Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
THE FREE SPIRIT'S STORIES
•
ติดตาม
18 พ.ค. 2020 เวลา 02:53 • ความคิดเห็น
ว่ากันไปตามภาษา (4): ฝรั่งพูดไทยได้ง่ายนิดเดียว
พูดถึงเรื่องคนไทยพูดภาษาอังกฤษแบบขำๆกันมาเยอะแล้ว ในทางกลับกันในเรื่องของภาษานั้นเรื่องจาก โครงสร้างทางภาษาหรือวัฒนธรรมหรือความเข้าใจผิดในหลายประการที่ทำให้การสื่อสารอาจผิดพลาดกันไปได้บ้าง ฝรั่งบางคนชอบศึกษาภาษาไทยด้วยตนเองก็เหมือนกับคนไทยบางครั้งที่ใช้พจนานุกรม (dictionary) แปลคำศัพท์แล้วพูดหรือเดี๋ยวนี้หลายคนก็ใช้ google หรือ Bing หรือเครื่องแปลภาษาแปลให้และผลที่ออกมานั้นก็สุดแสนจะน่างง อย่างยิ่งเพราะว่ามันไม่เป็น “ภาษามนุษย์”
มีตัวอย่างขำๆจากเพื่อนฝรั่งที่เคยทำงานด้วยกันมาเล่าสู่กันฟังสัก 2-3 เรื่อง ขอเริ่มด้วยเรื่องราวของเพื่อนชาวอเมริกันคนหนึ่งที่เรียนรู้ ภาษาไทยด้วยตัวเองโดยการพูดคุยกับไทยบ่อยๆและใช้ดิคชันนารีในการเรียนรู้คำศัพท์ เราก็กินดื่มด้วยกัน บ่อยๆก็มีการผลัดกันเลี้ยงผลัดกันจ่ายบ้างหรือแชร์กันบ้าง มีอยู่วันหนึ่งเราก็กินกันตามปกติ แต่พอถึงตอนที่ จะจ่ายเงินทุกคนก็จะเอาเงินขึ้นมาจ่าย เขาก็รีบบอกทุกคนว่า “ทุกๆคนไม่ต้อง วันนี้เลี้ยวนี้ของผม”
พวกเราก็ชะงัก “อะไรนะ” งงๆเขาพูดว่าอะไร อยู่ๆจะมาเลี้ยวไปไหน คุยๆไปคุยมาก็ “อ้อ! จริงๆแล้วก็มาจาก “Today is my turn” นั่นเองหรือในภาษาไทยเราก็จะพูดว่า “รอบนี้ผมเอง” หรือ “ รอบนี้ขอผมเลี้ยงเอง” นั่นเอง
อีกคนหนึ่งก็อยู่เมืองไทยมานานนับ 40 ปี แต่อยู่แบบต้องเดินทางไปประเทศต่างๆตลอดรวมทั้งก็เดินทาง ไปๆมาๆ ระหว่างประเทศไทยกับอเมริกา แม้จะอยู่นานขนาดนี้ก็ใช่ว่าเขาจะแตกฉานหรือพูดภาษาไทย อย่างเป็นธรรมชาติ มีคนต้องการจะเชิญให้เขาเข้ามาร่วมงานบางอย่าง เนื่องจากเขาเดินทางอยู่บ่อยๆ ก็เลยถามว่า “ตอนนี้ส่วนใหญ่คุณอยู่ที่ไหน” เขาก็ตอบว่า “ผมไปกลับ ไปกลับ อเมริกา” เพื่อนคนไทยเขาก็เลยบอกว่า “นี่ !แบบนี้ภาษาไทยเขาพูดว่า “ไปๆมาๆ” ไม่ใช่ไปกลับ ไปกลับ” (ฮา)
ยังมีเรื่องราวที่มีการฟังผิดและตีความผิดไปมากมายอันเนื่องมาจากการออกเสียงที่ภาษาไทยนั้นเป็นภาษาที่มี วรรณยุกต์ หากออกเสียงผิดกันเพียงเล็กน้อยก็มีความหมายที่แตกต่างออกไปดังที่เราก็รู้ๆกันดี เช่น มา ม้า หมา คนฟังที่เป็นฝรั่งอาจจะแยกไม่ออกเลยหรือ สวย กับซวย ก็มีความหมายที่ต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง หรือหากอยากจะเช็คว่าฝรั่งคนไหนพูดภาษาไทยชัดแล้วหรือยังก็ให้ลองพูดว่า" ใครขายไข่ไก่"ดู เพราะหากเริ่มพูดใหม่ๆเราก็จะได้ยินว่า"ไคคายไคไค"ทั้งนั้น ด้วยความที่ว่า เป็นคำที่ใกล้ๆกันแบบนี้บางทีแม้ฝรั่งที่อยู่เมืองไทยมานานแล้วบางครั้งก็ยังงงๆได้
มีตัวอย่างเรื่องราวของเพื่อนฝรั่งชาวออสซี่คนหนึ่งอยู่ประเทศไทยมานานมากพอที่จะเข้าใจภาษาไทยถึงขั้นเวลาไปประชุมกันก็ไม่ต้องใช้ล่ามแล้วแต่ก็มีบางครั้งที่มีคำศัพท์ใหม่ๆหรือคำทางวิชาการมากๆก็คงจะต้องปรับตัว หรือปรับหูด้วยเหมือนกัน
มีอยู่วันหนึ่งมีการประชุมของทางสำนักงานเกี่ยวกับเรื่องของโครงการที่จะต้องทำงานในพื้นที่ การประชุมเริ่มพูดถึงการวางแผนการทำงานที่เริ่มตั้งแต่ เป้าหมาย วิสัยทัศน์หรือ ภารกิจที่จะต้องทำ ก็ว่ากันไป ตามขั้นตอนและมีการมาแลกเปลี่ยนความเห็นกันว่าควรจะดำเนินงานอย่างไร ในขณะนั้นก็มีเจ้าหน้าที่โครงการ ก็เสนอขึ้นมาว่า “ ก่อนอื่น เราน่าจะมาพูดคุยกันเรื่อง “ปรัชญา”การทำงานขององค์กรกันก่อนดีมั้ย เพื่อว่าเราจะได้ไม่หลงทางว่าเราควรจะดำเนินงานไปในแนวไหน” ว่าแล้วทุกคนก็มีท่าทีพยักเพยิดเป็นเชิงเห็น ด้วยและเริ่มรื้อฟื้นกันในเรื่องปรัชญา (ซึ่งออกเสียงว่า ปรัด_ชะ_ยา หรือบางคนพูดไม่มีควบกล้ำเลยออกเสียงว่า ปัด_ชะ_ยา)การทำงาน
ว่าแล้วเพื่อนร่วมงานที่เป็นฝรั่งก็ถามขึ้นว่า “ไอไม่เข้าใจว่าทำไมเราต้องคุยกันเรื่อง “พัทยา” (พัด_ทะ_ยา) เราไม่ได้ทำงานที่พัทยา ไม่ใช่หรือ”
สิ้นคำถามทุกคนก็หันมามองหน้ากันไปมาแล้วก็บอกว่า “เราไม่ได้คุยกันเรื่องพัทยากันเลยนะ” ว่าแล้วก็ถึงบางอ้อ อีกครั้ง เมื่อเขาบอกว่า “ก็กำลังคุยอะไรกันที่ไอได้ยินว่า พัด ทะ ยา การทำงาน เราจะไปทำงานที่พัทยากันหรือ”
“อ้อ!” ว่าแล้วทุกคนก็ขำกลิ้งว่า “ไม่ใช่เรากำลังพูดถึง working philosophy คือ ปรัชญาการทำงาน ไม่ได้พูดว่าพัทยา ไม่ได้จะทำงานที่พัทยา” ก็เป็นอันว่าหายสงสัยกันไป หึหึ
อีกตัวอย่างหนึ่ง มีการประชุมของเครือข่ายการทำงานที่มีหลายๆองค์กรมาประชุมกันเพื่อแก้ปัญหา บางอย่างยกตัวอย่างว่า การเข้าถึงบริการสุขภาพของกลุ่มคนที่เป็นแรงงานข้ามชาติหรือกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ไม่มีบัตรประชาชนไทย มีคนเสนอว่าเราต้องหาก่อนว่าปัจจุบันมี “กลไก”อะไรบ้างที่เราจะสามารถนำมาใช้ ประโยชน์ได้หรือไม่เช่นนั้นต้องคิดหากลไลที่จะอำนวยความสะดวกให้เราสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ หลังจากที่คุยกันไปได้สักระยะหนึ่ง มีเพื่อนร่วมงานฝรั่งถึงโดยปกติแล้วก็สื่อสารภาษาไทยได้ดีมากๆ แต่วันนี้ดู ว่าจะอดรนทนไม่ไหวงงๆกับสิ่งที่ที่ประชุมกำลังแลกเปลี่ยนกัน ก็เลยถามขึ้นว่า “ก้นไก่” มาเกี่ยวอะไรกับ การแก้ปัญหาเพื่อให้คนเข้าถึงบริการสุขภาพด้วย ทำไมถึงพูดถึง “ก้นไก่” กัน
ทุกคนหยุดพูดพร้อมกับหัวเราะและบอกว่า “ เอ้ย.. เราไม่พูดถึงก้นไก่ เรากำลังพูดถึงกลไก หมายถึง machanism น่ะ” ฝรั่งก็บอกว่า “นั่นสิ ไอ ก็งง ว่า chicken ass มันมาเกี่ยวอะไรด้วยนะ กลไก ไม่เคยได้ยินน่ะ”
อันที่จริงคือคำว่ากลไกนั้นเป็นคำใหม่สำหรับเขาแต่เขารู้จักว่าก้นไก่ เสียงมันคล้ายๆกันแต่พอมาอยู่ในบริบทที่ กำลังพูดคุยกันอยู่นั้นมันไม่ใช่ก็เลยสร้างความมึนงงและเข้าใจผิดได้
นี่ก็อีกหนึ่งรูปแบบของปัญหาการสื่อสารเวลาที่เราฟังกันไม่ชัด เกิดได้เสมอไม่ว่ากับภาษาใดๆโดยปัญหาเหล่านี้ ก็เกิดขึ้นทั้งจากการที่ผู้ส่งสารส่งไม่ชัดและผู้รับสารรับไม่ชัดก็ล้วนเป็นได้ทั้งนั้น ทั้งนี้ยกตัวอย่างให้เห็นว่าเวลา ที่คนไทยพูดภาษาอังกฤษก็มีปัญหาแบบหนึ่งฝรั่งมาพูดไทยก็มีปัญหาแบบหนึ่งเช่นกัน แต่อาจจะไม่ใช่เฉพาะภาษาไทยกับภาษาอังกฤษเท่านั้นจะภาษาอะไรก็ตามก็เป็นปัญหาได้ทั้งนั้นหากไม่แตกฉานหรือไม่ระมัดระวังพอ//
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ว่ากันไปตามภาษา
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย