามาลองเจาะไส้ในของแหล่งที่มาเงินทุนของ THANI กันครับ
แบบ 56-1 บมจ.ราชธานีลิสซิ่ง
จากข้อมูลพบว่า THANI มีแหล่งเงินทุนมาจากเงินกู้ยืมกว่า 84.6%!! และใช้ส่วนผู้ถือหุ้นเพียงแค่ 15.4% เพียงเท่านั้น
1
แต่ประเด็นอยู่ตรงนี้ครับ เงินกู้ยืมส่วนใหญ่ใน 84.6% เป็นเงินกู้ระยะสั้นถึง 58% หรือคิดเป็นเม็ดเงินกว่า 29,085 ล้านบาท
โดยทางผมได้มีการเข้าไปหาข้อมูลของการใช้เครื่องมือทางการเงินของ THANI พบว่า ส่วนของการกู้ยืมระยะสั้นนั้น ทาง THANI จะทำผ่านการออกตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) ซึ่งตอนออกจะเป็นการออกแบบใช้อัตราคิดลด (discount rate) หรือขายส่วนลด แล้วรับไถ่ถอนเต็มมูลค่า ซึ่งทาง THANI สามารถขายซ้ำได้เมื่อไถ่ถอน โดยเรทคิดลดตัวนี้จะเปลี่ยนไปตามตลาด
ข้อมูลจาก Thaibma พบว่า ตั๋ว BE ของ THANI มีมูลค่ากว่า 9,800 ล้านบาท
thaibma
ด้านหุ้นกู้นั้น มีส่วนที่ถึงกำหนดชำระใน 1 ปี กว่า 11,000 ล้านบาท และส่วนที่เหลือที่เกิน 1 ปี อีก 18,000 ล้านบาท
thaibma
ประเด็นนี้ จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก ว่าการเทขายของ THANI นั้น มาจากการที่บริษัทมีสัดส่วนเงินกู้ระยะสั้นที่สูงมาก การ rollover ตั๋วใหม่ท่ามกลางภาวะขาขึ้นของ NPL อาจจะทำให้ต้องออกในเรทคิดลดที่สูงขึ้นกว่าในอดีต
และด้วยสัดส่วนหนี้ของบริษัทที่สูง อาจจะมีโอกาสที่ Cradit rating ของ THANI ระดับ A- (ดอกเบี้ย 2-4%) มีโอกาสโดน downgrade ในอนาคต
และความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระเงินกู้จากการขาดสภาพคล่องของบริษัท จะตามมาหรือไม่??
ประเด็นที่ 3 - วิเคราะห์สถานการณ์ (มุมมองส่วนตัวของผมเอง)
• สถานการณ์ในปัจจุบัน
Cr.posttoday.com
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2563
• ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 139,959 คัน ลดลง 12.8%
• ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 57,687 คัน ลดลง 7.9%
• ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 82,272 คัน ลดลง 15.9%
จะเห็นได้ว่า ด้านงบ 1Q63 ของ THANI ที่อ้างอิงกับอุตสาหกรรมรถยนต์นั้น ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส ที่ทำให้การลงทุนภาคเอกชนติดลบ ยอดขายรถยนต์ที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลักของ THANI ก็ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
ย้อนกลับไปที่โมเดลการทำการไรของ THANI เมื่อหาเงินทุนที่มาภาระดอกเบี้ยจ่ายมาแล้ว แต่ไม่สามารถหารายได้ดอกเบี้ยรับจากการให้สินเชื่อได้ในสัดส่วนที่เท่ากัน รายได้จะลดลงขณะที่รายจ่ายยังเท่าเดิม อัตราการทำกำไร (%NPM) ของ THANI อาจลดลงได้ ทำให้อัตราการเติบโตของกำไรในปีนี้อาจจะเกิดการติดลบจากปีก่อนหน้าด้วยครับ
• สถานการณ์ในอนาคต
เรียกได้ว่า ตอนนี้ยังไม่เห็นสัญญาณที่ดีขึ้นของการระบาด Covid-19 ในไทย อีกทั้งการ lockdown ทำให้เกิดการหยุดชะงัดของภาคธุรกิจ ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในสินค้าคงทนอย่างรถยนต์
อีกทั้งการจ้างงานที่ลดลง กระทบต่อรายได้ของบุคคลธรรมดา ที่เรียกได้ว่า ลูกค้ากำลังขาดรายได้จากการทำงาน ซึ่งตรงนี้คือเป็นเด็นที่น่าเป็นห่วงต่อการผิดชำระค่างวดกับ THANI ในช่วงต่อจากนี้ได้
แบบ 56-1 บมจ.ราชธานีลิสซิ่ง
และเมื่อประมาณการค่างวดที่จะได้รับ มีความเสี่ยงจากการผิดชำระค่างวดอันเนื่องมาจากผลกระทบของ Covid แต่ในขณะที่การครบกำหนดอายุจ่ายคืนเงินกู้ระยะสั้นในปีนี้ที่สูงกว่า 29,000 ล้านบาทนั้นไม่ได้เลื่อนออกไป ทำให้ THANI กำลังเผชิญความเสี่ยงด้านสภาพคล่องจากการทำธุรกิจได้ครับ
ที่มา
-
https://www.posttoday.com/economy/news/618824
-
http://www.thaibma.or.th/EN/Issuer/IssuerDetail.aspx?issuer=THANI
-
https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=THANI&ssoPageId=3&language=th&country=TH
-แบบ 56-1 บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
#เทรดมั่วทัวร์ดอย
10 บันทึก
38
16
11
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ข้อมูลหุ้นรายตัว
10
38
16
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย