10 พ.ค. 2020 เวลา 03:07 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
MSFL log
ย้อนเวลาหาอดีต Time machine to Resistivity log EP4
เรามาถึงวิวัฒนาการขั้นที่ 4 แล้วครับในตระกูลนี้
Microresistivity
Microlog
Microlaterolog
Proximity log
Microspherericle log
Microcylendricle log
โลกรู้จัก Microlog เมื่อราวๆปี 1948 แต่ที่ผมรู้จักและเอามาเล่าให้ฟังเป็นตุเป็นตะนั้น ไม่ใช่ว่าผมเกิดทันใช้งาน microlog หรอกนะครับ เดี๋ยวจะแก่เกิ้น 555 ผมแก่จริง แต่ไม่ได้แก่ขนาดน้านนน
ปีที่ผมเริ่มทำงานเป็น wireline field engineer นั้น (1989) เป็นท้ายๆยุค proximity log แล้วครับ ผมมีโอกาสได้ใช้อยู่ 2 – 3 ครั้งเท่านั้น เครื่องมือวัด Rxo ที่เป็นมาตราฐานในตอนนั้นคือ MSFL ที่ผมกำลังจะเล่าให้ฟังนี่แหละครับ
ก่อนไปรู้จัก MSFL เราไปทบทวนของเก่ากันนิดหน่อยก่อนนะ
microlog – กระแสที่ใช้วัด (survey current หรือ measured current) ไหลไม่มีทิศทาง ควบคุมไม่ได้
microlaterolog – มีการควบคุมทิศทางกระแสที่ใช้วัด แต่ผลักเข้าไปได้ไม่ลึก เนื่องจาก ขั้วไฟฟ้าเล็ก กระแสที่ใช้ผลัก (bucking/ guarding current) ไม่เยอะ และ ช่องว่างระหว่างกระแสวัดและกระแสผลักเยอะ
Proximity log – พัฒนาต่อ ขั้วกระแสที่ใช้ผลักใหญ่ขึ้น กระแสผลักก็เยอะขึ้น กระชับพื้นที่ กระแสผลักกับกระแสวัดใกล้กันมากขึ้น (เอาขั้วไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นออกไป)
แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง microlog microlaterolog และ proximity log ก็ยังวัด Rmc (ความต้านทานไฟฟ้าของ mud cake) พ่วงเข้ามาด้วยเสมอ ตามรูปข้างล่างนี้ครับ
อ่านต่อ ... https://nongferndaddy.com/msfl/

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา