17 พ.ค. 2020 เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์
ย้อนอดีต 'Operation Just Cause' เมื่อสหรัฐฯ บุกปานามาเพื่อทลายแหล่งผลิตยาเสพติด
WIKIPEDIA PD
ย้อนกลับไปในช่วงปลายเดือนธันวาคม 1989 กองทัพสหรัฐฯ ได้ทำการรุกรานปานามา ซึ่งปฏิบัติการทางทหารในครั้งนั้นถูกเรียกว่า ‘Operation Just Cause’ ที่เป็นการตัดสินใจของประธานาธิบดี จอร์จ บุช เพื่อโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการของนายพล มานูเอล โนรีเอกา ผู้อยู่เบื้องหลังการฟอกเงินของแก๊งค้ายาเสพติดที่ลักลอบส่งมาขายทำเงินในสหรัฐอเมริกา
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ย้อนกลับไปในปี 1977 รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดี จิมมี คาร์เตอร์ ได้ทำสนธิสัญญา ‘Torrijos-Carter Treaties’ กับปานามา ที่ว่าด้วยการควบคุมดูแลคลองปานามาที่รัฐบาลสหรัฐฯ มีผลประโยชน์ร่วมด้วย โดยมีนายพล มานูเอล โนรีเอกา ผู้นำของปานาในยุคต่อมาที่มีความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ เพื่อคานอำนาจของฝ่ายสหภาพโซเวียตในอเมริกากลาง
แม้จะมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลสหรัฐฯ แต่นายพลโนรีเอกานั้นมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องทุจริตการฟอกเงินที่ได้มาจากการลักลอบส่งยาเสพติดไปขายที่สหรัฐ ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 ประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน ของสหรัฐฯ กล่าวหาว่านายพลโนรีกามีส่วนเกี่ยวข้องในคดีฟอกเงินจากการค้ายาเสพติด จนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนายพลโนรีเอกาและสหรัฐฯ ย่ำแย่ลง ก่อนที่นายพลโนรีเอกาจะปันใจจากสหรัฐฯ ไปคบหากับฝ่ายสหภาพโซเวียต พร้อมกับเปิดรับความช่วยเหลือทางทหารจากคิวบา นิการากัว และลิเบีย ที่ล้วนเป็นศัตรูของสหรัฐฯ ในเวลานั้น
WIKIPEDIA PD
แน่นอนว่าสหรัฐฯ ไม่สามารถนิ่งเฉยได้ เพราะคลองปานามานั้นเป็นเส้นทางการเดินเรือสำคัญของสหรัฐฯ ถ้าหากฝ่ายสหภาพโซเวียตได้คลองปานามาไป ความมั่นคงของชาติย่อมสั่นคลอน
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ประธานาธิบดี จอร์จ บุช ผู้นำของสหรัฐฯ ในขณะนั้นได้ประกาศว่าปานามาคือศูนย์กลางในการฟอกเงินจากการค้ายาเสพติด และเป็นจุดผ่านแดนระหว่างแก๊งค้ายาเสพติดจากสหรัฐฯ ไปยังทวีปยุโรป สหรัฐฯ จึงมีความจำเป็นต้องประกาศสงคราม เพื่อปกป้องชีวิตพลเมืองสหรัฐฯ ราว 35,000 คน ที่อาศัยอยู่ในประเทศปานามา และเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยของปานามา
WIKIPEDIA PD
กองทัพสหรัฐฯ ได้ระดมกำลังบุกเข้าไปในปานามา พร้อมกับส่งหน่วยซีลไปสกัดเส้นทางหลบหนีของนายพลโนรีเอกาทั้งทางอากาศและทางน้ำ จนเกิดการปะทะกันระหว่างฝ่ายกองทัพสหรัฐฯ และปานามา ที่ปรากฏต่อหน้าสื่อโทรทัศน์ไปทั่วโลก ภายหลังนายพลโนรีเอกาประกาศยอมวางอาวุธในวันที่ 3 มกราคม 1990 ก่อนถูกควบคุมตัวไปสหรัฐฯ เพื่อทำการสอบสวนเพิ่มเติม
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
เพนตากอนคาดการว่ามีชาวปานามาเสียชีวิต 516 คนระหว่างการสู้รบ แต่ในบันทึกช่วยจำของกองทัพสหรัฐฯ ระบุตัวเลขชาวปานามาที่เสียชีวิตอาจสูงถึง 1,000 คน แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด ส่วนทหารสหรัฐฯ เสียชีวิตเพียง 23 นาย
WIKIPEDIA PD
ภายหลัง กิลเลอโม เอนดารา ได้ก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีของปานามาคนใหม่ เขากล่าวโทษฝ่ายสหรัฐฯ ที่เปิดฉากรุกรานปานามาจนทำให้ผู้คนเดือดร้อนและบ้านเมืองเสียหาย นอกจากนี้ ยังมีบริษัทกว่า 60 แห่ง ที่มีอาคารสำนักงานในปานามายื่นฟ้องรัฐบาลสหรัฐฯ ว่ากระทำการโดยประมาทเลินเล่อ จนทำให้ธุรกิจของพวกตนได้รับความเสียหาย เนื่องจากบริษัทประกันไม่ยอมจ่ายเงินชดเชยให้เนื่องจากภาวะสงครามไม่ได้อยู่ในข้อตกลง
ส่วนนายพลโนรีเอกาถูกตัดสินความผิดในข้อหาค้ายาเสพติดและฉ้อโกงจากศาลของสหรัฐฯ และถูกตัดสินให้จำคุก 40 ปี ก่อนถูกลดเหลือ 30 ปี ในภายหลัง
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
โฆษณา