15 มิ.ย. 2020 เวลา 11:07 • ธุรกิจ
ตลาดหุ้นขึ้นเพราะเศรษฐกิจดี หรือขึ้นเพราะเงินเฟ้อ จะแยกกันได้อย่างไร
วิธีแยก 2 กรณีออกจากกันก็ไม่ยากครับ
ภาพจาก pixabay
ใช้สูตรเดิม
GDP = money supply x velocity
GDP =1x1 =1 ดัชนีหุ้นคือ 100 จุด
ถ้าตลาดหุ้นขึ้นเพราะเศรษฐกิจดี velocity จะเพิ่มขึ้น โดยที่ money supply ไม่เพิ่มขึ้น
GDP =1 x 10 = 10 ดัชนีหุ้นขึ้นไป 1,000 จุด
แต่ถ้าตลาดหุ้นขึ้นเพราะเงินเฟ้อหรือการพิมพ์เงิน money supply จะเพิ่มขึ้น โดยที่ velocity ไม่เพิ่มขึ้น
GDP = 10 x 1 = 10 ดัชนีหุ้นก็ขึ้นไป 1,000 จุดเช่นเดียวกับกรณีแรก
จะเห็นได้ว่าการขึ้นลงของดัชนีหุ้น ขึ้นกับ 2 ปัจจัยหลักก็คือ money supply และ velocity
คนส่วนมากจะรู้จักแค่ velocity จึงมักไม่เข้าใจว่าทำไมหุ้นถึงขึ้นได้ในสถานการณ์ที่ไม่ดี
ตามหลักการที่แท้จริงของเศรษฐศาสตร์แล้ว เงินในระบบควรจะคงที่
แต่เนื่องจากทุกวันนี้ธนาคารกลางของทุกประเทศในโลก พยายาม manipulate บิดเบือนตลาดหุ้น เวลามีวิกฤตการณ์ทางด้านเศรษฐกิจการเงิน จึงมักจะพยายามเพิ่มเงินในระบบให้มากขึ้นเสมอ
เพื่อรักษา GDP หรือตลาดหุ้นให้คงที่ ไม่เกิดภาวะ depression
ถ้า GDP ลดลง 30-40% จะเรียก recession เศรษฐกิจถดถอย
ถ้า GDP ลดลง 40-80% จะเรียก depression เศรษฐกิจตกต่ำ
ถ้า GDP ลดลงมากกว่า 80% จะเรียก great depression เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
ดังนั้นพอตลาดหุ้นเริ่มลดลงมากกว่า 40% ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ก็จะเริ่มมีมาตรการอัดฉีดเงินเข้ามาในระบบ เพื่อเพิ่ม money supply เป็นการพยุงตลาดหุ้น
ภาพจาก pixabay
ความรู้สึกความรู้สึกของผู้เขียนแล้ว การแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำโดยการพิมพ์เงินเพิ่ม เป็นเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องนัก และจะนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆติดตามมาอีกมากมาย
แต่สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้น เราก็ต้องเล่นไปตามเกมที่กรรมการตั้งกฎไว้
ถ้าชอบบทความนี้อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กดติดตาม เพื่อจะได้ไม่พลาดในความดี ๆ ต่อไป
โฆษณา