15 พ.ค. 2020 เวลา 13:20
"ฉันรักษาบ้านเมืองให้สุขสมบูรณ์ไม่ได้ อย่าให้ฉันใช้สมบัติของท่านเลย”
รัชกาลที่ 7 ทรงเสียพระทัย รับสั่งด้วยพระสุรเสียงแตกพร่า ให้นำเครื่องทรงจำลองและพระแท่นมนังคศิลาบาตรจำลองมาใช้แทน ในวันเตรียมการก่อนเปิดสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
“เจ้าคุณอย่าเอาพระสังวาลของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ มาให้ฉันใส่นะ เอาเส้นจำลองก็แล้วกัน”
รับสั่งแล้วก็ทรงนิ่งไปพักหนึ่ง รู้สึกว่าพระสุรเสียงแตกพร่าผิดปกติ สักครู่จึงรับสั่งต่อไปอีก
“แล้วก็พระแท่นมนังคศิลาของพ่อขุนรามคำแหงฯ ก็เหมือนกัน ให้เอาที่จำลอง” พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งกับเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์เสนาบดีกระทรวงวัง ผู้มีหน้าที่ตระเตรียมงานพระราชพิธีดังกล่าว
เครื่องบรมขัตติยราชวราภรณ์ และเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ภาพจาก: https://www.silpa-mag.com/history/article_32352
พระแท่นมนังคศิลา ภาพจาก: https://readthecloud.co/walk-4/
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยในหลายด้าน แต่การปฏิรูปรัฐธรรมนูญกลับเป็นไปอย่างเชื่องช้าซึ่งสร้างความไม่พอใจในหมู่พวกหัวก้าวหน้าและเสรีนิยม
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระเชษฐาเป็นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระองค์ทรงสืบช่วงปกครองประเทศ ในช่วงมีวิกฤตการณ์ โดยสถานะของประเทศในช่วงนั้นถือว่าเกือบจะล้มละลาย
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับพระราชบัลลังก์ พร้อมด้วยราชบริพาร เชิญเครื่องราชูปโภค (ภาพจาก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ โดย คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด https://oer.learn.in.th/)
ก่อนเหตุการณ์การปฏิวัติสยามจะเริ่มขึ้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ปวงชนชาวไทยก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง หากเห็นได้จากพระราชกรณียกิจที่ผ่านมาของพระองค์ตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ดังนี้
พ.ศ. 2469 มีหลักฐานถึงพระราชปุจฉา 9 ข้อ ที่ทรงบันทึกพระราชทานไปยังพระยากัลยาณไมตรี (ดร. ฟรานซิส ปีแซย์) ทรงขอ
คำปรึกษาว่า ไทยควรจะมีรัฐธรรมนูญการปกครองในรูปแบบใด และถึงเวลาสมควรหรือยังที่ไทยจะเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นประชาธิปไตย
เพื่อเตรียมปูพื้นฐานเพื่อมอบอำนาจการปกครองให้แก่ปวงชนชาวไทย พระองค์ทรงเร่งและดำริหลายอย่าง ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จฯเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ให้ทำการดำเนินจัดการเกี่ยวกับระบบประชาภิบาล (หรือเทศบาลในสมัยต่อมา) ให้ได้รู้จักใช้สิทธิในการออกเสียงควบคุมการบริหารท้องถิ่นและเป็นการทดลองให้
ประชาชนในท้องถิ่นได้ปกครองตนเอง
พระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ
ใน พ.ศ. 2474 ขณะเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกาและแคนาดา พระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทมส์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2474 ที่กรุงวอชิงตันแสดงพระราชประสงค์ที่จะทรงจำกัดพระราชอำนาจของพระองค์และพระราชทานอำนาจนั้นแก่ราษฎรในการปกครองประเทศ โดยจัดในรูปแบบเทศบาลขึ้นก่อน
เพื่อเป็นฐานก้าวไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในโอกาสภายหน้า
แต่ก็มีมุมมองอีกฝ่ายหนึ่งที่ว่า พระองค์ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งที่สื่อว่าพระองค์ไม่โปรด "ประชาธิปไตย"
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยทีละน้อยตามลำดับเรื่อยมาควบคู่ไปกับการ
สนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปได้รับการศึกษา เพื่อจะได้รู้จักหน้าที่ของตน
เพราะถ้าระบอบการปกครองของประเทศเปลี่ยนไป พระองค์ทรงดำริดำเนินการแบบค่อยเพาะค่อยบ่ม เพื่อให้ได้รับผลที่สมบูรณ์และงดงามที่สุด
พระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ
แต่หลายเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้น เช่น สถานการณ์โลกหนักหนาเกินกว่าประเทศจะรับได้ เมื่อตลาดหุ้นวอลล์สตรีทล่มและความล่มสลายทางเศรษฐกิจก็มาถึงสยาม
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสนอให้จัดเก็บภาษีรายได้ทั่วไปและภาษีอสังหาริมทรัพย์เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของคนยากจน แต่นโยบายดังกล่าวถูกสภาปฏิเสธอย่างรุนแรง
ซึ่งสภาเกรงว่าทรัพย์สินของพวกตนจะลดลง สภาหันไปลดค่าตอบแทนของข้าราชการพลเรือนและลดงบประมาณทางทหารแทน ทำให้อภิชนผู้ได้รับการศึกษาในประเทศส่วนใหญ่โกรธ
เมื่อคณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น พระองค์มิได้ทรงแปลกหรือตกพระทัยเลย เพราะทรงคาดการณ์อยู่แล้ว แต่ทรงเสียดายเพียงผลที่ได้รับจะไม่งดงามและสมบูรณ์ดังเช่นที่ทรงหวังไว้
วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้พระองค์ทรงเสียพระทัยมาก คือ คำประกาศของคณะราษฎร ถึงเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งถือเอา
เรื่องความประพฤติและการปฏิบัติตนไม่สมควรบางอย่างของพวกเจ้าเป็นเหตุผลสำคัญ จึงทำให้ถือเป็นการเสื่อมเสียพระเกียรติยศของบูรพกษัตริย์
และเมื่อคณะราษฎรอัญเชิญเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น
1
ทรงเปรียบการกระทำนี้ของคณะราษฎร ดั่งว่า
“เหมือนเอาผ้ามาจะทำธง แล้วเอามาเหยียบย่ำเสียให้เปรอะเปื้อน แล้วจะเอาขึ้นมาชักเป็นธงจะเป็นเกียรติยศงดงามแก่ชาติหรือ”
วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
แต่เพื่อความสงบของบ้านเมืองและความสุขของราษฎร เพื่อช่วยให้เสถียรภาพของรัฐบาลมั่นคงเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ
จึงทรงยินยอมที่จะดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในระบอบประชาธิปไตย โดยทรงพระราชดำริว่า เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้วก็จะทรงสละราชสมบัติ
1
หากกล่าวถึงความเสียพระทัยที่เกิดขึ้นของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มิอาจนำความสุขความเจริญมาแก่ประเทศได้ จึงเป็นที่มาของพระราชดำริและพระราชดำรัสรับสั่งไม่ควรจะนำสิ่งอันเป็นมงคลยิ่งของบูรพกษัตริย์มาใช้ ควรใช้เพียงแค่ของจำลองเท่านั้น ดั่งคำตรัสที่ว่า
1
“สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ก็ดี พ่อขุนรามคำแหงฯ ก็ดี ท่านเป็นพระมหากษัตริย์ที่สร้างความสุขสมบูรณ์แก่บ้านเมือง ฉันรักษาบ้าน
เมืองให้สุขสมบูรณ์ไม่ได้ อย่าให้ฉันใช้สมบัติของท่านเลย”
หลังจากที่พระองค์ทรงสละราชสมบัติแล้ว พระองค์ประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ แต่พระองค์ทรงพระประชวรบ่อยครั้ง โดย พ.ศ. 2480 พระองค์ทรงพระประชวรด้วยโรคตัวบิดเข้าไปอยู่ในพระยกนะ (ตับ)
แต่แพทย์ได้รักษาจนเป็นปกติ ต่อมาพระอาการประชวรของพระองค์กำเริบหนักขึ้นโดยลำดับตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2483 แต่ก็เริ่มทุเลาขึ้นเรื่อยมา
กระทั่งวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 พระองค์เสด็จสวรรคตโดยฉับพลันด้วยพระหทัยวาย ขณะที่มีพระชนมพรรษา 48 พรรษา
และในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับสู่ประเทศไทย เพื่ออัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ร่วมกับสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าในพระบรมมหาราชวัง
1
รัชกาลที่ 7
และนี่คือเรื่องราวนอกประวัติศาสตร์อีกมุมหนึ่ง ที่หลายท่านอาจไม่รู้ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเสียพระทัยที่มิอาจนำความสุขความเจริญมาแก่ปวงชนและประเทศได้
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามให้กำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
🙏ขออภัยหากข้อมูลมีการผิดพลาด🙏
อ้างอิง:
หนังสือ: วาทะเล่าประวัติศาสตร์ โดย ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย
โฆษณา