30 พ.ค. 2020 เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์
ทำความรู้จัก 'กบฏซะยาซาน' เมื่อชาวบ้านลุกฮือต่อต้านเจ้าอาณานิคมอังกฤษในพม่า
มาดูเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ เมื่อชาวบ้านลุกขึ้นมาก่อกบฏต่อต้านอังกฤษในพม่ายุคทศวรรษ 1930 นั่นก็คือ 'กบฎซะยาซาน'
WIKIPEDIA PD
ซะยาซานเดิมมีชื่อว่ายาจอ (Yar Kyaw) เกิดที่เมืองชเวโบในปี ค.ศ.1876 เมืองนี้มีความสำคัญในฐานะบ้านเกิดของพระเจ้าอลองพญา ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์คองบองซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของพม่าก่อนที่จะตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ยาจอในวัยเด็กบรรพชาเป็นสามเณรศึกษาเล่าเรียนที่วัดในละแวกบ้าน จนกระทั่งบวชเป็นพระภิกษุและสึกออกมาแต่งงานสร้างครอบครัวและเลี้ยงชีพด้วยการทำการเกษตรและหัตถกรรมจักสาน
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA PD
ด้วยชีวิตที่ยากลำบากในบ้านเกิดเขาและครอบครัวจึงตัดสินใจอพยพมาอยู่ที่มะละแหม่ง เมืองทางตอนล่างของพม่าซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้าของอังกฤษ ในช่วงแรกเขาทำงานเป็นช่างไม้ ก่อนที่จะมีชื่อเสียงโด่งดังในหมู่ชาวบ้านจากการเป็นหมอดูและหมอยาแผนโบราณ จนได้รับการนับถือเป็น "ซะยา" ที่หมายถึงอาจารย์ นอกจากนี้เขายังเป็นสมาชิกของ General Council of Burmese Association (GCBA) ที่จัดตั้งโดยชาวพม่าในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อรองอำนาจกับทางการ ต่อมาเขาได้ก่อตั้งองค์กรลับโดยมีชาวบ้านและพระสงฆ์เป็นแนวร่วมหลักในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านอังกฤษ
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA PD
การที่อังกฤษเข้ามาปกครองพม่าตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 มีการยกเลิกระบอบกษัตริย์ และผนวกพม่าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย มีการพัฒนาด้านสาธารณูปโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการชลประทาน จนทำให้พม่ากลายเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำในปี ค.ศ.1930 พม่าก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาข้าวที่ตกต่ำ อีกทั้งระบบการปกครองที่อังกฤษนำเข้ามา สร้างความไม่พอใจอย่างยิ่งต่อกลุ่มชนชั้นสูง พระสงฆ์และชาวพม่าที่สูญเสียอำนาจการปกครอง และนั่นเป็นชนวนเหตุสำคัญที่ทำให้ซะยาซานลุกขึ้นมาต่อต้านอังกฤษในปลายปีนั้นเอง โดยใช้ความเชื่อทางไสยศาสตร์และพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการเคลื่อนไหว เริ่มจากอาศัยจังหวะจากเหตุแผ่นดินไหวที่เมืองปยูและหงสาวดี ตั้งตนเป็นกษัตริย์ที่เมืองธาราวดีเพื่อปราบทุกข์เข็ญจากกลียุค ซึ่งชาวพม่าเชื่อว่าภัยธรรมชาติดังกล่าวคืออาเพศจากการเข้ามาของอังกฤษ
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
เหตุการณ์ความรุนแรงเริ่มต้นในปลายเดือนธันวาคม เมื่อเกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มกบฏกับเจ้าหน้าที่ในเมือง Pashwegyaw มีการเผาทำลายสถานที่ราชการ และมีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตสองนาย จากนั้นการต่อต้านของกลุ่มกบฏได้ลุกลามเป็นวงกว้างไปยังเมืองต่างๆ ในเขตอิรวดี ไม่ว่าจะเป็น ธาราวดี เฮนดาซา อินเส่ง หงสาวดี แปร ขึ้นไปถึงทางตอนเหนือของรัฐฉาน จนทางการอังกฤษในพม่าต้องขอกำลังเสริมจากอินเดียเข้ามาปราบปรามจนกลุ่มกบฏนั้นแตกพ่าย ซะยาซานได้หนีไปยังรัฐฉานจนถูกจับที่เมือง Hsum Hsai และถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1931
WIKIPEDIA CC BEAO
แม้การกบฏของซะยาซานจะล้มเหลว เนื่องจากเป็นกบฎชาวบ้านที่ไม่ได้มีอาวุธยุทธโธปกรณ์ที่ทันสมัย แต่วีรกรรมของเขาเป็นทั้งแรงผลักดันและแรงบันดาลใจของนักชาตินิยมพม่ารุ่นหลังอย่างนายพลองซาน และอูนุในการต่อต้านระบอบอาณานิคม จนพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1947
โฆษณา