Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้ by SpokeDark
•
ติดตาม
12 พ.ค. 2020 เวลา 04:30 • ประวัติศาสตร์
‘อันโตนี ฟาน เลเวินฮุก’ บิดาแห่งจุลชีววิทยาและผู้ค้นพบแบคทีเรียเป็นคนแรก
หากเอ่ยถึงนักวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 17 ที่ไม่ได้ร่ำเรียนมาทางด้านวิทยาศาสตร์เลย แต่สามารถพัฒนาความสามารถจนก้าวขึ้นมามีชื่อเสียงระดับโลกได้ คงเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากเขาคนนี้
WIKIPEDIA PD
‘อันโตนี ฟาน เลเวินฮุก’ (Antonie van Leeuwenhoek) นักวิทยาศาสตร์ระดับปรมาจารย์ชาวดัตช์ เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1632 ที่เมืองเดลฟต์ (Delft) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ครอบครัวของเขามีฐานะยากจน พ่อเสียชีวิตตั้งแต่เขายังเด็ก ทำให้แม่ต้องเลี้ยงดูครอบครัวเพียงลำพัง และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้เขาไม่ได้รับการศึกษาที่ดีนัก เลเวินฮุกจึงไปอาศัยอยู่กับลุงซึ่งเป็นนักกฎหมาย ลุงของเขาช่วยสอนวิชาเลขขั้นพื้นฐานและสอนหนังสือจนอ่านออกเขียนได้
เมื่ออายุ 16 ปี เลเวินฮุกออกเดินทางไปหางานทำที่เมืองอัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ และได้งานที่ร้านขายผ้าแห่งหนึ่งในตำแหน่งเด็กฝึกงาน เขาเรียนรู้ได้ไวและทำงานได้ดีจนได้เลื่อนขั้นเป็นผู้ดูแลบัญชี และที่ร้านขายผ้าแห่งนี้นี่เองที่ทำให้เขาได้รู้จักกับ ‘ไข่มุกแก้ว’ (Glass Pearl) ที่ถูกใช้เป็นแว่นขยายสำหรับตรวจสอบคุณภาพของเนื้อผ้า และของสิ่งนี้ได้กลายมาเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เขาสามารถสร้างผลงานทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมาจนคนทั้งโลกต้องตะลึง
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
หลังจากทำงานที่ร้านขายผ้าได้ 5 ปี เขาก็ลาออกแล้วเดินทางกลับไปที่เมืองเดลฟต์เพื่อเปิดร้านขายผ้าของตนเอง ด้วยประสบการณ์ที่มีบวกกับความมุมานะ เพียงไม่กี่ปีร้านขายผ้าของเลเวินฮุกก็ประสบความสำเร็จ และตัวเขาเองยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลการค้า ผู้จัดการที่ประชุมสภา และตำแหน่งสำคัญอื่นๆ ของเมืองเดลฟต์อีกด้วย
WIKIPEDIA PD
ในปี ค.ศ. 1668 เลเวินฮุกได้เดินทางไปประเทศอังกฤษและมีโอกาสได้อ่านงานวิจัยของ ‘โรเบิร์ต ฮุค’ (Robert Hooke) ชื่อว่า ‘Micrographia’ เป็นงานวิจัยที่รวบรวมภาพขยายของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มองผ่านกล้องจุลทรรศน์ และในงานวิจัยชิ้นนี้ยังได้อธิบายวิธีสร้างเลนส์ทรงกลมสำหรับขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งนั่นก็ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับเลเวินฮุกเป็นอย่างมาก เพราะเลนส์ทรงกลมมีกรรมวิธีการผลิตและใช้งานได้คล้ายกับไข่มุกแก้วที่เขาใช้ส่องเพื่อตรวจสอบคุณภาพผ้า หลังกลับจากอังกฤษเขาจึงคิดพัฒนาเลนส์ทรงกลมขึ้นเพื่อเอาไว้ใช้งานเอง จนในที่สุดเขาก็สามารถสร้างเลนส์ทรงกลมที่มีกำลังขยายมากถึง 300 เท่าเลยทีเดียว
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ไม่เพียงเท่านั้นเขายังนำเลนส์ทรงกลมมาประกอบกับกล้องจุลทรรศน์ที่สร้างขึ้นเองเพื่อเอาไว้ใช้ส่องดูสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กรอบๆ ตัว และแม้ว่าเขาจะไม่เคยร่ำเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ขั้นสูงที่ไหนมาก่อนเลย แต่เขาก็สามารถจดบันทึกและวาดภาพสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่พบเอาไว้ได้อย่างละเอียด จนในที่สุดเมื่อปี ค.ศ. 1674 เขาก็ค้นพบสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าได้ ปัจจุบันสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่เลเวินฮุกพบถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มโพรทิสต์ (Protist) ในปีเดียวกันนั้นเองเขายังค้นพบเซลล์เม็ดเลือดแดงและยังสามารถระบุขนาดของเซลล์ได้อย่างแม่นยำอย่างที่ไม่เคยมีนักวิทยาศาสตร์คนไหนทำได้มาก่อน
WIKIPEDIA PD
ในปี ค.ศ. 1676 เลวานฮุคยังค้นพบแบคทีเรีย ซึ่งต่อมามีการวิจัยพบว่า เชื้อแบคทีเรียที่พบคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้คนป่วยเป็นโรคมาลาเรียและโรคบิดที่เกิดจากอะมีบา ถือเป็นผลงานชิ้นเอกของเลเวินฮุกและเป็นการค้นพบครั้งสำคัญของวงการวิทยาศาสตร์ในยุคนั้นเลยก็ว่าได้
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
นอกจากนั้นในปี ค.ศ. 1677 เลวานฮุกก็ได้ค้นพบตัวอสุจิที่อยู่ในมนุษย์ สุนัข แมลง และเขายังเป็นคนแรกที่สามารถอธิบายเส้นเลือดฝอยของกล้ามเนื้อได้อย่างละเอียดอีกด้วย
WIKIPEDIA PD
ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ ‘อันโตนี ฟาน เลเวินฮุก’ ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กผ่านกล้องจุลทรรศน์ที่ผลิตขึ้นเองนั้น เขาได้เขียนจดหมายรายงานการค้นพบกว่า 200 ฉบับ ไปยังราชสมาคมแห่งลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสถาบันทางวิทยาศาสตร์ที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้น ทางราชสมาคมลอนดอนได้ตีพิมพ์รายงานการค้นพบของเลวานฮุคลงในวารสาร Philosophical Transactions และเผยแพร่ไปทั่วโลก ทำให้ ‘อันโตนี ฟาน เลเวินฮุก’ มีชื่อเสียงโด่งดังและยังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกอันทรงเกียรติของราชสมาคมลอนดอนอีกด้วย
ผู้คนต่างยกย่องให้ ‘อันโตนี ฟาน เลเวินฮุก’ เป็น ‘บิดาแห่งจุลชีววิทยา’ เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก เลเวินฮุกเสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1723 ด้วยวัย 90 ปี
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
3 บันทึก
20
1
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
บุคคลในประวัติศาสตร์โลก
อวกาศ วิทยาศาสตร์ การค้นพบ
3
20
1
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย