6 มิ.ย. 2020 เวลา 08:00 • ประวัติศาสตร์
เบื้องหลังชีวิตของ 'แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์' ปธน.สหรัฐฯ และรัฐบุรุษผู้นำพาประเทศเข้าสู่สงครามโลก
แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ คือประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐฯ และเป็นรัฐบุรุษผู้นำสหรัฐอเมริกา เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง และได้เสียชีวิตก่อนที่สงครามจะยุติลงเพียงไม่นาน ประธานาธิบดีรูสเวลต์ป่วยเป็นอัมพาตครึ่งท่อนจากโรคโปลิโอ จนทำให้เขาต้องนั่งติดอยู่กับรถเข็น แต่ความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว และความเป็นผู้นำ ได้ทำให้ชื่อของเขากลายเป็นหนึ่งในสามผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลของสหรัฐฯ
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
1. แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ เพียงคนเดียวที่ดำรงตำแหน่งถึง 4 สมัย เนื่องจากในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งได้เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง และประชาชนไว้วางใจให้ประธานาธิบดีรูสเวลต์ทำหน้าที่ต่อไป
2. ในปี 1921 แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ ป่วยเป็นโรคโปลิโอ ส่งผลให้เขาเป็นอัมพาตท่อนล่าง หลังจากนั้นเขาก็พยายามฟื้นฟูร่างกายเพื่อหวังกลับมาเดินได้ตามปกติอีกครั้ง รูสเวลต์ไม่เคยแสดงความอับอายต่อโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้น และยังมุ่งมั่นกับการทำงานการเมืองจนได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้วาการรัฐนิวยอร์กในปี 1928และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ ในปี 1932
3. ในปี 1934 ประธานาธิบดีรูสเวลต์ได้ทำข้อตกลงทางการค้า เพื่อช่วยลดความตึงเครียดและความยากจนทั่วโลก ภายใต้ข้อตกลงนี้ ทำให้รูสเวลต์มีอำนาจเพิ่มหรือสามารถลดภาษีลินค้านำเข้าได้มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ได้ทำข้อตกลงทางการค้ากับ 19 ประเทศทั่วโลก และภายหลัง ข้อตกลงนี้ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดการค้าเสรีทั่วโลก
WIKIPEDIA PD
4. ประธานาธิบดีรูสเวลต์ ได้เสนอให้มีการปฏิรูปกระบวนการศาลยุติธรรมในปี 1937 โดยมีเป้าหมายเพื่อปลดผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี และรับราชการมานานกว่า 10 ปี ขึ้นไป โดยรูสเวลต์ได้เสนอให้มีการแต่งตั้งผู้พิพากษาใหม่ถึงหกคน โดยเป้าหมายก็คือความแน่ใจว่าหากเขาเสนออะไรไปจะไม่ถูกปฏิเสธกลับมา แต่ภายหลังข้อเสนอของรูสเวลต์ถูกปฏิเสธอยู่ดี แต่ศาลฏีกาได้พิจารณาแผนการของเขาในฐานะรัฐธรรมนูญของชาติแทน
5. ประธานาธิบดีรูสเวลต์ มีแนวคิดว่าสหรัฐฯ ควรมีบทบาทสำคัญบนเวทีโลกในฐานะชาติมหาอำนาจและตัวกลางที่มีส่วนในการเจรจาความขัดแย้งของแต่ละประเทศ โดยเขายึดมั่นในวิถีทางการทูตเป็นหลัก และคิดว่าแต่ละประเทศควรพูดคุยเจรจากันอย่างสันติมากกว่า แต่หากมีอะไรผิดพลาด การใช้กำลังทหารย่อมเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้
6. ผู้คนส่วนใหญ่จดจำภาพของ แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ ในฐานะชายผู้มีมนุษยธรรมด้วยการช่วยเหลือชาวอเมริกันในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ แต่อีกมุมหนึ่ง รูสเวลต์ได้ลงนามในคำสั่งกักกันชาวญี่ปุ่นหลังจากการโจมตีที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์ เริ่มต้นขึ้นในปี 1941 กล่าวกันว่าชาวญี่ปุ่นในสหรัฐฯ ได้รับการปฏิบัติที่เลวร้ายและไร้ความยุติธรรม จนกระทั่งในปี 1987 ประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน ต้องออกมาประกาศใช้นโยบายเยียวยาชาวญี่ปุ่นที่ต้องทนทุกข์กับการถูกกักขังในค่ายกักกัน
WIKIPEDIA PD
7. ระหว่างปี 1933 – 1944 ประธานาธิบดีรูสเวลต์ได้พูดคุยกับชาวอเมริกันทั่วประเทศผ่านสถานีวิทยุ ที่ว่าด้วยการแก้ปัญหาในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก รวมถึงข้อมูลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จนทำให้คะแนนนิยมของเขาเพิ่มสูงขึ้นในช่วงวิกฤติของชาติ
8. ในเดือนกุมภาพันธ์ 1933 จูเซปเป้ ซานการา คนงานที่ไม่พอใจคนร่ำรวยและพวกเศรษฐีภายในประเทศได้พยายามลอบสังหารประธานาธิบดีรูสเวลต์ แต่การลอบสังหารในครั้งนี้ล้มเหลว ภายหลังประธานาธิบดีรูสเวลต์ปลอดภัย และกลับไปทำงานภายใต้การสนับสนุนจากประชาชนต่อไป
WIKIPEDIA PD
9. ประธานาธิบดีรูสเวลต์ คือผู้ริเริ่มแนวคิดในการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ เพื่อภารกิจรักษาสันติภาพโลก และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ องค์การสหประชาชาติก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 1945 หกเดือนหลังจากประธานาธิบดีรูสเวลต์เสียชีวิต
10. ในช่วงดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีรูสเวลต์ ได้อุทิศตนเพื่อการค้าเสรี โดยเชื่อว่ามันจะช่วยยกระดับเศรษฐกิจและการเมืองทั่วโลก โดยประธานาธิบดีรูสเวลต์เชื่อว่าชาติมหาอำนาจของโลกจะต้องทำงานเพื่อเป็นตัวอย่างและช่วยให้ทุกประเทศเจริญเติบโต ไม่ใช่แค่เพียงชาติตะวันตก แนวคิดเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในการจัดตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลกในเวลาต่อมา
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา