Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Simple Journey
•
ติดตาม
30 พ.ค. 2020 เวลา 15:31 • ธุรกิจ
2 min Read - 3 กลยุทธ์สุดฮิตที่นักการตลาดชอบเล่นกับการตั้งราคา
3 Pricing Strategy that Popular in Marketers !
หลายๆครั้ง หลายๆหน เชื่อว่าเพื่อนน่าจะเคยต้องเสียเงินเพิ่มไปกับการอัพเกรด หรือว่าโปรโมรชั่นที่ทำให้เราต้องยอมซื้อของในราคาที่สูงขึ้น
ในบทความนี้เราขอพูดถึง 3 เทคนิค หรือ กลยุทธ์ในการเล่นกับราคาของเหล่านักการตลาด สู่สายตาผู้บริโภคกันน !
สิ่งที่นักการตลาดในได้จาก เทคนิค/กลยุทธ์ นี้ ?
- เพื่อทำให้สินค้า/บริการ ที่มีราคาแพง ดูไม่น่าตกใจ หรือดูเอื้อมถึงได้
- เพื่อทำให้ลูกค้า อัพเกรดหรือซื้อสินค้าเพิ่ม เพราะเล่นกับการรับรู้ทางจิตวิทยาของลูกค้า
- แสดงให้เห็นว่าทำไมลูกค้าถึงต้องยอมจ่ายเพิ่ม และเค้าได้อะไรบ้าง
กลยุทธ์ที่ 1 : การเน้นย้ำถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการจ่ายเพิ่ม
คำถามที่นักการตลาดต้องถามขึ้นมาในหัวก่อนเลยคือ
ทำไมลูกค้าต้องอัพเกรด option ?
ลูกค้าส่วนต่างจ่ายเพิ่มสำหรับ Additional option 500 บาท เค้าจะได้อะไร ?
ความคุ้มของการอัพเกรดในสายตาลูกค้า เทียบกับคู่แข่ง ?
เมื่อถามแบบนี้ หลายๆคนก็จะเริ่มไปทำการบ้านมา จนสามารถหาเหตุผลในการเน้นย้ำถึงประโยชน์ได้ จุดประสงค์ก็เพื่อ การให้ลูกค้ายอมจ่ายเงินเพิ่ม(โดยสมัครใจ) นั้นเองง
ตัวอย่าง :
1.1 การดึงดูดการ Subscribe เพิ่มด้วยการเขียนกล่าวถึงประโยชน์
น่าจะเห็นได้ชัดจากภาพด้านล่างเลย จากนิตยสาร HBR
เพื่อนๆจะเห็นว่า จ่ายเพิ่มจาก option แรก เพียงแค่ 2 USD ต่อเดือน เพื่อนๆจะได้มูลค่าเพิ่มของสินค้ามาเกือบอีก 5 อย่าง
หรือเพิ่มมาอีก 6 USD (มีแอบเขียนว่า Best Value ด้วย ร้ายกาจ) เพื่อนๆจะได้ของแถมเพิ่มมาอีก 3 อย่างจาก option 2
(ซึ่งจริงๆ กรณีนี้ เรามองว่า Option 2 น่าจะคุ้มที่สุด)
Harvard Business Review - Subscription
1.2 การจูงใจให้เราทำการอัพเกรดห้องพักของโรงแรม
จากภาพที่ 1 ข้างล่าง
- เพื่อนๆจะเห็นว่า ถ้าเราจองเริ่มต้น Premiums Deluxe แล้วเราจ่ายเพิ่มแค่ 142 บาทต่อคืน ได้อัพเกรดมาเป็นห้อง "G Deluxe" ซึ่งเป็นห้อที่มีราคาแพงขึ้นมา ดูจากสไตล์ก็เห็นเลยว่า แตกต่างกันชัดเจน
- แต่ยังก่อน ถ้าเพื่อนๆเพิ่มอีก 214 บาทต่อคืน รับเพิ่มไปเลย
>> ฟรีอาหารบุฟเฟ่สำหรับ 4 คน
>> Club benefits ส่วนใหญ่ก็จะเปิดให้ผู้เข้าพักห้องประเภทนี้ สามารถใช้บริการ Lounge ดาดฟ้าได้ เป็นต้น
ภาพที่ 1 ตัวอย่างของโรงแรม Pullman G - Expedia (เราถ่ายมาเอง)
ภาพที่ 2
- ถ้าคุณลูกค้ามากันเป็นครอบครัวจริงๆ เพิ่มจาก 356 บาท มาอีกเท่าตัว เป็น 712 บาทต่อคืน รับไปเลยย
>> ห้อง Suite ขนาดห้องใหญ่เพิ่ม 2 เท่าจาก G Club
>> อาจจะอยู่ในชั้นที่สูงกว่า และในห้องมีพื้นที่ให้เด็กๆวิ่ง
ภาพที่ 2 ตัวอย่างของโรงแรม Pullman G - Expedia (เราถ่ายมาเองจ้า)
นี้ก็เป็น 1 ใน กลยุทธ์ด้านการตั้งราคาแบบไม่ต้องพึ่งโปรโมชั่นเลยละ
กลยุทธ์ที่ 2 : เล่นราคากับความคุ้มค่าและสร้างความจำเป็นกับลูกค้า
วิธีนี้เราว่า หลายๆคนก็คงคลิกยอมจ่ายกันแน่นอน ถ้าเราต้องการในผลิตภัณฑ์นั้นจริงๆ
ในส่วนใหญ่เราจะพบเค้าในรูปแบบของ การ Subscribe ต่างๆ
หรือแม้แต่ความคุ้มค่าทางด้านการใช้งาน
เป็นยังไงไปดูกัน
1
ตัวอย่างที่
2.1 จ่ายเป็นรายปี เทอประหยัดไปได้กว่าจ่ายรายเดือนน้ะ !
เช่น ถ้าเพื่อนๆต้องการอ่านบทความของ Fortune จะต้องจ่าย 5 USD ต่อเดือน แต่ ช้าาก่อนนนน! ถ้าเพื่อนจ่ายรายปี จะประหยัดไปได้ถึง 11 USD !!! (ก็ 2 เดือนเลยน้า)
เอาล่ะสิ ถ้ากลุ่มลูกค้าเป็นนักอ่าน แล้ว content อย่าง FORTUNE น่าสนใจจริงๆเนี่ย...อ้ะ ชั้นจะอ่านครบปีรึเปล่าไม่รู้ แต่ที่รู้คือ...คุ้มกว่าแน่นอน จ่ายก่อนแล้วค่อยบังคับตัวเองให้อ่านก็ได้ ไรงี้
นิตยสาร Fortune
2.2 สร้างความจำเป็น และความคุ้มค่าจาก ระยะเวลาการใช้ ของ Energizer
โอเคค เพื่อนๆว่าภาพถ่านข้างล่าง อะไรสะดุดตาเพื่อนๆมากที่สุด ???
โอเค สำหรับเรานะ คำว่า "World's Longest Lasting" เนี่ย คอนข้างสะดุดตา การใช้แบต "ULTIMATE Lithium" จริงๆก็คือ ลิเทียม ที่แบตอึดๆนะแหละ เพียงแต่เติมคำว่า Ultimate มาเท่านั้นเอง
สมมุติว่าเค้าวางขายแข่งกับแบรนด์ถ่านคู่แข่งที่อาจไม่ได้เคลมคำนี้มาใช้ อาจจะต้องเพิ่มเงินอีกสักชิ้นละ 30-40 บาท แต่ถ้าคำนวนแล้ว อาจจะประหยัดกว่า ซื้อถ่านแบบธรรมดา 2-3 รอบ (อันนี้แค่ยกตัวอย่างน้าาาาาาาา)
กลยุทธ์ที่ 3 : การ Stack Discount หรือการให้เพิ่มส่วนลดพิเศษตามกรณี
นี้คือวิธีที่ทีมการตลาดนิยมมากที่สุด ถ้าพวกเค้าต้องการ โฆษณาแบรนด์ หรือ ต้องการได้ลูกค้าใหม่ รวมถึงการขโมยลูกค้าจากคู่แข่งเช่นเดียวกัน
ตัวอย่าง
3.1 - Grab VS Food panda for New Customer !
ภาพที่ 1 Grab
ได้ใช้กลยุทธ์ลดราคาสำหรับลูกค้าใหม่ ! แค่สมัครด้วยเฟสบุคก็ได้แล้ว
อันนี้เก่าแล้วน้า เอามาเป็นตัวอย่าง
ภาพที่ 2 Food Panda
อะ เอาซี่ ถ้าเธอเล่น ชั้นก็เล่นน Food Panda ต้องการดึงฐานลุกค้ากลุ่มครอบครัว โดยผู้ใช้ใหม่ลดเลย 200 บาทในช่วงโควิค (ขั้นต่ำ 500 บาท ก็เหมาะกับการทานเป็นครอบครัว)
อะที่แน่ๆ ก็ได้ลูกค้าจาก Grab บางส่วนได้หันมาลอง Food Panda กันครั้งแรก บางทีเค้าอาจจะพบกับ โปรโมชั่นหรือ การบริการที่ถูกใจกว่า
อันนี้เก่าแล้วน้า เอามาเป็นตัวอย่าง
3.2 - Grab Stack discount for SCB M credit card
อันนี้เก่าแล้วน้า เอามาเป็นตัวอย่าง
จะเห็นว่า การ Stack discount สำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่มเนี่ย ก็สามารถนำมาดึงดูได้เหมือนกัน และนี่ก็คือเป็น 1 ใน กลยุทธ์สุดฮิตของทีม Partner Marketing/ Campaign merchandising)
จบแล้ววว ไม่สั้นไม่ยาวไปเนอะ
แต่หวังว่าเพื่อนๆจะได้รับสาระความรู้ อาหารสมองกันภายใน 2 นาทีเน้อะ ! :):):)
References :
https://hbr.org/2020/05/upgrade-your-pricing-strategy-to-match-consumer-behavior
https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/0022243719851490
https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3576266
- เหมือนเดิม เพิ่มเติมประสบการณ์ของผู้เขียนเองด้วยจ้าา
35 บันทึก
48
8
44
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
All About a Marketing World - มาเรียนรู้เกี่ยวกับการตลาดในทุกๆมุมมองกัน !
35
48
8
44
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย