20 เม.ย. 2020 เวลา 02:11 • ข่าว
FOCUS : ประเด็นน่าสนใจเช้านี้
1. ตลาดพันธบัตรยังดูน่าเป็นห่วง หลังจากประเทศทางฝั่งอาหรับดั๊มป์ขายพันธบัตรดอลลาร์จำนวน 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์
Oman และ Bahrain ดูเหมือนจะขยับตัวเองออกไปสู่ขอบสนามของตลาดตราสารหนี้ระหว่างประเทศ หลังจากมีการกู้ยืมโดยประเทศทางฝั่งอาหรับสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
Goldman Sacs ประมาณการเอาไว้ว่าความต้องการเงินภายนอกประเทศจะอยู่ที่ประมาณ 5.5 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ ซึ่ง Oman และ Bahrain คือผู้กู้ทั้งหมด แต่เขาก็ได้ออกจากตลาดพันธบัตรมา โดยให้เหตุผลว่าตลาดในตอนนี้ถูกบิดเบือนและปั่นป่วนอย่างมาก
ส่วนประเทศเพื่อนบ้านที่มีความร่ำรวยกว่า Oman และ Bahrain ก็ได้ทำการเทขายพันธบัตรสหรัฐฯ มูลค่าประมาณถึง 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์ โดย 3 ประเทศที่ทำการเทขายก็คือ Saudi Arabia, Qatar และ Abu Dhabi ซึ่งมีอันดับ Rating อยู่ที่ระดับ A และ AA
Oman และ Bahrain นั้นอยู่ในระดับ Junk Rate และ IMF ได้คาดการณ์ว่า GDP ของประเทศทั้ง 2 จะหดตัวประมาณ 15% ในปีนี้
2. ธนาคารกลางหลายแห่งกำลังละเมิดข้อห้ามทางการเงินในขณะนี้
The Money Taboo หรือ ข้อห้ามทางการเงิน หมายถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทางระบบการเงินโลก อย่างเช่นประเทศไทยที่เคยเปิดเสรีทางการเงิน และ Fix อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทไทยและเงินดอลลาร์ รวมถึงนโยบายทางการเงินแบบอิสระ
คลิปวิดีโอด้านล่างนี้เป็นของ จอห์น วิญญู ซึ่งได้อธิบายเรื่องเอาไว้ได้อย่างเห็นภาพชัดเจนมาก โปรดเสียสละเวลาไปชมกันสักนิดนึงครับ เพราะมันเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบันอย่างมาก
นอกจากนี้ เรื่องของ 3 สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ทางการเงิน ลงทุนแมนเคยอธิบายเรื่องนี้ไว้แล้วครับ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขอให้เข้าไปอ่านได้ที่ https://www.longtunman.com/1156
ส่วน World Maker จะขอนำเสนอในประเด็นที่ว่า "ตอนนี้ธนาคารกลางทั้งหลายกำลังทำอะไร ?"
ปัจจุบัน รัฐบาลต่าง ๆ กำลังใช้จ่ายด้วยเงินที่กู้ยืมมาจากธนาคารกลางของประเทศตนเอง และธนาคารกลางเหล่านั้นก็เลียนแบบ FED ด้วยการพิมพ์เงินมหาศาล รวมถึงเงินกู้ที่กำลังผัวพันกันอย่างยุ่งเหยิงขึ้นกว่าเดิม
กล่าวได้ว่านี่เป็นการเปิดเสรีทางการเงินทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งความเสี่ยงครั้งนี้คล้ายคลึงกับวิกฤตหนี้ในละตินอเมริกาที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เมื่อธนาคารกลางมีความเป็นอิสระในการพิมพ์เงิน รวมถึงรัฐบาลที่ใช้จ่ายอย่างเกินตัว จนภายหลังได้ทำให้เกิดเงินเฟ้อ จากการที่พวกเขาสาดเงินจำนวนมหาศาลเหล่านั้นไปทั่วภาคเศรษฐกิจ
เมื่อเทียบเปรียบกับปัจจุบันที่ธนาคารกลางต่าง ๆ ได้อัดฉีดเงินเข้าอุ้มตลาดอย่างมหาศาล และได้ซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหนี้สาธารณะเกือบทั้งหมด รวมถึงการเข้าซื้อพันธบัตรในตลาดรอง สิ่งนี้ถือว่าน่าเป็นห่วงอย่างมาก
ภาพด้านล่างนี้แสดงให้เห็นถึงปริมาณการใช้เงินจากคลังเทียบเป็นเปอร์เซ็นกับ GDP ของประเทศต่าง ๆ ในปี 2019 (แท่งสีฟ้า) และคาดการณ์ในปี 2020 จาก IMF (แท่งสีแดง)
เมื่อการระบาดของ Coronavirus ลด Demand ในภาคเศรษฐกิจทั้งโลกลง แต่กลับเพิ่ม Demand ในเงินสดขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน รวมถึงรัฐบาลและธนาคารกลางก็จัดสรรเงินสดมาให้อย่างเต็มที่ ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลในตลาดพันธบัตรเป็นอย่างมาก (อาจเป็นการเร่งขยายให้ฟองสบู่อิ่มตัวได้เต็มที่)
แน่นอนว่าทั้งหมดนี้ทำให้ปัจจุบันรัฐบาลหลายประเทศมีการ "เบิกเงินเกินบัญชี" ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้โดยปกติจะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงเวลาที่โลกกำลังมีสงคราม ส่วนอีกครั้งที่เคยเกิดขึ้นก็คือหลังจากวิกฤตซัพไพรม์เมื่อปี 2008
อย่างไรก็ตาม พวกเขายังยืนยันที่จะทำเช่นเดิม แม้ว่างบประมาณที่ถูกอัดฉีดเข้ามาในช่วงที่เกิดวิกฤตนี้ ดูเหมือนว่ายากที่จะได้รับกลับคืน โดยภาพด้านล่างจะแสดงให้เห็นถึงจำนวนการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ โดยกลุ่มธนาคารกลางจากประเทศ G7
3. ความเสี่ยงของวิกฤตหนี้สาธารณะทั่วโลก
สำนักข่าว CNBC ได้รายงานข่าวในเรื่องของความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตหนี้สาธารณะขึ้นทั่วโลก จากการที่รัฐบาลปล่อยมาตรการอัดฉีดครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เพื่อช่วยเหลือประชากรและภาคธุรกิจหลายล้านแห่ง
การใช้เงินจำนวนมากที่กู้ยืมมาเช่นนี้ พร้อมกับหนี้สินที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา อาจหมายถึงวิกฤตที่ตามมาจะรุนแรงกว่าในตอนนี้ และจะเป็น Doubled-Down Recession หรือที่ World Maker เคยเขียนไปว่ามันเป็น "คลื่นลูกที่ 2 ของตลาดหมี" นั่นเอง
1
"วิกฤตหนี้อาจกำลังใกล้เข้ามา" EIU* กล่าว
* EIU หรือ The Economist Intelligence Unit เป็นองค์กรระดับโลกที่ทำการวิจัยและวิเคราะห์เกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก
"รัฐบาลกำลังใช้จ่ายเงินอย่างมหาศาลเพื่อต่อสู้กับการระบาดของ Coronavirus และประคองภาคเศรษฐกิจให้อยู่รอด รวมถึงการควบคุมอัตราการว่างงานไม่ให้สูงจนเกินไป"
สิ่งที่จะตามมาคือการขาดดุลงบประมาณอย่างมากในช่วงปีต่อ ๆ ไปที่กำลังจะมาถึง โดยก่อนหน้านี้ในเดือนมกราคม 2020 ที่ผ่านมา World Bank เคยออกมาเตือนถึงความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตหนี้สาธารณะทั่วโลก จากกระแสคลื่นหนี้สะสมที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2010
ดังนั้นคำจำกัดความที่ชัดเจนสำหรับวิกฤตหนี้ในครั้งนี้ก็คือ "การกู้ยืมทั่วโลกที่มีมูลค่ามากที่สุด เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด และเป็นวงกว้างที่สุด นับตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา" (ก่อนยกเลิก Gold Standard 1 ปี)
Comment : สำหรับเรื่องวิกฤตหนี้ ใครติดตามเพจ World Maker จะรู้ว่าแอดมินพูดอยู่บ่อย ๆ และตอนนี้มันกำลังจะเข้าสู่สายตาของประชากรโลก
ในครึ่งแรกของปี 2019 หนี้ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น 7.5 ล้านล้านดอลลาร์ ทำให้ยอดรวมทำลายสถิติใหม่ที่ 250 ล้านล้านดอลลาร์
Comment : คิดดูครับว่าระบบทุนนิยมทุกวันนี้ทำให้คนเป็นหนี้มากแค่ไหน เราจะใช้อยู่ในนิยามของคำว่าทำงานใช้ชีวิตกันจนวันตาย จะว่า World Maker แอนตี้ระบบก็ได้นะ แต่สิ่งที่ World Maker อยากจะสื่อจริง ๆ คือ "เราควรใช้ชีวิตอย่างไร เมื่อจำเป็นต้องอยู่ภายใต้ระบบพวกนี้ ?"
ล่าสุด IMF ได้คาดการณ์ไว้แล้วว่าเศรษฐกิจโลกในตอนนี้ มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะเจอกับวิกฤตทางการเงินที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ Great Depression ปี 1929 เลยทีเดียว
GDP ทั่วโลกถูกคาดการณ์ไว้ว่าจะหดตัวที่ประมาณ 3% แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีหลายครั้งที่ตัวเลขเหล่านี้รุนแรงกว่าที่คาดการณ์เอาไว้
เกร็ดความรู้ : Great Depression เป็นวิกฤตทางการเงินที่รุนแรงที่สุดในโลก นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker
สามารถติดตาม World Maker ผ่านทาง Facebook ได้แล้ววันนี้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา