15 พ.ค. 2020 เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์
เธอคือตำนาน! 'แมรี เมลลอน' Super-Spreader ในประวัติศาสตร์ที่โลกต้องจารึก
WIKIPEDIA PD
หนึ่งในคำศัพท์ที่เรามักจะได้ยินกันบ่อย ๆ ในช่วงนี้คือคำว่า Super-Spreader ซึ่งหมายถึง คนที่มีความสามารถในการแพร่โรคไปยังบุคคลอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก โดยในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ก็มีหนึ่งใน Super-Spreader ที่ถือว่าเป็นตำนานถูกกล่าวขานกันมาจนถึงปัจจุบัน นั่นก็คือ แมรี เมลลอน ดังนั้นวันนี้เราจะมาเปิดแฟ้มประวัติของเธอผู้นี้ ว่าทำไมถึงถูกกล่าวขานให้เป็นหนึ่งในตำนาน Super-Spreader ของโลก
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
โรคไข้ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งมีชื่อว่า Salmonella typhi ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ มักระบาดในชุมชนแออัด หรือแหล่งอาศัยของคนยากคนจน โดยในปี ค.ศ. 1906 ครอบครัวของ Charles Henry Warren ซึ่งเป็นครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย ได้เดินทางไปพักร้อนที่ Oyster Bay ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้เช่าบ้านพักตากอากาศ และได้จ้างคนรับใช้ คนสวน รวมทั้งแม่ครัวไว้คอยรับใช้ในขณะที่มาพักร้อน
ในระหว่างที่พักร้อนอยู่นั้น ลูกสาวของ Charles Henry Warren ก็เริ่มป่วย โดยสมาชิก 11 คนจากครอบครัวนี้ก็ถูกส่งเข้าโรงพยาบาลด้วยโรคไข้ไทฟอยด์ทั้งหมด George Thompson เจ้าของบ้านพักตากอากาศที่ Charles Henry Warren เช่าอยู่ จึงได้จ้าง George Soper นักวิจัยด้านการสืบหาโรค เพื่อให้มาหาต้นตอของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านหลังนี้
WIKIPEDIA PD
หลังจากที่ George Soper มาตรวจสอบภายในบ้านพักตากอากาศหลังนี้อย่างละเอียด พร้อมกับเรียกทุกคนมาสัมภาษณ์ ก็ทำให้พบว่าหนึ่งในลูกจ้างที่เคยทำงานให้กับบ้านหลังนี้หายไป นั่นก็คือ แมรี เมลลอน แม่ครัวชาวไอริช โดยเธอได้เดินทางมาทำงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา George Soper จึงได้ออกตามสืบเพื่อหาตัว แมรี เมลลอน ไปเรื่อย ๆ โดยตามสืบจากคนในครอบครัวที่แมรี เมลลอนไปทำงานเป็นแม่บ้านให้ ซึ่งคนในครอบครัวที่แมรี เมลลอนไปทำงานให้ มีคนติดไข้ไทฟอยด์กว่า 20 คน
หลังจากนั้น 6 เดือน มีข่าวการระบาดของโรคไข้ไทฟอยด์อีกครั้งในย่าน Park Avenue ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของคนรวย George Soper จึงได้เดินทางไปที่นั่น และได้พบกับคนที่เขาตามหามาตลอด นั่นก็คือ แมรี เมลลอน นั่นเอง เพื่อพิสูจน์หาความจริง George Soper ได้เข้าไปขอปัสสาวะและอุจจาระของ แมรี เมลลอน เพื่อจะมาตรวจหาคำตอบเกี่ยวกับการเป็นพาหะนำโรค แต่แมรี เมลลอน ไม่ยอมให้ เพราะเธอคิดว่า George Soper กำลังดูถูกว่าเธอเป็นตัวเชื้อโรค
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
George Soper ไม่ละความพยายาม โดยหลังจากนั้นเขาก็ได้เดินทางไปหา แมรี เมลอนอีกครั้ง เพื่อขอปัสสาวะและอุจจาระมาตรวจ และในที่สุดก็จับตัวแมรี เมลลอน ได้ด้วยความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดย แมรี เมลลอน ถูกนำไปตรวจเพื่อหาเชื้อไข้ไทฟอยด์ถึง 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ยังตรวจไม่พบเชื้อ แต่ครั้งที่ 3 ก็พบว่ามีเชื้อไข้ไทฟรอยด์อยู่ในตัวแมรี เมลอนจริง ๆ โดยเธอถูกบันทึกให้เป็นพาหนะนำโรคไข้ไทฟอยด์คนแรกที่ไม่แสดงอาการ ที่ถูกพบในประเทศสหรัฐอเมริกา
หลังจากที่ตรวจพบเชื้อไข้ไทฟอยด์ในตัว แมรี เมลลอน เธอก็ถูกกักตัวอยู่ที่โรงพยาบาล Riverside บนเกาะ North Brother island เพื่อกักกันโรค เนื่องจากในสมัยนั้นโรคไข้ไทฟอยด์ยังไม่มีวิธีการรักษา ซึ่งระหว่างที่แมรี เมลลอนถูกกักกันโรค เธอได้เขียนจดหมายเพื่อขอความช่วยเหลือให้ปล่อยตัวเธอตลอด เพราะเธอไม่เข้าใจว่าตัวเธอทำอะไรผิด เธอถึงต้องถูกกักตัวแบบนี้
WIKIPEDIA CC PERCHERIE
ในปี 1909 หลังจากที่พยายามเขียนจดหมายไปขอความช่วยเหลือจากสื่อมากมาย แมรี เมลลอน ก็ถูกสื่อในอเมริกาตั้งฉายาให้ว่า Typhoid Mary ทำให้แมรีกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นจากฉายานี้ โดยในปี 1910 หลังจากที่แมรี เมลลอนถูกกักตัวเป็นเวลา 3 ปี เธอก็ถูกปล่อยตัวออกมา เนื่องจากมีการเปลี่ยนนโยบายของศูนย์กักตัวที่เธออยู่ โดยมีข้อแม้ว่าแมรี เมลลอนจะต้องไม่เป็นแม่ครัวตลอดชีวิต
หลังจากแมรี เมลลอน ถูกปล่อยตัวออกมาได้ 5 ปี ก็มีการระบาดของโรคไข้ไทฟอยด์ขึ้นมาอีกครั้ง ภายในโรงพยาบาล Sloane Maternity โดยมีผู้ติดโรคถึง 25 คน โรงพยาบาลแห่งนี้จึงได้ไปจ้างนักวิจัยด้านการสืบหาโรค เพื่อมาหาต้นตอของการระบาดของไข้ไทฟอยด์ภายในโรงพยาบาล โดยคนที่โรงพยาบาลจ้างมาคือ George Soper นั่นเอง
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
George Soper ได้เดินทางมาที่โรงพยาบาลเพื่อหาหลักฐานของการระบาด และได้พบกับแม่ครัวคนหนึ่ง ซึ่งก็คือ แมรี เมลลอน ที่ในตอนนั้นเธอได้เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น แมรี บราวน์ ดังนั้น George Soper รู้ถึงสาเหตุของการระบาดของโรคไข้ไทฟอยด์ภายในโรงพยาบาลแห่งนี้ได้ทันที ว่าเกิดจากการที่แมรี เมลลอน มาทำงานเป็นแม่ครัวอยู่ที่โรงพยาบาลแห่งนี้ โดยมีคนติดโรคไข้ไทฟอยด์จากแมรี เมลลอน ทั้งสิ้น 51 คน โดยมีผู้เสียชีวิตถึง 3 คน
แมรี เมลลอน ถูกจับไปที่สถานกักกันโรคอีกครั้ง โดยเธออยู่ที่นั่นจนเสียชีวิตในปี 1938 รวมเวลาที่แมรี เมลลอน ใช้ชีวิตอยู่ในสถานกักกันโรคครั้งที่ 2 นี้ทั้งสิ้น 23 ปี
โฆษณา