16 พ.ค. 2020 เวลา 11:00 • ประวัติศาสตร์
ย้อนรอย! 'อุบัติการณ์คิวโจ' ความพยายามก่อรัฐประหารเพื่อขัดขวางการยอมแพ้สงครามของญี่ปุ่น
ในช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากที่ญี่ปุ่นถูกทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิมาและนางาซากิโดยกองทัพสหรัฐ องค์จักรพรรดิญี่ปุ่นต้องการให้ญี่ปุ่นยอมแพ้เพื่อยุติสงครามจนมีนายทหารกลุ่มหนึ่งที่ต้องการก่อรัฐประหารและขัดขวางการแถลงการยอมแพ้ขององค์จักรพรรดิ จนเป็นที่มาของเหตุการณ์ที่มีชื่อว่า ‘อุบัติการณ์คิวโจ’ (Kyujo Incident) ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 1945 โดยมีพันตรีเคนจิ ฮาตานากะ เป็นผู้นำการรัฐประหารพร้อมกับคณะนายทหารสัญญาบัตรในสำนักเสนาธิการและทหารรักษาพระองค์
ก่อนหน้านั้น มีความพยายามจากคณะทหารชั้นสัญญาบัตร เพื่อเกลี้ยกล่อมให้นายพล โคเรชิกะ อนามิ รัฐมนตรีกระทรวงการสงครามเห็นดีเห็นชอบด้วย แต่กลับถูกปฏิเสธกลับมา จึงทำให้คณะรัฐประหารได้ตัดสินใจกระทำการด้วยตัวเองและได้ทำการสังหารพลโททาเกชิ โมริ และพยายามปลอมแปลงคำสั่งจนสามารถยึดวังหลวงเอาไว้ได้ หลังจากนั้นก็ได้มีการควบคุมตัวจักรพรรดิฮิโรฮิโตะเอาไว้ ก่อนชักชวนหน่วยอื่นๆ ของกองทัพ และผู้บัญชาการระดับสูงในกองทัพบกมาร่วมมือกันก่อรัฐประหารในครั้งนี้ แต่เหล่าผู้บัญชาการกองทัพปฏิเสธคำเชิญและได้พยายามเกลี้ยกล่อยให้คณะรัฐประหารยอมจำนน พันตรีเคนจิ ฮาตานากะ ขอเวลาเพียง 10 นาที เพื่ออธิบายกับประชาชนว่าทำไมเขาถึงต้องก่อรัฐประหาร แต่ก็ถูกปฏิเสธกลับมาอีก
1
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
1
สุดท้าย พลเอก ชิชูอิจิ ทานากะ ผู้บัญชากองทัพภาคบูรพา ที่มีหน้าที่ดูแลเขตพื้นที่คันโต ได้เข้ามาขัดขวางและต่อว่าคณะรัฐประหารที่ทำผิดกฎหมายของประเทศ และสั่งให้คณะรัฐประหารคว้านท้องเพื่อรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้กระทำลงไป
1
เมื่อเห็นว่าแผนการที่วางไว้ล้มเหลวแล้ว พันตรีเคนจิ ฮาตานากะ และคณะรัฐประหาร ได้ตัดสินใจคว้านท้องตัวเองตายเพื่อรับผิดชอบต่อความผิดที่จนได้ก่อขึ้น และภายหลังการประกาศยุติสงครามขององค์จักรพรรดิก็ดำเนินไปตามปกติ
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
โฆษณา