14 เม.ย. 2020 เวลา 14:30
สวัสดีครับ นักศึกษาวิชาชีวิตทุกท่าน คาบเรียนที่ 6 วิชาสัตว์มหัศจรรย์ ตอนความลับของสัตว์ดึกดำบรรพ์ล้านปี เริ่มแล้วครับ
วันนี้มาถึงดาราวายร้ายเจ้าบทบาทที่เราเห็นกันอยู่เป็นประจำบ้างกันดีกว่า
ลำดับที่ 5 หมึกยักษ์
ปลาหมึกยักษ์ Giant squid โดยมีขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่ค้นพบในปัจจุบันคือ ประมาณ 20 เมตร (overall length) น้ำหนัก ประมาณ 500 กิโลกรัม และที่พบส่วนใหญ่มีขนาด 10-15 เมตร และยังได้รับการจัดอันดับว่า เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย
ภาพจาก Pinterest
หนวดของมันไม่เหมือนกับหมึกชนิดอื่น ๆ ครับ ปุ่มดูด (sucker) มีขนาดเฉลี่ยประมาณ 2.5 เซนติเมตร ซึ่งปุ่มดูดอันใหญ่ที่สุดบนหนวดจับมีขนาดถึง 5-5.5 เซนติเมตร เพราะมีปุ่มดูดยาวเป็นแถวและตะขอที่แหลมคมตลอดทั้งแนวของหนวดเลยทีเดียว
หนวดที่มีทั้งเขี้ยวเกาะในตัว ทำให้หลุดออกยาก
โดยมี “หมึกยักษ์โคลอสซัล” ที่ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตัวโตเต็มวัยจะอาศัยอยู่ในน้ำลึกถึง 2,200 เมตร ทำให้มันค้นหาตัวเป็นๆได้ยากมาก การถูกพบครั้งแรกคือในปี 1925 หลังพบหนวด 2 เส้นในกระเพาะอาหารของวาฬสเปิร์ม เพราะถือว่าเป็น ศัตรูตามธรรมชาติของหมึกยักษ์ เนื่องจากมีการพบแผลบนหลังวาฬสเปิร์มจำนวนมากคล้ายปุ่มดูดของหมึกขนาดใหญ่ ทำให้ปลาหมึกยักษ์นี้มักพบในลักษณะที่ตายแล้วถูกซัดเกยฝั่ง หรือพบชิ้นส่วนในท้องปลาวาฬพวก Sperm whale และจากอวนลากน้ำลึก
ภาพจาก https://bookpalace.com/acatalog/info_LongSperm
สำหรับการแพร่กระจาย พบทั่วไปรอบโลกคือ บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ได้แก่ บริเวณประเทศนอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ เดนมาร์ก จากลาบราดอร์ถึงอ่าวเม็กซิโกในมหาสมุทร แปซิฟิกเหนือจากทะเลแบริงถึงญี่ปุ่น ฮาวาย แคลิฟอร์เนีย สำหรับทางมหาสมุทรซีกโลกใต้ พบบริเวณอาร์เจนตินา แอฟริกาใต้ ทาสมาเนีย และนิวซีแลนด์ จะอยู่ในน้ำลึก 200- 1,000 เมตร การดำรงชีพจัดเป็นแบบกึ่งผิวน้ำและกลางน้ำ (Epipelagic and Mesopelagic)
ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับปลาหมึกยักษ์นี้จะได้จากการศึกษาชิ้นส่วนซากของมันที่พบ หรือจากปลาวาฬที่กินมันเป็นอาหาร และอื่น ๆ โดยนักวิจัยต่าง ๆ ได้เริ่มดำเนินการศึกษาอย่าง จริงจังเมื่อประมาณ ไม่กี่สิบปีมานี้เอง ทำให้ได้ค้นพบความมหัศจรรย์ของหมึกยักษ์นี้ เช่น
1. ลำตัวของหมึกยักษ์สามารถเปลี่ยนสีได้
เฉกเช่นวงศาคณาญาติของมันครับ (ยกเว้นหอยนอติลุส ที่หยุดวิวัฒน์ตัวเองไปกว่า 350 ล้านปีแล้ว) สีของปลาหมึกยักษ์มีสีแดงแก่จนถึงน้ำตาลแดง จากเซลล์เม็ดสี (chromatophore) ที่ผิวหนัง มันมีความสามารถในการเปลี่ยนสีลำตัว เกิดจากการบังคับด้วยกล้ามเนื้อ การที่ตัวมีสีแดงจะช่วยให้มันสามารถพรางตัวได้ดีในที่ลึก
สีของปลาหมึกยักษ์ มีสีแดงแก่จนถึงน้ำตาลแดง จากเซลล์เม็ดสีที่ผิวหนัง ความสามารถในการเปลี่ยนสีลำตัว เกิดจากการ บังคับด้วยกล้ามเนื้อ การที่ตัวมีสีแดงจะช่วยให้มันสามารถพรางตัวได้ดีในที่ลึก เพราะสีแดงในที่ลึกมากจะเปรียบเสมือนสีดำในเวลากลางคืนบนบกนั่นเอง
การกินอาหารของหมึกยักษ์ แทนที่จะใช้ลิ้น แรดูลาเป็นอวัยวะส่วนที่อยู่ในปากและปกคลุมด้วยฟันซี่เล็ก ๆ ทั้ง 7 แถว ใช้สำหรับจับหอยหรือเหยื่อที่มีเปลือกแข็ง โดยสามารถเจาะรูเปลือกของเหยื่อและเข้าไปกัดแทะเนื้อได้
หนวดของมันสามารถงอกขึ้นใหม่ได้ครับ เมื่อโดนนักล่าทำร้าย หมึกยักษ์สามารถสลัดหนวดและงอกขึ้นมาใหม่ได้ในไม่กี่อาทิตย์ ในปี 1968 ได้มีการพบซากหมึกยักษ์ในแคนาดา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่าหนวดที่งอกใหม่มีความแตกต่างทั้งความยาวและความกว้างกว่าครับ นอกจากนี้พวกมันก็ยังป้องกันตัวด้วยหมึกที่อาจจะฟุ้งอยู่ในน้ำนานถึง 10 นาที
ซากปลาหมึกที่มีหนวดส่วนที่งอกใหม่
หมึกยักษ์มีหัวใจ 3 หัวใจ แต่ระบบหัวใจของพวกมันนั้นไม่มีประสิทธิภาพซึ่งทำให้พวกมันอายุขัยสั้น นอกจากนี้หมึกยักษ์ก็ยังมีเลือดสีน้ำเงินที่ประกอบไปด้วยฮีโมไซยานินอีกด้วย
คู่หมึกยักษ์จำกันได้ด้วยกลิ่นและสัมผัส และอวัยวะเพศของหมึกยักษ์ตัวผู้ก็คือหนวดเส้นที่ 3 นับจากทางขวา การผสมพันธุ์ของพวกมันยาวนาน 2 ชม. แต่หลายครั้ง โดยตัวผู้นั้นจะสอดใส่อวัยวะสืบพันธุ์ เข้าไปในร่างกายของตัวเมียและปล่อยสเปิร์มออกมา หลังจากการผสมพันธุ์อวัยวะสืบพันธุ์นั้นก็จะหลุดออกและงอกขึ้นมาใหม่ในฤดูผสมพันธุ์ถัดไป
หมึกยักษ์ (Octopuses) และหนวดอันพะรุงพะรังของมัน คืออัจฉริยะแห่งท้องทะเลที่ไม่มีใครเทียบติด มันเป็นสิ่งมีชีวิตสุดพิลึกที่ล้ำหน้ากว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังใด ๆ และสิ่งที่ต้องประหลาดใจอย่างมาก เมื่อศึกษาลึกลงไปในสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ นั่นก็คือ‘นิวรอน’ หรือ เซลล์ระบบประสาทของหมึก อยู่ในหนวดทั้ง 8 เส้น ทำให้หนวดแต่ละเส้นสามารถตัดสินใจได้เอง โดยปราศจากการประมวลผลของสมอง การเคลื่อนไหวทั้งการแหวกว่ายและการสังหารเหยื่อจึงเป็นอิสระต่อกันอย่างสิ้นเชิง
ภาพจาก Vectorstock แสดงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของ หมึกยักษ์
ด้วยความสามารถอันน่าพิศวงนี้ และการเดินทางผ่านเวลามาอย่างยาวนาน วิวัฒนาการเปิดโอกาสให้พวกมันมีพัฒนาการทางสติปัญญาที่ก้าวกระโดดกว่า สร้างโครงข่ายเซลล์ประสาทที่ซับซ้อน สมองใหญ่โตขึ้น สมองของหมึกมีความน่าพิศวงมาก มันต่างจากสมองของมนุษย์เราอย่างสิ้นเชิง หมึกยักษ์ไม่มีการบรรจุเซลล์ประสาท หรือนิวรอนไว้ในก้อนสมอง แต่มันกลับกระจายนิวรอนไปตามส่วนต่าง ๆของร่างกาย ไม่รวมศูนย์เป็นหนึ่งเดียว และนิวรอนส่วนใหญ่มักไปรวมตัวในหนวดของมันนั่นเอง
แต่มันเจ๋งขนาดไหนหรือ? เรามาติดตามกันในตอนต่อไปนะครับ
#เพราะการเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด #และไม่ได้หยุดแค่ในห้องเรียน #DeMonstrationSchool

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา