9 พ.ค. 2020 เวลา 01:53 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Proximity log
ย้อนเวลาหาอดีต Time machine to Resistivity log EP3
เท้าความนิด ปัญหาเดิมที่เราทิ้งค้างไว้ตอนภาคจบของ microlaterolog นั้นคือ ความหนาของ mud cake ถ้ามันหนามากๆ ผิวพนังหลุมมันขรุขระมากๆ และ ความต้านทานไฟฟ้าของ invaded zone สูงกว่าของ mud cake มากๆ (Rxo >>> Rmc)
กระแสไฟฟ้าที่ส่งออกไปจาก A0 ไม่สามารถเข้าไปลึกได้ขนาดนั้น เพราะ
1. กระแสไฟฟ้าจะไหลเบี่ยงผ่าน mud cake หมด (Rxo >>> Rmc)
2. ยิ่งถ้าผนังหลุมขรุขระด้วยแล้ว ยิ่งไปกันใหญ้ กระแสจาก A0 แทบไปไม่ถึง invaded zone เลย
3. แถมอีกเด้ง mud cake หนาอีกล่ะ กระแสจาก A0 แทบไปไม่ถึง invaded zone เลยเหมือนกัน
ถ้าสามปัจจัยข้างต้นประกอบกัน ยิ่งไปกันใหญ่
ไปดูภาพจำลองของ microlaterolog กันหน่อยว่า เป็นอย่างไร ก่อนจะไปดูว่าแก้ปัญหาชีวิตนี้ได้อย่างไร
microlaterolog simple diagram
Electrode array
เห็นป่ะ ขั้วไฟฟ้าเยอะเกิ้น แถมกระแสที่ใช้ผลัก (bucking current) ที่ออกมาจาก A1 ก็เล็กนิดเดียว (ก็เพราะขั้ว A1 มันนิดเดียว เป็นโลหะวงแหวนเล็กๆบางเฉียบ)
แถมช่องว่างระหว่าง A0 กับ A1 ก็เยอะ เพราะมีขั้ว M1 กับ M2 แทรกอยู่ กระแส A1 ก็ผลัก กระแส A0 ได้ไม่เต็มเหนี่ยวนัก
ก่อนไปกันต่อ เตือนกันนิดนุงว่า ในครอบครัว microresistivity เรามาถึงน้องคนที่ 3 แล้วนะครับ
Microlog
Microlaterolog
Proximity log
Microspherericle log
Microcylendricle log
วิธีแก้เราก็ง่ายนิดเดียวครับ
1. เรายุบ M1 ไปรวมไว้กับ A0 ซะ เท่านี้เราก็ลดช่องว่างระหว่า A0 กับ A1 ได้แล้ว จริงป่ะ
2. อยากให้กระแส A1 เยอะๆ เราก็ ... อ่านต่อ ... https://nongferndaddy.com/proximity-log/

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา