19 พ.ค. 2020 เวลา 04:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ก็กินกันจนเคย! 4 พืชยอดนิยมในเมนูนานาชาติ ที่แท้จริงแล้วมันคือ 'พืชเอเลียน'
1
123RF
ทำความรู้จักกับพืชผัก 4 ชนิดที่เรารับประทานกันจนคุ้นชิน แต่จะมีใครซักกี่คนที่รู้ว่า แท้จริงแล้วมันคือพืชเอเลียนที่มีต้นกำเนิดมาจากดินแดนอันไกลโพ้น มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง?
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
1.พริก
พริกเป็นพืชท้องถิ่นของเม็กซิโก มีหลักฐานว่าชนพื้นเมืองบริโภคพริกเป็นอาหารมาตั้งแต่ 7,000 ปีก่อน จนกระทั่งในศตวรรษที่ 15 พริกได้เริ่มแพร่กระจายไปยังภูมิภาคอื่นๆ เมื่อปีเตอร์ มาร์ทิล ลูกเรือของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสที่เดินทางสำรวจอเมริกา ได้นำพริกจากเม็กซิโกกลับไปปลูกที่สเปนจนงอกงามและเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว อีกทั้งการแพร่พันธุ์ผ่านกองเรือสินค้าจากโปรตุเกสไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ทั้งในตะวันออกกลาง อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีนที่นิยมรับประทานอาหารที่มีส่วนของเครื่องเทศซึ่งมีความจัดจ้านอยู่แล้ว กลายเป็นผู้ผลิตคิดค้นพันธุ์พริก และสร้างสรรค์เมนูจานใหม่ๆ จนกลายเป็นดินแดนแห่งพริกที่ขึ้นชื่อเรื่องรสชาติอาหารที่เผ็ดร้อนในเวลาต่อมา
123RF
2. มะละกอ
'ส้มตำ' หนึ่งในอาหารยอดนิยมของคนไทยที่โลกรู้จัก พระเอกในเมนูนี้อย่างมะละกอ เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เราคุ้นชินจนคิดว่านี่พืชประจำถิ่นไปแล้ว แต่ที่จริงแล้ว มันคือผลไม้ที่มาจากดินแดนอีกซีกโลกอย่างอเมริกากลาง และหมู่เกาะในเขตทะเลแคริบเบียน ที่แพร่กระจายไปยังดินแดนอื่นๆ ด้วยน้ำมือของชาวโปรตุเกสและสเปนที่เข้ามาติดต่อค้าขาย และทำสงครามเพื่อล่าอาณานิคมในดินแดนแถบนี้ ด้วยความที่เป็นพืชเมืองร้อน จึงไม่สามารถปลูกในยุโรปได้ แต่กลับเจริญเติบโตได้ดีในอีกซีกโลกอย่างอินเดียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่ากันว่ามีการปลูกมะละกอมาตั้งแต่สมัยอยุธยา รวมถึงดินแดนใกล้เคียงอย่าง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ต่างนำมะละกอมาทำเป็นอาหารตั้งแต่ผลยังดิบจนสุกงอมมาจนกลายเป็นเมนูที่กินกันทั่วไปในแต่ละประเทศ
1
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
123RF
3. มันฝรั่ง
มันฝรั่งเป็นพืชคาร์โบไฮเดรตที่เป็นนิยมทั้งทางฝั่งยุโรปและอเมริกา ตั้งแต่ภัตตาหารไฮโซลงมาถึงร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด แทบจะเรียกว่าเป็นสัญลักษณ์ที่อยู่คู่กับอาหารตะวันตกเลยทีเดียว แต่ต้นกำเนิดของมันฝรั่งนั้นกลับไม่ได้เกี่ยวข้องยุโรปเลยแม้แต่น้อย
มันฝรั่งเป็นพืชที่พบในที่ราบสูงของทวีปอเมริกาใต้ มีประวัติการบริโภคมาอย่างยาวนานไม่แพ้พืชพันธุ์ธัญญาหารอื่นๆ หลักฐานทางโบราณคดีได้ชี้ให้เห็นว่าชนพื้นเมืองในแถบเทือกเขาแอนดีสนำมันฝรั่งมากินเป็นอาหารตั้งแต่ 7,000-5,000 ปีก่อนคริสตกาล ในศตวรรษที่ 16 มันฝรั่งได้เข้าไปในยุโรปหลังจากที่สเปนเข้าไปยึดครองอาณาจักรอินคา แต่ในช่วงแรกชาวยุโรปกลับปลูกมันฝรั่งเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ เรียกได้ว่าถ้าไม่แร้นแค้นแสนสาหัสก็คงไม่มีวันที่จะนำมากินอย่างแน่นอน
1
123RF
จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18 มันฝรั่งเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเนื่องจากความกังวลในเรื่องภาวะการขาดแคลนอาหารจากภาวะสงครามในฝรั่งเศส จึงมีการศึกษาค้นคว้าและพบว่ามันฝรั่งเป็นพืชที่มีสารอาหารทดแทนธัญพืชได้ดี อีกทั้งมีอายุการเก็บเกี่ยวที่สั้นกว่า จึงมีการส่งเสริมให้ปลูกมันฝรั่งเพื่อเป็นอาหารอย่างเป็นรูปธรรม และนั่นเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้มันฝรั่งกลายเป็นหนึ่งในพืชสำคัญที่ขาดไม่ได้ในยุโรปตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
1
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
4. มะเขือเทศ
มะเขือเทศเป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้ในอาหารอิตาเลียน ไม่ว่าจะเอามาทำเป็นซอสพาสต้า วางอยู่บนหน้าพิซซ่า เมนูสลัด หรือเป็นเครื่องเคียงของอาหารในโลกตะวันตก แต่ใครจะเชื่อว่าเจ้าพืชสุดเฮลตี้ชนิดนี้ แท้จริงแล้วมันเป็นพืชเอเลียนที่มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้
123RF
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
มะเขือเทศแต่เดิมเป็นพืชป่าที่ขึ้นอยู่ตามที่ราบสูงอันแห้งแล้งของเทือกเขาแอนดีสและอเมริกากลาง ชาวแอซเทกถือได้ว่าเป็นคนกลุ่มแรกที่นำเจ้าพืชชนิดนี้มาเพาะปลูกเพื่อเป็นอาหาร โดยเรียกเจ้าพืชชนิดนี้ว่า 'Tomatl' จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อสเปนทำสงครามยึดครองอาณาจักรแอซเทก ได้มีการนำมะเขือเทศกลับไปปลูกที่สเปนหลังจากนั้นไม่นานมันก็แพร่กระจายไปทั่วยุโรป ยิ่งไปกว่านั้นชาวโปรตุเกสที่ค้าขายทางทะเลก็ได้นำมะเขือเทศไปแพร่ขยายยังทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในอินเดียจนเกิดเป็นเมนูใหม่ๆ ขึ้นมาอย่างมากมาย เช่นเดียวกับประเทศไทยที่รับเอาเจ้ามะเขือสีสันสดใสจากแดนไกลโดยเฉพาะทางภาคเหนือ มารังสรรค์เป็นเมนูสุดอร่อยอย่างน้ำพริกอ่อง และขนมจีนน้ำเงี้ยวนั่นเอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา