Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
17 เม.ย. 2020 เวลา 12:26 • การศึกษา
ลูกจ้างใช้ตำแหน่งเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลภายนอก แต่เมื่อพิสูจน์ไม่ได้ว่าเรียกรับผลประโยชน์ตอบแทน นายจ้างจะสามารถเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่?
ในการจ้างงานนั้น ย่อมเป็นเรื่องปกติที่นายจ้างจะต้องคาดหวังว่าคนที่ตนจ้างมานั้น จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ซื่อสัตย์ สุจริต และรักษาผลประโยชน์ให้แก่นายจ้าง
อย่างเช่น ลูกจ้างที่ทำงานในตำแหน่งจัดซื้อจัดจ้าง นอกจากจะมีหน้าที่จัดหาสินค้า วัสดุ อุปกรณ์ตามความต้องการของนายจ้างแล้ว นายจ้างย่อมคาดหวังว่าลูกจ้างจะช่วยรักษาผลประโยชน์ ด้วยการต่อรองราคา และคัดเลือกสินค้าที่เหมาะสม
แต่ก็มีลูกจ้างบางราย ที่นอกจากจะไม่รักษาผลประโยชน์ให้แก่นายจ้างแล้ว ยังฉวยโอกาสจากตำแหน่งหน้าที่ คอยเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลภายนอก
และหนักเข้าอาจถึงขั้นเรียกรับผลประโยชน์เข้ากระเป๋าตัวเองแบบเนียน ๆ ก็มีตัวอย่างให้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ
ซึ่งถ้ามีหลักฐานชัดเจนว่าลูกจ้างได้ทำอย่างที่ว่าจริง นายจ้างก็อาจเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้
แต่ในบางครั้ง นายจ้างอาจมีหลักฐานว่าลูกจ้างได้เอื้อผลประโยชน์ให้แก่ผู้รับจ้างบางราย แต่ไม่ชัดเจนถึงขนาดที่จะพิสูจน์ได้ว่าลูกจ้างเรียกรับผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้รับจ้างที่เข้ามาเสนอราคา
กรณีแบบนี้ นายจ้างจะใช้สิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่?
ขอยกตัวอย่างคดีหนึ่ง... พนักงานจัดซื้อมีหน้าที่จัดหาผู้รับจ้างเพื่อมารับงานตามที่นายจ้างต้องการ แทนที่จะต่อรองราคาให้ต่ำลงเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง แต่กลับปฏิบัติหน้าที่เป็นปฏิปักษ์กับนายจ้าง
โดยให้บริษัท A ปรับราคาสินค้าจากเดิมชุดละ 114 บาท เป็นชุดละ 121 บาท เพื่อให้ใกล้เคียงกับราคาที่บริษัท B ได้เสนอและนายจ้างจัดซื้อสินค้าจากบริษัท B ทั้งที่ความจริงควรซื้อในราคา 114 บาทจากบริษัท A
ถือว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้รับจ้างรายหนึ่งให้ได้เปรียบผู้รับจ้างอีกรายหนึ่ง ซึ่งเป็นการกระทำไม่สมควร และกระทบกับรายได้ของนายจ้าง
แม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าลูกจ้างได้รับผลประโยชน์ตอบแทนก็ตาม แต่พฤติการณ์ของลูกจ้างก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นปรปักษ์ต่อผลประโยชน์ของนายจ้าง ถือว่าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
นายจ้างจึงสามารถเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 119 (2)
(อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1412/2559)
ขอบคุณภาพจาก pixabay
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻
8 บันทึก
52
17
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายแรงงาน
8
52
17
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย