26 เม.ย. 2020 เวลา 07:20 • ประวัติศาสตร์
สง่า มะยุระ ตำนานที่ทำให้คนไทยสะกด "พู่กัน" ด้วย ภ.สำเภา มากว่า 80 ปี
เรื่องมีอยู่ว่าช่วงนี้คนที่บ้านจำเป็นต้องใช้พู่กันมาวาดภาพสีน้ำ แต่เนื่องจากเคอร์ฟิวปิดห้างร้านไปหลายแห่ง จึงหาซื้อพู่กันยากมาก เมื่อนึกถึงพู่กันต้องนึกถึงสง่า มะยุระ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้คนไทยสับสนว่าควรสะกดพู่กันด้วย ภ.สำเภา หรือ พ. พาน มากว่า 80 ปี
ตามข้อมูลของราชบัณฑิต พู่กัน ใช้ พ. พาน
เราไม่สามารถบอกได้ว่า พ.พาน หรือ ภ. สำเภา เป็นคำที่ถูกต้องได้ เนื่องจากหากมาวัดสัดส่วนกัน คนไทยใช้ทั้ง 2 พยัญชนะเป็นตัวสะกดทั้งนั้น แต่ถ้าเขียนตามหลักราชบัณฑิต ก็ต้องใช้ พ.พาน
ส่วน ภ. สำเภา คาดว่า
เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของคุณสง่า มะยุระ ที่ต้องการสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ตัวเองให้มีความแตกต่าง หรือ
หรือแท่นพิมพ์อาจจะทำมาผิด ก็เลยกลายเป็นว่าสินค้าทุกชิ้นถูกตีอักษรมาเป็น ภ.สำเภาทั้งหมด
เรื่องนี้เป็นเรื่องชวนหัวที่คงต้องสอบถามไปยังเจ้าของแบรนด์กันดู
ส่วนคำว่า "ภู่กันของสง่า มะยุระ" เมื่อเก็บอยู่ในกล่องไม้ คนซื้อจะเห็นและสังเกตได้ง่ายว่าพู่กัน นี้คือของแท้แน่นอน มีทั้งหัวกลม หัวปาด แบ่งอยู่ในช่องเล็ก ๆ ที่เรียงเบอร์หยิบง่าย
หากคุณคิดว่าจะวาดภาพสีน้ำหรือสีน้ำมัน ก็ต้องนึกถึงพู่กันยี่ห้อนี่เป็นยี่ห้อแรก เด็ก ๆ ที่หัดเรียนวาดภาพระบายสี ก็มักจะใช้พู่กัน ยี่ห้อนี้กัน
ผลงานของคุณสง่า มะยุระ มีตำนานเล่ากันมาหลายอย่าง แกเคยเป็นผู้ช่วยจิตกรท่านหนึ่งก่อนที่จะอุปสมบทแล้วได้รับงานบูรณะจิตรกรรมวัดพระแก้ว
แม้ว่าคุณสง่าจะเคยออกไปทำงานอย่างอื่นมาแล้วบ้าง ก็ลาออกกลับมาทำโรงงานพู่กัน จนกลายเป็นโรงงานพู่กันอันดับต้น ๆ ของประเทศ
และบั้นปลายชีวิตได้กลับมาถวายงานรับใช้ประเทศด้วยการบูรณภาพเขียนจิตรกรรมวัดพระแก้วอีกครั้ง เป็นงานที่แกเคยทำตอนหนุ่ม ๆ แต่ตอนนั้นภาพวาดได้เสื่อมสลาย เสียหายไปมาก
จึงจำเป็นต้องได้รับการบูรณะซ่อมแซม ซึ่งตัวอย่างภาพผลงานของคุณสง่า ก็มีจารึกไว้บนผนังรอบ ๆ วัด มีผู้รวมไว้ในเว็บเรือนไทยมาให้เราเห็น
ดังนั้น "ภู่กันของสง่า มะยุระ" ไม่ได้เป็นแค่พู่กัน .. แต่เป็น คำโฆษณาติดหูจนคนไทยสะกด พู่กัน เป็น พู่กัน กันค่อนประเทศ
ที่มา :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา