Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าคนเข้าป่า
•
ติดตาม
10 เม.ย. 2020 เวลา 01:36 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ในช่วง 20 - 30 ปีที่ผ่านมา เราได้พบเจอกับโรคระบาดต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ ซาร์ส อีโบลา หรือเมอร์ส
การระบาดกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของโรคระบาดเหล่านี้
มาจากสัตว์ข้ามมาสู่คน และต้นกำเนิดก็มักมาจากสัตว์ป่า การข้ามโฮสต์ของเชื้อไวรัสจากชนิดหนึ่งมาสู่อีกชนิดหนึ่งนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร
การเติบโตของเศรษฐกิจ หรือ การขยายเมือง ทำให้เกิดโรคระบาดมากขึ้น
ปัจจุบันพื้นที่ป่าถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่สำหรับใช้สอยประโยชน์ส่วนตัว
ของมนุษย์เป็นอย่างมาก
คำถามคือ เราสร้างเมืองและขยายพื้นที่ไปเพื่ออะไร ??
ความสะดวกสบาย ความหรูหรา รองรับประชาชนที่เพิ่ม
การรวมกลุ่ม ทำการเกษตร ทำปศุสัตว์ และอีกมากมาย
หากไล่ถามแต่ละคนคำตอบคงไม่เหมือนกัน
เพราะความต้องการของคนนั้นต่างกันออกไป
แต่ทุกสิ่งที่เราสร้างหรือขยายเมืองล้วนตอบสนองต่อ"ความต้องการ"
ของเราที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
แต่สิ่งมีชีวิตอื่นเขาต้องการแบบเราหรือไม่ ?
นายสัตวแพทย์ไพศิลป์ เล็กเจริญ กล่าวไว้ว่า มีการศึกษาชิ้นหนึ่งชี้ให้เห็นว่า
การลดลงของพื้นที่ป่าเพียง 4% เพิ่มอัตราการเกิด
โรคมาลาเรียในพื้นที่มากถึง 50%
การเปลี่ยนแปลงเพียงนิดเดียวส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวง
ต้นกำเนิดของทุกสิ่งที่เราใช้นั้นมาจากไหน ก็ธรรมชาติไม่ใช่หรือ
Facility ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น รถ ถนน ที่เราใช้กันอยู่ก็มีสินแร่ต่าง ๆ อยู่ในนั้น
การจะได้มาซึ่งแร่ธาตุก็ต้องบุกป่าฝ่าดง ระเบิดภูเขา
โค่นต้นไม้ ฆ่าสัตว์เพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่ทำเหมือง
ปะรชากรเพิ่ม พื้นที่ป่าลด
พอพื้นที่ป่าหายไปสิ่งมีชีวิตบางชนิดในพื้นที่นั้นก็จะลดลงตามไปด้วย เช่น
เสือ กวาง กอริลลา แต่มันก็จะมีสิ่งมีชีวิตอื่นที่เพิ่มเข้ามาแทนที่ อย่างเช่น
หมา แมว หนู นกพิราบ สัตว์ในชุมชุนเมืองที่เราเห็นกันอยู่บ่อย ๆ
สัตว์พวกนี้ได้รับผลบวกจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ เชื้อโรคที่อยู่กับสัตว์เหล่านี้ก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย และด้วยความใกล้ชิดของเรากับสัตว์
เหล่านี้ก็ทำให้มีโอกาสติดโรคมากขึ้นตามไปด้วย
การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสัตว์บางชนิด ส่งผลอย่างไร ?
ในอินเดียพบว่าการหายไปของแร้งทำให้คนป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มขึ้น
แร้งเป็นสัตว์กินซาก ในประเทศไทยอาจมองว่าแร้งเป็นสัตว์น่าขยะแขยง
กินซากศพมีเชื้อโรค
แต่ในความเป็นจริงแล้ว แร้งเรียกได้ว่ามี"กระเพาะเหล็ก"
ที่สามารถกินซากที่มีเชื้อโรคได้โดยไม่เป็นอะไร
ถือเป็นสัตว์กินซากที่ความสำคัญในระบบนิเวศ
สัตว์หน้าดินส่วนใหญ่ในธรรมชาติก็ถือว่าเป็นสัตว์กินซาก ไม่ว่าจะเป็น ปลวก กิ้งกือ ตะขาบ หรือแม้กระทั่ง เหี้ย
การหายไปของสัตว์กินซากเหล่านี้ ทำให้สัตว์จำพวกหนู
สุนัขจรจัดก็เป็นตัวกำจัดซากพวกนั้นแทน นั้นทำให้เราติดโรคได้ง่ายขึ้น
เพราะเราใกล้ชิดกับหนูหรือสุนัขมากกว่าแร้ง
หนู กวาง พอสซัม หน้าที่ที่แตกต่างบนเกมการควบคุมโรคระบาด
โรคไลม์ ( Lyme's Disease) เป็นโรคระบาดที่เกิดจากแบคทีเรียที่มีเห็บเป็นพาหะ เเละบนตัวสัตว์สามชนิดนี้ คุณคิดว่าใครจะกำจัดเห็บและคุมโรคระบาดได้ดีที่สุด ?
- หากเห็บไปอยู่กับหนู
การระบาดของโรคจะยิ่งทวีคูณความรุนแรงอย่างมาก
เพราะหนูเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์เร็ว
ยิ่งมีหนูอยู่ในระบบนิเวศมากเชื้อจะยิ่งกระจายได้ดี
- หากเห็บไปอยู่กับกวาง
เนื่องจากกวางเป็นสัตว์ที่มีขนสั้นและมัน
เห็บที่อยู่บนตัวกวางก็จะมีน้อยกว่าหนู
เพราะมันเกาะร่างกายไม่อยู่
- หากเห็บไปอยู่กับพอสซัม
จบชีวิตเห็บ!!!
พอสซัมเป็นสัตว์รักษาสะอาดชอบทำความสะอาดตัวเองอยู่บ่อย ๆ
(พาเห็บไปเล่นน้ำจนสำลักน้ำตาย) ล้อเล่นครับ ความจริงคือ
พอสซัมจริงกินเห็บเป็นอาหารหลักครับ
พอสซัม 1 ตัวสามารถกินเห็บได้มากถึง 5000 ตัวต่อฤดูกาล
สรุปแล้วในเกมนี้ ถ้าเรามีหนูเยอะก็คง Game over ครับ แต่ถ้าในระบบนิเวศมีพอสซัมกับกวางมาช่วยหารในระบบนิเวศการแพร่กระจายของเห็บ
โอกาสที่เราจะไม่แพ้ก็มีสูง
สัตว์เหล่านี้ทำหน้าที่ Protective Role คือมีบทบาทในป้องกันโรคให้แก่เรา ซึ่งบางทีอาจจะมีโรคอื่นที่เราไม่รู้ก็ได้ แต่สัตว์จะช่วยกำจัดให้เราไปก่อนที่
เราจะรู้ตัวด้วยซ้ำ
การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกก็นับเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้โรคระบาดเพิ่ม
ขึ้น ดูอย่างบ้านเราในกรุงเทพ ตอนขึ้น BTS ที่มีคนอัดแน่นเป็นปลากระป๋อง
คนยืนใกล้ชิดเบียดเสียดกัน หรือแม้กระทั่งในรถเมล์เองก็ตาม
อีกทั้งวัน ๆ หนึ่งมือเราไปจับอะไรกันมาบ้าง เสา ราวโหน เก้าอี้ ประตู
สิ่งที่เราจับเหล่านี้เคยได้ทำความสะอาดบ้างหรือเปล่า ?
ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 66 ล้านคน คนกว่าครึ่งประเทศอัดกันแน่น
อยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล การแพร่ระบาดของเชื้อจึงแพร่ได้ง่ายขึ้น
ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในระบบนิเวศ
เพราะสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันออกไป
ธรรมชาติสร้างสรรค์ออกมาเรียกได้อย่าง "ลงตัว"
แต่เรากลับไปบิดเบือนธรรมชาติ
การขยายเมืองเปลี่ยนพื้นที่ป่าแบบไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
ผลที่ออกมาจะเป็นยังไงทุกคนคงทราบ
แต่จะไม่ให้ขยายเมืองได้ยังไงถ้าประชากรยังเพิ่มขึ้นแบบนี้
แท้จริงแล้วปัญหาของการขยายตัวของเมือง ไม่ใช่คนขาดการอนุรักษ์
แต่คือการตัดสัมพันธ์ของคน ต้นไม้ และป่า
วิธีการที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวของเราเอง ก็คือ การปลูกทดแทน โดยเริ่มจากที่อยู่อาศัยของตนเองก่อน เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองด้วย เพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างเรากับสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น
นอกจากนี้จากบริโภคก็มีส่วนสำคัญ
ความต้องการที่มากเกินไปย่อมไม่ดี
เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการมาก
แน่นอนว่าผู้ผลิตต้องตอบสนองความต้องการนั้น
และต้นทุนการผลิตสิ่งต่างๆ
ล้วนมีสิ่งตั้งต้นมาจากธรรมชาติ
ทำให้เกิดการเบียดเบียนธรรมชาติที่มากเกินไป
เริ่มจากอาหารการกินก่อนก็ได้ครับ กินแต่พอดี ไม่กินเหลือ
ให้ระลึกไว้เสมอว่าพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ต้องแลกมาด้วยพื้นที่ป่า
เมื่อป่าลดลง สัตว์ป่าก็มีที่อยู่อาศัยน้อยลง ส่งผลต่อกันเป็นห่วงโซ่
และอย่าลืมว่าในห่วงโซ่นั้นมีมนุษย์รวมอยู่ด้วย เราถึงควรตระหนักได้แล้วว่า สิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เป็นเรื่องใกล้ตัวมากที่สุด
หากชอบอย่าลืมกดไลค์ และกดแชร์ เป็นกำลังใจให้เพจเรื่องเล่าคนเข้าป่า ด้วยนะครับ
ข้อคิดจากคนเข้าป่า : แตกต่าง แต่ไม่แตกแยก
เรียบเรียงโดย : เรื่องเล่าคนเข้าป่า
3 บันทึก
23
14
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ข้อคิด COVID-19
3
23
14
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย