5 มิ.ย. 2020 เวลา 11:21 • สุขภาพ
กิน “แคลเซียม” ป้องกันกระดูกพรุน เท่าไหร่ถึงพอและไม่อันตราย❗️
หลายคนหันมารับประทานแคลเซียมเสริม เพื่อต้องการให้กระดูกและฟันที่แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน แต่ถ้าเสริมมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด ได้เช่นกัน
“แคลเซียม” เป็นแร่ธาตุที่ช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง นอกจากนี้ยังช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจและการเเข็งตัวของเลือดอีกด้วย
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องการเเคลเซียมเสริม โดยการเสริมนั้นขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนมีความต้องการปริมาณแคลเซียมต่อวันเท่าไหร่ ถ้าปริมาณแคลเซียมที่ได้จากอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก็สามารถรับประทานแคลเซียมเสริมได้
การรับประทานแคลเซียมเพื่อป้องกันกระดูกพรุนให้ได้ผลนั้น นอกจากรับประทานตามความต้องการของแต่ละบุคคลเเล้ว จะต้องคำนึงถึงมวลกระดูกของตัวเองด้วย โดยอาจจะไปวัดมวลกระดูกที่โรงพยาบาล เพราะถ้ากระดูกบางแล้ว การกินแคลเซียมเสริมจะไม่สามารถช่วยได้
การรับประทานแคลเซียม ให้ปลอดภัยจากโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น ไม่ควรรับประทานมากกว่า 2000 - 2500 มิลลิกรัมต่อวัน
โดยแคลเซียมถูกดูดซึมได้ดีในสภาวะที่เป็นกรด ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทานพร้อมมื้ออาหาร เพราะอาหารจะไปกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งกรด ทำให้สภาวะความเป็นกรดของกระเพาะสูงขึ้น
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อย ได้เเก่ ท้องผูก ซึ่งแก้ไขได้โดยการดื่มน้ำให้มากขึ้นและออกกำลังกาย
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแคลเซียมในท้องตลาด
https://www.megawecare.co.th
ทั้งนี้การรับประทานเเคลเซียมเสริมเพียงอย่างเดียวก็ใช่ว่าจะเพียงพอต่อการป้องกันโรคกระดูกพรุน แต่ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่นร่วมด้วย ดังนี้
• การออกกำลังกายแบบที่มีการลงน้ำหนักที่กระดูก เช่น ยกน้ำหนัก ว่ายน้ำ โยคะ เป็นต้น เพราะจะทำให้มีเเคลเซียมเพิ่มการเกาะในกระดูกมากขึ้น ระดับความหนาแน่นของกระดูกเพิ่มขึ้น 🏊🏼‍♂️
• ภาวะโภชนาการอื่นๆที่มีส่วนสำคัญต่อความแข็งแรงของกระดูก นอกจากเเคลเซียม ได้เเก่ โปรตีน วิตามินซี วิตามินดี แมกนีเซียม วิตามินเค เป็นต้น
• หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาเเฟ น้ำอัดลม เพราะคาเฟอีนทำให้ขับปัสสาวะออกมากขึ้น ทำให้มีการสูญเสียเเคลเซียมไปกับปัสสาวะ ดังนั้นควรดื่มให้น้อยลง ☕️
• ให้ร่างกายได้รับแสงแดดทุกวัน และควรเป็นแสงแดดอ่อนๆในช่วงเช้าหรือเย็น อย่างน้อยวันละ 10-15 นาที โดยแสงแดดจะช่วยในการสังเคราะห์และรักษาระดับวิตามินดีในร่างกาย ซึ่งวิตามินดีเป็นตัวสำคัญที่ช่วยทำให้การดูดซึมแคลเซียมเป็นไปโดยปกติ
• นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมสร้างเนื้อเยื่อ
อ้างอิง : บทความวิชาการ เรื่อง เสริม”เเคลเซียม”อย่างไรให้ปลอดภัยและได้ผล เรียบเรียงโดย ภก.สรุจ เล็กสุขศรี และ ภญ.ดร.อรนิภา วงศสีลโชติ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา