18 เม.ย. 2020 เวลา 13:10 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
log analysis – Great grandfather basic log analysis
นอกจากผมจะมีพื้นที่ที่ผมเขียนอะไรเองแล้ว ก็ยังมีแฟนคลับในแวดวงที่จิตอาสามาช่วยๆกันด้วยครับ มีน้องคนนึงนามแฝง Seamonkey ได้ช่วยเขียนเรื่อง log analysis ให้ 4 ตอน วันนี้ขอนำเสนอ ตอนแรกครับ
งานนี้เกิดจากการที่เจอกับพี่นกแล้วได้ไอเดียว่าจะเขียนงานด้านนี้มาให้คนทั่วไปได้อ่านเล่นครับ จะได้เห้นภาพว่าในการประเมินปิโตรเลียนนั้นต้องใช้ข้อมูลเยอะแค่ไหน
ผมจะพยายามไม่ลงลึกในรายละเอียดมากครับ (ลงลึกเดียวจะหางานใหม่ยาก Hahaha) และก็ยังใช้ทับศัพท์เป็นส่วนใหญ่ครับและก็มีคณิตศาสตร์บ้าง ส่วนเรื่องพิมพ์ผิดก็ทำใจซะครับถ้า Word ไม่ขึ้นแดงผมถือว่าพิมพ์ถูกแล้ว HA HA HA HA
log analysis
มาเริ่มกันที่จุดเริ่มต้นในการตี log ก่อนครับ เราจะประเมินว่าในชั้นหินนั้นมีน้ามันได้ยังไง นักวิทยาศาสตร์ก็สร้างโมเดลแบบง่ายๆมาเทียบเคียง ลองนึกภาพตัวเป็นประจุก่อนครับ โดยให้ชั้นหินเป็นช่วงว่างตรงกลางระหว่าง plate
แล้วเราก็ทำการวัดความต้านทาน (R) คร่อมมันซะ ถ้าเป็นน้ำเค็มก็จะนำไฟฟ้าแต่ถ้าเป็นปิโตรเลียม(gas/oil)จะไม่นำไฟฟ้า ฉะนั้นการวัดปิโตรเลียมโดยตรงก็จะทำไม่ได้เราจึงวัดว่ามีน้ำในชั้นหินเท่าไรและที่เหลือในช่องว่างก็เป็นปิโตรเลียม โดยให้สัดส่วนน้ำในช่องว่างเป็น Sw และสัดส่วนของปิโตรเลียมในช่วงว่างเป็น Sp ก็จะได้ว่า
ที่นี้เราก็ต้องมาหาวิธีคำนวณ Sw โดยใช้โมเดลแบบข้างบนครับ ถ้าช่องว่างของตัวเก็บประจุถูกเติมเต็มด้วยน้ำ ค่าความต้านทานก็จะเป็นค่าของน้ำที่เติมเข้าไป เราก็ให้ค่าความต้านทานของน้ำเป็น Rw ที่นี้ค่าความต้านทานต่ำสุดที่เป็นไปได้คือช่องว่างทั้งหมดถูกเติมด้วยน้ำ ส่วนค่าความต้านทานสูงสุดคือไม่มีน้ำในช่องว่างนี้เลยค่าความต้านทานก็จะสูงมากและ Sw ก็จะมีค่าน้อยมาก ถ้าเราให้ค่าความต้านทานที่วัดค่อมฃ่องนี้เป็น Rt จะเขียนสมการได้เป็น
อ่านต่อ ... https://nongferndaddy.com/log-analysis/

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา