8 พ.ค. 2020 เวลา 00:49 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Microlaterolog Time machine to Resistivity log EP2
เราได้รู้จัก microlog ไปกันแล้วนะครับ microlog ไม่มีอะไรมากไปกว่าขั้วไฟฟ้า 3 ขั้วแปะอยู่ผนังหลุม ติดกับ mud cake
ทบทวนแบบไวไวควิก … ขั้วหนึ่งปล่อยกระแสไฟฟ้าออกไป แล้วใช้อีก 2 ขั้ว วัดความต่างศักย์ไฟฟ้า จบแค่นั้น ดูภาพเอาล่ะกันครับ อารมณ์นี้
Microlog simplified circuit
microlog เป็น 1 ในครอบครัวที่เรียกว่า microresistivity ครอบครัวนี้มีสมาชิก 5 คน ดังนี้ครับ
Microlog
Microlaterolog
Proximity log
Microcylendricle log
Microspherericle log
จะเห็นว่า กระแสไฟฟ้าที่วิ่งเข้าไปในชั้นหินของ microlog นั้น จะวิ่งแบบสะเปะสะป่ะ อยากไปไหนก็ไป (ก็คือไปที่ที่ความต้านทานน้อยนั่นแหละ) นั่นคือข้อเสียของ microlog เพราะถ้าความต้านทานของ invaded zone – Rxo (ที่เราต้องการวัด) มันดันมากกว่า ความต้านทานของ mud cake – Rmc กระแสไฟฟ้ามันก็ไหลผ่าน mud cake หมดดิ เราก็วัด Rxo ไม่ได้
ดังนั้นเราจึงพัฒนาวิธีที่จะผลักกระแสไฟฟ้าเข้าไปให้ถึง invaded zone ให้ได้ เพื่อจะได้วัด Rxo
วันนี้เราจะมารู้จักสมาชิกคนที่สองกันครับ เขาชื่อว่า microlaterolog
microlaterolog มีความสามารถที่จะผลักกระแสไฟฟ้าเข้าไปใน invaded zone ได้ครับ มาดูกันว่าเราทำได้ไง
เรามีขั้วไฟฟ้า 4 ขั้วครับ เรียงกันแบบนี้
A1
M2
M1
A0
กระแสไฟฟ้าหลักที่เราใช้วัด (measured current) ออกจากขั้ว A0 เรียกว่า I0
กระแสไฟฟ้าที่ใช้ผลักกระแสไฟฟ้าหลัก (bucking currect) ที่เราใช้วัดออกจากขั้ว A1 เรียกว่า I1
เราใช้วงจรอิเลคทรอนิกส์ควบคุมปริมาณ .... อ่านต่อ ... https://nongferndaddy.com/microlaterolog/

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา