5 พ.ค. 2020 เวลา 00:30 • ประวัติศาสตร์
ฮีโร่ผู้อาภัพ! 'ไอรา เฮย์' นาวิกอเมริกันเชื้อสายอินเดียนแดงผู้ล้มเหลวในชีวิตเพราะคำว่าวีรบุรุษสงคราม
หลายคนอาจจะเคยเห็นภาพถ่ายของกลุ่มนาวิกโยธินสหรัฐจำนวน 6 นาย กำลังปักธงชาติของตนเองบนยอดเขาสุริบาชิบนเกาะอิโวจิมา ที่ภายหลังได้มีทหารจำนวน 3 คนจากทั้งหมด 6 คน ที่รอดชีวิตกลับมาเพื่อทำหน้าที่เป็นวีรบุรุษของชาติและขายธนบัตรเพื่อหาทุนในการทำสงครามกับจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
โดยหนึ่งในทหารที่รอดชีวิตที่ได้กลับมาก็คือ ไอรา เฮย์ ทหารหนุ่มเชื้อสายอินเดียนแดง ที่ได้พบเจอกับประสบการณ์ที่เข้มข้นและหนักหน่วงจากสนามรบที่ขึ้นชื่อว่าโหดที่สุดอีกแห่งในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยหน่วยของเขาและพรรคพวกได้ถูกส่งมาเพื่อยึดเกาะอิโวจิมา เพื่อใช้เป็นจุดพักเครื่องบินเพื่อเตรียมบุกญี่ปุ่นต่อไป ในขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นเองก็ไม่ต้องการสูญเสียเกาะแห่งนี้ไปเช่นเดียวกัน เพราะถือว่าอิโวจิมาคือหน้าด่านสำคัญก่อนเข้าถึงแผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่น
1
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
การสู้รบระหว่างกองทัพสหรัฐและกองทัพญี่ปุ่นบนเกาะอิโวจิมาเป็นไปอย่างดุเดือด โดยฝ่ายสหรัฐได้ระดมยิงระเบิดปูพรมทุกตารางนิ้วทั่วเกาะ เพื่อหวังทำลายแนวป้องกันของฝ่ายญี่ปุ่นให้สิ้นซาก แต่ฝ่ายญี่ปุ่นได้รับรู้กลยุทธ์ของฝ่ายสหรัฐมาก่อน จึงได้ซ่อนตัวเงียบอยู่ในบังกะโลใต้ดินและภายในหุบเขา เพื่อรอเวลาให้ทหารสหรัฐยกพลขึ้นบกแล้วจึงจะเปิดฉากยิง
การต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือด ฝ่ายสหรัฐสูญเสียกำลังพลไปเป็นจำนวนมาก แต่ก็สามารถยึดพื้นที่บางส่วนของอิโวจิมาไว้ได้ โดยเฉพาะภูเขาสุริบาชิ ที่ถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญบนเกาะ หลังจากการยิงต่อสู้จบลง นาวิกโยธินสหรัฐที่ยึดยอดเขาสุริบาชิได้ จึงทำการปักธงชาติสหรัฐ ได้มีการบันทึกภาพเอาไว้ก่อนในครั้งแรก ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนธงใหม่และถ่ายภาพอีกครั้ง และภาพถ่ายดังกล่าวได้กลายเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของสงครามจนถึงทุกวันนี้
หลังจากภาพถ่ายการปักธงชาติสหรัฐลงบนยอดเขาสุริบาชิ (ไอรา เฮย์ คือคนซ้ายมือสุด) ได้ถูกเผยแพร่ไปยังสาธารณะ ก็ได้สร้างความหวังให้กับชาวสหรัฐในการทำสงครามต่อ จนทางการเรียกตัวทหารที่ทำการปักธงในวันนั้นให้บินกลับมาสหรัฐเพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ให้กองทัพและช่วยขายธนบัตรเพื่อหาทุนทำสงคราม
ไอรา เฮย์ คือหนึ่งในสามคนที่รอดกลับมา ในตอนแรกเขาเองก็ไม่ได้เต็มใจที่จะกลับมานัก เพราะเขายังสะเทือนใจกับการที่ต้องเห็นภาพเพื่อน ๆ ในกองทัพของเขาล้มตายในสงคราม และไม่อยากเป็นคนดัง แต่เมื่อเป็นคำสั่งจากกองทัพ เขาจึงต้องกลับมาเพื่อทำหน้าที่แม้ไม่เต็มใจนักก็ตาม
ความเป็นวีรบุรุษสงครามของเขาออก แต่ก็ไม่สามารถทำได้ หลายครั้งที่มีคนมาถามเกี่ยวกับความรู้สึกและมาขอถ่ายรูป แต่ไม่มีใครเลยที่จะถามว่าเขารู้สึกอย่างไร กล่าวกันว่า ไอรา เฮย์ ต้องทนทุกข์กับบาดแผลทางจิตใจจากการเห็นเพื่อนของเขาล้มตายในสนามรบ บวกกับการที่เขาเป็นอินเดียนแดง ที่เปรียบเสมือนพลเมืองชั้นสองของประเทศ ทำให้เขาไม่สามารถระบายความรู้สึกอัดอั้นตันใจออกมาได้ จนทำให้เขากลายเป็นคนติดเหล้าและก่อคดีทะเลาะวิวาทจนถูกจับตัวเข้าคุก แต่ก็ยังไม่วายมีคนมาตามถ่ายรูปเขาถึงห้องขังอยู่ดี
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
หลังจากออกมาจากคุก ไอรา เฮย์ ก็ประกอบอาชีพทำไร่ทำสวน ก่อนตัดสินใจเดินทางไกลถึง 2,092 กิโลเมตร ด้วยการโบกรถไปตามเส้นทาง เพื่อบอกความจริงบางอย่างกับพ่อของ ฮาร์ลอน บล็อก หนึ่งในนาวิกโยธินที่เสียชีวิตบนเกาะอิโวจิม่าเป็นความจริงเรื่องภาพถ่ายการปักธงบนยอดเขาสุริบาชิ เพราะก่อนหน้านั้นมีเหตุเข้าใจผิดเรื่องรายชื่อหนึ่งในหกคนที่ปักธงชาติว่าไม่ใช่ ฮาร์ลอน บล็อค ภายหลังมีคนพบศพของไอรา เฮย์ ที่นอนตายอย่างโดดเดี่ยวในวันที่ 24 มกราคม 1955 ซึ่งอีกไม่กี่วันก็จะครบรอบ 10 ปี ของการปักธงในครั้งนั้น ปิดฉากวีรบุรุษสงครามโลกที่น่าเศร้า
จอห์น แบรดลีย์ ที่เป็นเสนารักษ์ของกองทัพเรือ และเป็นสมาชิกหนึ่งในสามคนที่รอดชีวิตได้เคยกล่าวว่า ‘วีรบุรุษที่แท้จริงบนเกาะอิโวจิมา คือคนที่ไม่ได้กลับมา’ บางที ไอรา เฮย์ คงเก็บความรู้สึกขมขื่นนี้ไว้ในใจ และคาดหวังว่าจะมีใครที่รับฟังความรู้สึกและตัวตนที่แท้จริงของเขา มากกว่าภาพจำของวีรบุรุษสงคราม ก็เท่านั้นเอง
โฆษณา