Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สงครามโลก ครั้งที่ 3
•
ติดตาม
2 มิ.ย. 2020 เวลา 01:48 • ธุรกิจ
ความแตกต่างของเศรษฐศาสตร์การพิมพ์เงิน กับ เศรษฐศาสตร์แบบดั้งเดิม ตอนที่ 1 velocity คืออะไร
ภาพจาก pixabay
เศรษฐศาสตร์แบบเดิม จะเน้นวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ ข่าวสารต่าง ๆ แล้ววิเคราะห์ว่าราคาตลาดหุ้นจะเคลื่อนตัวไปในทิศทางใด
เช่นถ้าเศรษฐกิจไม่ดี ข่าวไม่ดี คนตกงานมาก สถานการณ์ไม่ดี ก็จะวิเคราะห์ว่า หุ้นจะต้องตกต่อไป เป็นต้น
และการวิเคราะห์แบบนี้มีข้อเสียที่เห็นเด่นชัดก็คือ พอเราวิเคราะห์ข่าว เราก็จะใช้อารมณ์ความรู้สึกในการซื้อขายมากเกินไป และส่วนมากก็จะพลาดจุดซื้อที่ดีที่สุด
พอรอจนสถานการณ์ทุกอย่างดีขึ้น คลี่คลายแล้ว ราคาหุ้นก็ขึ้นไปได้ไกลแล้ว ก็เกิดอาการที่เรียกว่า ตกรถขึ้นมาทันที เผลอ ๆ กลายเป็นติดดอยด้วยซ้ำ ถ้าเราใช้การวิเคราะห์แบบนี้
สิ่งที่เขียนมาข้างต้นคือ velocity คือการหมุนเวียนของเศรษฐกิจหรือวงจรเศรษฐกิจนั่นเอง
วงจรเศรษฐกิจ ตามปกติ
ถ้า v=1 คือจุดต่ำสุดของเศรษฐกิจ มีแต่ข่าวร้าย สถานการณ์ย่ำแย่ เป็นจุดที่เราควรจะเข้าไปซื้อ
ถ้า v=10 คือจุดสูงสุดของเศรษฐกิจ มีแต่ข่าวดี สถานการณ์ดีเลิศ เป็นจุดที่เราควรจะขาย
แต่เอาเข้าจริงแล้วการประเมิน V โดยอาศัยวิเคราะห์ข่าว ทำได้ยากมาก เพราะเราไม่สามารถจะคำนวณตัวเลข velocity จากข่าวได้
สิ่งที่เราเรียนรู้ได้จาก v หรือวัฏจักรเศรษฐกิจมีเพียงอย่างเดียว คือ ระยะเวลาจากจุดต่ำสุดถึงจุดสูงสุดจะประมาณ 10-15 ปี คือ 1 รอบ
คนเรามีอายุเฉลี่ยประมาณ 75 ปี แต่กว่าจะทำงานมีเงินมาลงทุนก็อายุอย่างน้อย 25 ปี ดังนั้นจะมีเวลาลงทุนแค่ 50 ปีเท่านั้น
ดังนั้นคนหนึ่งคน จะพบจุดต่ำสุดที่จะซื้อหุ้นได้แค่ 4-5 ครั้งเท่านั้น
ถ้าพลาดทีก็รอไปอีกนานพอสมควร
ในตอนต่อไปจะพูดถึง กับดักของ velocity ต่อไป อย่าลืมติดตามนะครับ
ถ้าชอบบทความนี้อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม เพื่อจะได้ไม่พลาดบทความดี ๆ ต่อไป
3 บันทึก
24
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เศรษฐศาสตร์การพิมพ์เงิน QE economy
3
24
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย