6 พ.ค. 2020 เวลา 04:30 • ประวัติศาสตร์
ตามรอย 'อนาคาริก ธรรมปาละ' บุคคลสำคัญในการฟื้นฟูพุทธศาสนาในอินเดีย
ศาสนาพุทธในอินเดียเคยรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. 260-312) ที่มีการส่งเสริมและเผยแผ่ศาสนาทำให้มีจำนวนพุทธศาสนิกชนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสิ้นพระชนม์แล้ว พระสงฆ์ได้แตกออกเป็น 2 นิกายหลัก คือนิกายหินยาน และนิกายมหายาน ผลจากการที่มีความแตกแยกในหมู่สงฆ์และปัจจัยอื่นๆ เช่นการขาดผู้อุปถัมภ์ การขยายตัวทางความเชื่อของศาสนาอื่น การปฏิเสธระบบวรรณะที่ขัดต่อประเพณีดั้งเดิม ทำให้จำนวนผู้นับถือศาสนาพุทธแทบจะหมดไป
ท่านอนาคาริก ธรรมปาละคือใครและเข้ามามีบทบาทในการฟื้นฟูพุทธศาสนาในอินเดียได้อย่างไร ท่านอนาคาริก ธรรมปาละเกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2407 ในครอบครัวที่มั่งคั่งที่กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา จุดเปลี่ยนที่ทำให้ท่านอนาคาริกมาสนใจพุทธศาสนาก็คือการได้อ่านหนังสือ”ประทีปแห่งเอเชีย” เขียนโดยเซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์จนเกิดความเลื่อมใส อยากอุทิศชีวิตเพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนา
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทางบัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
นะครับ ขอบพระคุณมากครับ
ท่านอนาคาริกได้เดินทางมาที่อินเดียและเห็นเจดีย์พุทธคยาที่มีความทรุดโทรมและอยู่ในความครอบครองของคนต่างศาสนาทำให้เกิดความสังเวชใจและไม่รีรอที่จะเริ่มการบูรณะพุทธคยาและฟื้นฟูพุทธศาสนาไปพร้อมๆ กัน
WIKIPEDIA PD
งานของท่านอนาคาริกเริ่มจากการกลับไปยังโคลัมโบและตั้งสมาคม “พุทธคยามหาโพธิ์โซไซเอตี้” จุดประสงค์เพื่อขอนำพุทธศาสนสถานกลับมาอยู่ในความดูแลของชาวพุทธ มีประธานเป็นมหาเถระ ตัวท่านอนาคาริกเป็นเลขาธิการและมีผู้แทนจากกลุ่มชาวพุทธในประเทศต่างๆ โดยมีผู้แทนจากสยาม คือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธร ทรงเข้าร่วมด้วย ชื่อสมาคมนี้ต่อมาได้ตัดคำว่าพุทธคยาออกไปเหลือเพียงแต่คำว่า มหาโพธิ์โซไซเอตี้ดังปัจจุบัน
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทางบัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
นะครับ ขอบพระคุณมากครับ
อุปสรรคของการนำเจดีย์พุทธคยากลับมาเป็นของชาวพุทธคือเจ้าของพื้นที่เดิมคือพวกมหันต์ไม่ยอมและมีการต่อต้านมีทั้งการขับไล่ ด่าทอ และใช้กำลัง ท่านอนาคาริกได้ใช้วิธีการเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆ ในอินเดียเพื่อที่จะชี้แจงปมปัญหาและข้อเรียกร้องให้ประชาชนชาวอินเดียได้ทราบและเป็นหนึ่งในช่องทางการฟื้นฟูพุทธศาสนาในอินเดียด้วย
ประเด็นการเรียกร้องให้เจดีย์พุทธคยานั้นถือว่าเป็นหนึ่งในประเด็นที่มีการพูดถึงในระดับชาติแม้แต่นักปราชญ์ชื่อดังอย่างรพินทรนาถ ฐากูรก็ยังให้ความเห็นว่าเจดีย์นี้ควรเป็นของชาวพุทธ
WIKIPEDIA PD
ในบั้นปลายชีวิตของท่านอนาคาริกนั้นได้ตั้งใจไว้ว่าหากจะตาย ขอตายในเพศบรรพชิตจึงได้ทำการบรรพชาเป็นสามเณร ณ มูลคันธกุฎิวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นในบริเวณห่างจากสารนาถ ซึ่งเป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนาของพระพุทธองค์ในวันที่ 13 กรกฎาคม ปีพ.ศ. 2474 วัดมูลคันธกุฎิวิหารนั้น ท่านอนาคาริกริเริ่มการสร้างขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2444 จนเมื่อท่านมาอาพาธหนักในปีพ.ศ. 2475 จึงได้อุปสมบทและได้รับภิกษุฉายาในทางศาสนาว่า "ภิกฺขุ ศรี เทวมิตฺร ธมฺมปาล" และในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2476 ท่านอนาคาริกก็ได้ได้มรณภาพ
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทางบัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
นะครับ ขอบพระคุณมากครับ
แม้ท่านอนาคาริกจะไม่ได้เห็นเจดีย์พุทธคยากลับมาเป็นของชาวพุทธด้วยตาตนเอง แต่ในปีพ.ศ. 2499 ผลจากการรณรงค์ เรียกร้องตลอดชีวิตของท่านก็ได้ทำให้รัฐบาลของรัฐพิหารได้ผ่านพระราชบัญญัติวิหารพุทธคยาซึ่งให้ส่วนหนึ่งอยู่ในการดูแลของชาวพุทธ มีกรรมการ 4 คนเป็นชาวพุทธและ 4 คนเป็นชาวฮินดู มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน นอกจากเจดีย์พุทธคยาแล้วพุทธศาสนสถานแห่งอื่นๆ ในประเทศอินเดียก็พลอยได้รับการบูรณะฟื้นฟูด้วย
โฆษณา