Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Work Life Win Win
•
ติดตาม
4 พ.ค. 2020 เวลา 12:25 • สุขภาพ
ใช้แรงโน้มถ่วง ส่งน้ำระยะไกล (ใจเกษตร EP20)
1
EP ที่ผ่านมาหลายบทความ ผมเขียนเป็นแนวทาง/ปรัชญาการทำเกษตร
ซึ่งดูเป็นนามธรรม เป็นหลักการ แต่ถ้าลงมือทำจริงๆ "น่าจะยากกว่าที่คิด"
ใช้แรงโน้มถ่วง ส่งน้ำระยะไกล
แต่คราวนี้ ผมขอแชร์เทคนิค หรือวิธีการที่ผมทดลองมากับตัวเอง โดยหวังว่าเทคนิคและความรู้นี้ คงเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่าน ถ้าต้องแก้ปัญหาหากเจอสถานการณ์เช่นนี้
ก็แปลกดี ผมเป็นวิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร ทำงานมาหลายปี แต่ยังไม่เข้าใจเรื่องการส่งน้ำระยะไกล ด้วยปั๊มน้ำหรือด้วยแรงโน้มถ่วง มันต่างกันอย่างไร
ช่างประปา, วิศวกรรมชลประทาน หรือวิศวกรรมของไหล (Fluid Mechanics) พวกเขาคงเข้าใจเรื่องนี้ดี แต่ชาวบ้านหรือคนทั่วไปอย่างผม ก็แค่รู้เผินๆ หรือรู้ไม่จริง
โจทย์ก็คือ "จุดที่ต้องการใช้น้ำ" ซึ่งมีถังเก็บน้ำ 5000 ลิตร มีระบบท่อและหอส่งน้ำ และถังสูงอีก 4000ลิตร เพื่อรองรับผู้ใช้น้ำ 8 ครอบครัว แถมยังมีโกดังและร้านค้าอีกด้วย
ปรกติ "จุดที่ต้องการใช้น้ำ" เชื่อมกับท่อและมิเตอร์น้ำประปาชุมชน
เหตุเพราะปีนี้ แล้งหนักมากๆ จนประปาชุมชน น้ำไหลน้อยลงๆ น้อยลงจนไม่ไหลเลย เดือดร้อนกันมากๆ
น้ำเป็นปัจจัยหลักในการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำเกษตร
จึงต้องแก้ปัญหาน้ำประปาชุมชนไม่ไหล ให้ได้โดยเร็ว
ยังมีโชคดีอยู่บ้าง เรามีน้ำบาดาลในพื้นที่ของตัวเอง แต่ตำแหน่งที่เจาะบาดาลจนดูดน้ำได้นั้น ขึ้นอยู่กับตาน้ำที่อยู่ใต้ดิน คิดจะเจาะตรงไหนตามใจไม่ได้
และด้วยความที่เป็นพื้นที่ใกล้ภูเขา ต้องเจาะบาดาลลึกมากๆ โดยที่จุดติดตั้งปั๊มซัมเมอร์ส (Submersible pump) ลึกลงไปใต้ดินถึงที่ 85 เมตร (เจาะบาดาลลึกจริง 100 เมตร)
ปั๊มซัมเมอร์ส
ปั๊มซัมเมอร์ส คือ ปั๊มแช่คล้ายๆ ปั๊มไดโว่ แต่ถูกออกแบบให้แช่น้ำในท่อ 4 นิ้วบ้าง หรือเล็กที่สุดแช่น้ำในท่อ 3 นิ้วได้ และถูกออกแบบให้ส่งน้ำได้ลึกมากๆ
ปั๊มซัมเมอร์ส จึงนิยมใช้กับการดูดน้ำบาดาลโดยเฉพาะ
แต่ยังมีอุปสรรค จุดน้ำบาดาลดันห่างจาก"จุดที่ต้องการใช้น้ำ" มากพอสมควร โดยต้องเดินท่อ PVC ขนาด 2" ยาวถึง 250 เมตร
เพื่อส่งน้ำจากบาดาลไป จุดที่ต้องการใช้น้ำ
ด้วยความที่ไม่รู้ แบบที่ 1 ใช้ปั๊มส่งน้ำ (รูปบน)
เราพยายามส่งน้ำจาก จุดน้ำบาดาล โดยใช้แรงปั๊มซัมเมอร์ส (Submersible pump) ดูดน้ำจากใต้ดินลึก 85เมตร และยังผ่านท่อ PVC 2" ยาว 250 เมตร ไปยัง จุดที่ต้องการใช้น้ำ และยังเป็นพื้นที่สูงกว่าอีกด้วย (ที่ดินลาดเอียง ไม่ราบเสมอกัน)
ผลปรากฎว่า ปั๊มซัมเมอร์สไม่สามารถส่งน้ำไปได้ น้ำไหลเอื่อยๆ ณ จุดท่อ PVC ประมาณแค่ 100 เมตรเศษๆ ถ้าต่อท่อไกลกว่านี้น้ำไม่ไหล นิ่งไปเลย
ทดลองแก้ปัญหา แบบที่ 2 ใช้หอส่งน้ำ (รูปล่าง)
สร้างหอส่งน้ำย่อย สูงประมาณ 4.8 เมตร เพราะจุดที่ต้องการใช้น้ำ มีถัง 5000 ลิตร สูง 2 เมตร และพื้นที่ต้องการใช้น้ำ สูงกว่า จุดน้ำบาดาล ประมาณ 1.5 เมตร จึงต้องสร้างหอส่งน้ำย่อย ให้สูงกว่านั้นเล็กน้อย (2 + 1.5 = 3.5 เมตร)
ผลปรากฎว่า ส่งน้ำได้อย่างสะดวกมากๆ น้ำไหลจากหอส่งน้ำแรงด้วย
ปั๊มซัมเมอร์สนั้น มี Spec ส่งน้ำได้สูงสุดได้ 120 เมตร ความลึกบ่อ 85 เมตร บวกกับความสูงหอส่งน้ำย่อย 4.8 เมตร รวมเป็น 89.8 เมตร หรือ 90 เมตร
คิดประสิทธิภาพการใช้งาน คือ 90 เมตร(ใช้งาน) หารด้วย 120 เมตร(Spec) = 75% ของความสามารถสูงสุด
ปั๊มซัมเมอร์ส ทำงานได้อย่างปรกติ ไม่เป็นการใช้งานหนักเกินไป
หากเราใช้งานเกิน 80% ของความสามารถสูงสุด เครื่องมือหรืออุปกรณ์นั้นๆ อายุการใช้งานจะสั้นลง
การส่งน้ำแบบที่ 1 โดยใช้แรงดันของปั๊มซัมเมอร์ส ทั้งดูดน้ำจากบาดาล และทั้งส่งน้ำระยะไกลด้วย ไม่สามารถทำได้
สาเหตุคือ
การต่อท่อ PVC ให้ยาวขึ้น แม้จะมีระดับความสูงไม่เกิด Spec ก็ตาม แต่ปริมาณน้ำที่มากขึ้น จากท่อที่ยาวขึ้น สะสมเป็นน้ำหนักน้ำโดยรวม (น้ำหนักน้ำ ในท่อแนวตั้งและแนวนอน) ต้านแรงดันของปั๊มซัมเมอร์ส จนกำลังของปั๊มสู้ไม่ไหว
การแก้ปัญหา คือ ลดน้ำหนักน้ำ ในท่อแนวนนอน โดยส่งน้ำตามท่อแนวดิ่งตรงๆ ขึ้นหอส่งน้ำย่อย เสียก่อน
จากนั้น ใช้แรงโน้มถ่วงโลก จากหอส่งน้ำย่อย ช่วยส่งน้ำไประยะไกลๆ ได้แบบไม่จำกัดระยะ ว่าไกลแค่ไหน ขอเพียงแค่ให้จุดที่ส่งน้ำ สูงกว่าจุด ที่รับน้ำ เท่านั้นก็พอ
เพิ่มเติม การสร้างสร้างหอส่งน้ำย่อย ใช้เวลาเพียงครึ่งชั่วโมง
โดยสั่ง รองปูนขนาด 1.2 เมตร และฝารองปูน (รองปูนปรกติสูง 40 เซนติเมตร) จากร้านวัสดุก่อสร้าง ซึ่งเขามีรถเฮี๊ยบหรือเครนยกของหนัก บริการฟรี ถ้าเป็นของที่สั่งจากที่ร้าน
1. ปรับพื้นดินให้เสมอ ราบกับพื้นโลก
2. วางฝารองปูนก่อน เพื่อเพิ่มพื้นที่รับแรงกด
3. เรียงรองปูนให้ตั้งฉากกับพื้นโลก (ดิ่งให้ตรง) ใช้จำนวนรองปูน ตามความสูงที่ต้องการ
4. วางฝารองปูนอีกใบปิดรองปูนบนสุด เป็นพื้นหอส่งน้ำย่อย
5. วางถัง IBC 1000 ลิตร
หอส่งน้ำย่อย
การตั้งหอสูงอาจใช้เวลาสั้น เพราะมีรถเฮี๊ยบช่วยยก (ไม่มีการใช้ปูนประสานรองปูน)
ส่วนงานเดินท่อและยึดถัง IBC 1000 ลิตร ให้สู้แรงลมได้ ต้องใช้เวลาเป็นวัน นะครับ
EP ต่อไป ยังมีเทคนิคต่างๆ อีกหลายเรื่อง เพื่อจัดการกับการใช้น้ำ
สนใจการเกษตร และเทคนิคการจัดการน้ำ
โปรดติดตาม ใจเกษตร EP ต่อไป
ได้ที่ Blockdit:
www.blockdit.com/worklifewinwin
23 บันทึก
27
13
24
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ใจเกษตร
23
27
13
24
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย