20 พ.ค. 2020 เวลา 16:30 • ธุรกิจ
4 mins Read - 4 หลักจิตวิทยา ที่เรานำมาใช้กับการตลาดได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ !
4 Psychological, What a good blend with Marketing !
ในบทความนี้ เราจะพาเพื่อนๆไปอ่านให้สนุกกับ การนำหลักจิตวิทยามาใช้กับการตลาด แล้วได้ผลที่ดีอย่างง่ายดาย :)
1. Reciprocity (หลักการของการตอบแทน)
หลักการนี้คือ ?
แน่นอนว่าเวลาเพื่อนๆได้รับสิ่งดีๆจากใคร (แบบที่เรารู้ว่าเค้าจริงใจนะ ไม่ได้แบบ อยากเฟคให้ ฮ่า)
เพื่อนๆก็จะอยากตอบแทนเค้ากลับในช่วงเวลา หรือ สิ่งที่เค้าต้องการและเราสามารถให้ได้เนอะ
เหมือนว่า เธอดีมา เราดีตอบ หรือ หนี้แค้นต้องชำระ บุญคุณต้องทดแทน (เหมือนหนังจีน 555)
หรือถ้าอ้างอิงประโยคยอดฮิต จากหนังสือ ขแง Robert Cialdini ชื่อ Influence: The Psychology of Persuasion
เค้าได้บอกว่า "คุณต้องให้สิ่งหนึ่ง เพื่อที่คุณจะได้รับอีกสิ่งหนึ่ง"
แล้วเกี่ยวกับการตลาดยังไงน้ะ ?
เป็นการเกี่ยวข้องกันทางอ้อมนะ คือ
- การให้ Free content ที่ไม่ฟรีความรู้น้ะ
ถ้าเราเป็นผู้ประกอบการแล้วต้องการโปมโมทสินค้า หรือทำ Ads แต่ เราอาจจะไม่มีไอเดียดีๆในการสร้างโฆษณา........
งั้นสมมุติว่าเราไปนั่งอ่านบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเรา แล้วเราเอามาเขียนสรุปให้เพื่อนๆอ่านกันฟรีๆ โดยที่เราไม่ได้ขายสินค้านั้นน้ะ
สิ่งที่เพื่อนๆได้ก็คือ ได้รับความรู้ใหม่ๆอย่างฟรีๆ แน่นอนละว่า ตรงนี้สามารถสร้าง Brand Loyalty และความน่าเชื่อถือที่ดีได้เลยละ
ตัวอย่างให้เพื่อนๆดูกัน ?
- Netflix
เพื่อนๆที่ใช้บริการดูซี่รีย์ หนัง ของเค้าอยู่พอจะรู้เนอะ ว่า Netflix เค้าจะมีถามว่า เราชอบดูหนังประเภทไหน ? หรือ Because you watched this ? เป็นต้น
แล้วระบบเค้าก็จัดการหา "หน้าปกหนัง" รวมถึง "Trailor" มาให้เราดูในประเภทที่เราชอบ เรียกได้ว่า ไม่ต้องเสียเวลาคนหาแนวที่ชอบให้เสียเวลาเลยจ้าาาา
และแน่นอนอีกมุมหนึ่งสิ่งที่เค้าได้มานอกจากการที่เพื่อนๆอยากจ่ายเงินเป็นสมาชิกระยะยาวกันแล้ว ก็คือ การที่เค้าผลิต Content ออกมาเรื่อยๆ ที่เป็น Netflix Original or Film โอกาสในการแทรกมาแล้วได้รับการรับชมก็จะเยอะขึ้น
- บริษัทขายประกัน LUMA
กลุ่มตลาดของบริษัทประกันเจ้านี้จะเป็นคนต่างชาติซะส่วนใหญ
สิ่งที่ LUMA เค้าทำได้ดีก็คือ การสร้าง Reciprocity โดย Free wellness content การเขียนบทความเชิงสุขภาพ โดยคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความรู้กับลูกค้า หรือผู้ที่สนใจได้ดีเลยละ (เหนมีเกาะประเด็น Covid and Health เยอะ น่าจะสร้างReciprocity ทำให้เกิด Brand loyalty)
from https://blog.lumahealth.com/author/luma-health-insurance
2. Information-Gap Theory (การสร้างช่องว่างของความอยากรู้)
หลักการนี้คือ ?
อันนี้ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่น้า แห่ะๆ เพราะต้องบอกว่า ถูกค้นพบโดย Behavioral economist, George Loewenstein, in 1994
โดยการทำงานของเจ้า Theory นี้คือ การที่ให้ข้อมูลในสิ่งที่เรารู้อยู่แล้ว ....
และเชื่อมโยงไปยังสิ่งที่เรายังไม่รู้ และอยากรู้ !
นั้นคือการสร้างความหิวกระหายรู้ของเพื่อนๆนั้นเองงงง
แล้วเกี่ยวกับการตลาดยังไงน้ะ ?
บริษัทมาร์เกตติ้ง หรือ แม้กระทั่งเพื่อนๆหลายๆคนเวลาเขียนบทความแล้วต้องการให้มีจุดสนใจเองก็ใช้วิธีนี้ โดยอาจไม่รู้ตัวก็ได้นะ !
คืออ การพาดหัวข้อ หรือ ชื่อเรื่อง ให้น่าติดตาม เช่น "ความลับ 10 ประการของ ......" "5 สิ่งรอบตัวคุณ ที่สามาถเปลี่ยนชีวิตคุณไปได้ตลอดกาล! !"
ประมาณนี้ แน่นอนว่า สามารถสร้าง Click Bait ได้แน่นอน อย่างน้อย เราคนนึงละที่คลิกเข้าไปอ่าน 55555
ตัวอย่างให้เพื่อนๆดูกัน ?
- Medium
เราบอกได้เลยว่าเกือบ 80% ของบทความที่มีสาระในเวปนี้ ใช้การพาดหัวที่น่าสนใจและสร้างความอยากรู้ เช่น แบบภาพข้างล่างนี้เลยยย
บอกเลยว่า เห็นหัวข้อแบบนี้เยอะๆเนี่ย Subscribe ตามอ่านกันแน่นอนน (เราคนนึงอีกละ ฮ่าๆ)
https://medium.com/
- Magzter
อะไรน้ะ ! International Magazine 5,000 เล่มบุฟเฟ่ หรอ !
เพื่อนๆน่าจะเคยทราบราคาของเจ้านิตยสารต่างประเทศเนอะ ว่าราคาแพงขนาดไหน เล่มละราวๆ 450+บาท ทั้งนั้นเบยยย
ด้วยกลยุทธ์นี้ละ ทำให้เค้าสามารถสร้างสโลแกนดีๆ ให้กับผลิตภัณฑ์ของเค้า ได้ อย่างน้อยก็เรียก Click bait มาทดลองฟรี 1 เดือน กันได้ไม่น้อยเลยละ !
https://www.magzter.com/
3. Social Proof !
 "เทอเราใช้อันนี้แล้ว มันดีมากกกกกกก"
"65% ของผู้ใช้สินค้านี้โหวตคะแนน 4.9/5, ทดลองใช้ฟรี 7 วัน ไม่พอใจยินดีคืนเงินน"
เจอเข้าไปแบบนี้ หื้มมม ต้องเปิดดูว่ามันคืออะไร ไหนดียังไงน้ะ ?
หลักการนี้เค้าทำงานยังไง ?
เค้าทำงานโดยการใช้วิธีปากต่อปาก ให้คนพูดถึงเยอะที่สุด หรือมีการจ้างบริษัททำผลสำรวจออกมาเพื่อที่จะใช้ตัวเลข % ในการอ้างอิงได้
เกี่ยวกับ Marketing ยังไง ?
เจ้า Social Proof เนี่ย จะสร้างความมั่นใจในเชิงบวกของลุกค้าได้อย่างดีเลยละ เพราะเหมือน คนกลุ่มใหญ่เค้านิยมใช้ยี่ห้อนี่กัน
หรือ โดยเฉพาะ ดารา ที่เพื่อนๆชื่นชอบ ออกมาใช้แบรนด์ๆนี้กันนะ เชื่อว่ามีหลายคน อยากลองซื้อตามมาเลยละเนอะ !
ก็จะเป็นการใช้ Viral marketing, Buzz marketing, Worth of mouth (WOM)
ตัวอย่างอะไรบ้างละ ?
- Sensodyne
สมมุติเพื่อนๆจะซื้อยาสีฟัน ระดับ 150 บาทขึ้นไปเนี่ย แน่นอนละ เราต้อดูแบบ พลิกซ้ายพลิกขวา เพื่อดูว่า เอ..... เจ้ายาสีฟันนี่มันดียังไงนะ ทำไมแพง
ละเราอาจจะพบว่า มีการใช้ เลข "62% of 200 Dentists" หรือ แม้กระทั่งเอาโลโก้ของการแพทย์ ที่เป็นรูปคฑามาใช้ หรือเราไปทำฟันแล้วเจอเค้าแป่ะแผ่นโฆษณาอยู่กลางคลินิคหมอฟันเลย
อ้ะ มันก็คุ้มกับการทดลองหน่อยเนอะ !
- Dentastix
ไหนๆเราก็พุดเรื่องฟันแล้ว เราว่าอีกตัวอย่างที่ดีคือออ
ขนมน้องหมาาาาาาาาา อย่าง Dentastix ของ Pedigree
โอเครร โอเครรรร น่าสนใจนะ มีการใช้ตัวเลข เข้ามาจูงใจ ต่อให้จะไม่ได้พูดถึงสถิติก็ตาม แต่เราว่าที่น่าสนใจกว่าคือ มีการนำรูปภาพสุนัขพันธุ์ที่ค่อนข้าง popular มา
พวกเราก็จะมีการ refer กับเจ้าตูบของเราที่บ้าน (อย่างในรูปนี้ เค้าก็ได้มาแล้ว 5 พันธุ์ แน้ะ !!)
Pedigree.com
4. Anchoring
แปลตรงๆเลยก็คือ "สมอ" แต่ขอใช้คำว่า "สมอตราตรึงใจ"ดีกว่าาา
เพราะอะไรน้ะ ?
ก็ Anchoring เนี่ยเป็นปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอย่างนึง ที่เวลาพอเพื่อนๆเห็น หรือรับรู้สิ่งใดเป็นสิ่งแรกแล้วเห็นความคุ้มค่า เรามักจะเกิดการเปรียบเทียบกับแบรนด์อื่นๆที่ขายของชนิดเดียวกัน แต่เราจะมี Bias หรือ อคติ ละว่า เจ้าเวปแรก หรือ แบรนด์แรกที่เราเห็นเนี่ย น่าจะดีกว่า เพราะเราเห็นมันก่อน !
เกี่ยวกับการตลาด Marketing ยังไงกันละ ?
ตรงตัวเลย นักการตลาดส่วนใหญ่ ก็จะใช้วิธีการเอาส่วนลดมาโชว์ คูปองโค้ด หรือแม้กระทั่ง เปรียบเทียบราคาสินค้าให้ดูกันเลย
อีกวิธีที่ดีและนิยมใช้กันคือ การเปรียบเทียบมูลค่าทางด้านราคา ของสินค้า และราคาคุณค่าทางจิตใจ หลังจากซื้อสินค้า
ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะทำให้เพื่อนๆเห็นว่า อย่างไรก็คุ้มค่าา !
ตรงนี้ ใครคอนเท้นดี ก็กินขาดไปนะจ้ะ !
1
ตัวอย่างงงงงงง ?
- Monthly vs Annual Plan
เห็นๆเลยว่า ถ้าเราซื้อแบบ รายปี คุ้มกว่าาชัดๆๆๆ (แต่จริงๆแล้ว นี่ละราคาจริง 5555 ก็เค้าต้องการให้เราซื้อเป็นรายปีนี่นา ก็เลยปักสมอ มันซะเลยนี่นะ)
- Original vs Discount Price
เอ้ยยย จิงหรออ นี่ลดมาตั้ง 81% พูดเป็นเล่นหน่ะะะ !
เรียบร้อย ยังไม่ทันถึงไหนเลย เพื่อนๆก็กดปุ่ม Add to cart ไปละจ้า ไรงี้
- Agoda
 ต้องบอกเลยว่า อันนี้เรียก คลิก กันสุดๆ
โอโห ใช้แถบสีแดง ดึงความสนใจ แล้วปักสมอด้วยคำว่า "Daily or Today Deal" แปลว่า มีแค่วันนี้เท่านั้นหรออ ที่จะได้ ลดมาเกือบ 80% !!!!
อะไรนะ 1 room left ? Mega sale ?
โอยยยยๆ จะให้ชั้นซื้อให้ได้เลยใช่ไม๊วันนี้...... อะไรยั่งงี้
ต่อให้เราจะรู้ว่า มันไม่จริงหรอก เดี๋ยวพรุ่งนี้ ก็มีอีกแบบนี้ละ 555 หรือ ไม่มีทางมีแค่ ห้องเดียวแน่นอน เพราะเพื่อนชั้นจองไปเมื่อสักครู่เอง .......
แต่แบบนี้ก็ ตรึงความสนใจเพื่อนๆ ไม่น้อยแน่นอน บอกเลย :)
Agoda Japan
เป็นยังไงกันบ้างเพื่อนๆ
หวังว่าคงสนุกและได้ความรู้ไม่น้อยเลยเนาะ !
จริงๆก็จะมีเพิ่มอย่าง Scarcity Marketing หรือการสร้างความหายาก หรือ limited ของสินค้าขึ้นมา เพื่อกระตุ้นความยากของพวกเรา หรือ Paradox of Choice ที่เป็นการลดจำนวนของตัวเลือก โดยการดีไซน์ เพื่อจูงใจให้ลูกค้ารู้สึกว่าไม่ซับซ้อน หรือดูไม่เยอะ (แต่จริงๆเยอะ เพราะซ่อนไว้ อิอิ)
แต่ว่า ไม่ลงลึกเพราะคิดว่า เพื่อนๆน่าจะพอทราบกันอยู่ละเนอะ
เพื่อนๆสามารถคอมเม้นและแชร์ความคิดต่อ Topic นี้ได้ที่ข้างล่าง เราอยากตอบเพื่อนๆเหมือนกัน :)
โฆษณา