5 พ.ค. 2020 เวลา 07:28 • ประวัติศาสตร์
'รางรถไฟ' เส้นเลือดของชาวภารตะ
อินเดียถือว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เจริญได้เพราะ "เส้นทางรถไฟ" ถ้าย้อนกลับไปในช่วงก่อนศตวรรษที่ 19 ชาวอินเดียจะเดินทางไปมาหาสู่หรือทำการค้านั้นถ้าอยู่ในช่วงฤดูฝนทุกอย่างจะต้องเหมือนหยุดชะงักเพราะถนนจะเต็มไปด้วยโคลนตม หน้าร้อนแม่น้ำทุกสายยกเว้นแม่น้ำคงคาก็จะแห้งขอด ชาวอินเดียเลยเหลือแม่น้ำคงคาที่เดียวเท่านั้นที่จะใช้สัญจรทางเรือในหน้าร้อน การเดินทางด้วยเกวียนก็มีราคาแพง เมื่อการเดินทางยากลำบากเช่นนี้ทำให้ความเจริญในประเทศอินเดีย หยุดอยู่แค่ตามหัวเมืองใหญ่ๆ
เมื่อประเทศอังกฤษเข้ามาเป็นเจ้าอาณานิคมอุปสรรคเหล่านี้ถือว่าสร้างปัญหาให้กับอังกฤษเป็นอย่างมากเพราะสินค้าที่อังกฤษต้องการจากอินเดีย เช่น ใยฝ้าย ที่มีราคาสูงอาจจะเสียหายได้จากการขนส่งผ่านถนนดินและเปียกฝน และการส่งทหารเข้าไปปราบกบฏตามพื้นที่ต่างๆ ก็ทำได้ช้า
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
อังกฤษจึงเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโดยรัฐบาลอังกฤษจะเป็นผู้แบกรับภาระขาดทุน และแบ่งกำไรให้แก่เอกชน 5% รัฐบาลอังกฤษและบริษัทที่ร่วมลงทุนใช้เวลาเกือบ 30 ปีในสร้างทางรถไฟตั้งแต่ปี 1852 - 1880 ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่ราบเรียบและมีเทือกเขาน้อย แรงงานราคาถูกมีแบบไม่จำกัดทำให้รัฐบาลอังกฤษสามารถสร้างทางรถไฟได้ระยะทางกว่า 10,000 กม. โดยตัดเส้นทางผ่านเมืองสำคัญๆ และขยายเส้นทางไปยังปากีสถาน บังคลาเทศและพม่า
WIKIPEDIA PD
โดยในปี 1902 รัฐบาลอังกฤษสามารถสร้างทางรถไฟที่รวมระยะความยาวกว่า 40,000 กม. ซึ่งเป็นระยะทางที่ถือว่าเยอะกว่าระยะทางของรถไฟทุกชาติในเอเชียมารวมกัน และปัจจุบันมีระยะทางที่สร้างขึ้นแตกแขนงออกไปตามเมืองต่างๆทั่วประเทศกว่า 115,000 กม.
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
การเข้าถึงของรถไฟในอินเดียถือว่าเปลี่ยนชีวิตคนอินเดียไปเป็นอย่างมาก รถไฟกลายเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของคนอินเดียไปเลยเพราะการเดินทางไปตามเมืองต่างๆ มีค่าใช้จ่ายที่ถูกลงกว่า 20 เท่า ชีวิตประจำวันก็ถูกเปลี่ยนแปลงชาวอินเดียเลิกผลิตของใช้หลายๆ อย่าง เช่น เสื้อผ้าแล้วหันไปซื้อเสื้อผ้าที่ส่งตรงมาจากประเทศอังกฤษเพราะมีราคาถูกกว่าการทอเอง จึงพอจะเรียกได้ว่าประชาชนชาวอินเดียมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าเดิมก็เพราะการเข้าถึงของรางรถไฟก็ไม่ผิดนัก
AFP
โฆษณา