Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สงครามโลก ครั้งที่ 3
•
ติดตาม
3 มิ.ย. 2020 เวลา 05:21 • ธุรกิจ
ตอนที่ 2 กับดักของ velocity
velocity คือการวิเคราะห์ข่าว สถานการณ์เศรษฐกิจ เหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อจะคำนวณว่าตอนนี้การหมุนเวียนมากหรือน้อย
99% เท่าที่อ่านข่าวห์เราจะเจอบทวิเคราะห์ของ velocity นี่แหละ
แต่การวิเคราะห์ velocity มีกับดักที่น่าสนใจอยู่คือ
ภาพจาก pixabay
1. ทุกคนจะมีเงินซื้อหุ้นเมื่อ velocity สูง ๆ เท่านั้น พอ velocity ต่ำ ๆ ทุกคนก็จะขายพร้อมกัน เพราะขาดสภาพคล่อง
ดังนั้นถ้าดูจากทฤษฎี velocity โอกาสที่เราจะกำไรจากตลาดหุ้นแทบจะไม่มี เพราะทุกคนจะมีเงินซื้อหุ้น ตอนหุ้นแพงเท่านั้น จึงต้องซื้อในราคาแพง แล้วไปขายในราคาถูก จึงต้องขาดทุนเสมอ
ตอน velocity สูง ๆ ก็มักจะมีแต่ข่าวดี ๆ กระตุ้นให้เราซื้ออีกต่างหากและทุกคนก็จะมีเงินเหลือ ยิ่งติดดอยกันง่ายขึ้น ซื้อหุ้นในราคาสูง
ตอน velocity ต่ำ ๆ ก็มักจะมีแต่ข่าวร้าย ๆ มากๆ และทุกคนก็จะขาดสภาพคล่อง เป็นการบังคับให้เราต้องขายไปโดยปริยาย ขาดทุนขายหุ้นในราคาถูก
ภาพจาก pixabay
2.พอผ่านจากข้อแรกไปแล้ว ในยุคนี้ก็จะเจอปัญหาของ money supply ที่เพิ่มขึ้นมาได้อีก เพราะทุกคนจะคิดว่าเงินในระบบจะคงที่ แล้วเราก็จะไปคำนวณแค่ velocity อย่างเดียวก็พอ
แต่ในชีวิตจริง ธนาคารกลางมีหน้าที่ต้องรักษา GDP ให้คงที่ เพราะฉะนั้นจะไม่ยอมให้ตลาดหุ้นให้ตกมากกว่า 50%
ดังนั้นพอตลาดหุ้นตกไปราว ๆ 40-50% ธนาคารกลางก็จะเริ่มเพิ่ม money supply เข้ามาเพื่อชดเชย velocity ที่หายไป
ดังนั้นถ้าเราจะรอให้ตลาดหุ้นลดลงไป มากกว่า 50% แล้วค่อยช้อนซื้อ ก็จะพลาด ไม่ได้ซื้อหุ้นในราคาที่ถูกพอสมควร
สุดท้ายพอรอไปเรื่อย ๆ ตลาดหุ้นก็กลับขึ้นไปและแพงขึ้นไปเรื่อย แล้วเราก็จะพลาดโอกาสลงทุนในรอบ 10-15 ปี
เรื่อง money supply เป็นเรื่องที่ไม่มีใครพูดถึง ดังนั้นในทฤษฎี QE economy นี้จะเน้นวิเคราะห์เรื่องนี้เป็นหลักครับ
ถ้าชอบบทความนี้ อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม เพื่อจะได้ไม่พลาดบทความดี ๆ ต่อไป
3 บันทึก
27
8
11
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เศรษฐศาสตร์การพิมพ์เงิน QE economy
3
27
8
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย