7 มิ.ย. 2020 เวลา 02:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กลุ่มของจุลินทรีย์ที่แตกต่างกัน จะส่งผลถึงกลิ่นเหม็นของตดได้
123RF
กลิ่นเรอ กลิ่นผายลมไม่ใช่เรื่องตลก หากมีกลิ่นที่รุนแรงจนทำให้เพื่อนรอบข้างถึงกับเบือนหน้าหนีนี่ต้องปรับปรุง แต่ปัญหานี้ใช้ไม่ได้กับเจ้าจิงโจ้อย่างแน่นอน เพราะอะไรมาดูกัน
Peter Janssen ได้ทำการทดลองเปรียบเทียบกลิ่นผายลมของวัวและจิงโจ้ว่าสัตว์สองชนิดนี้กลิ่นผายลมของใครจะรุนแรงกว่ากัน ซึ่งกลิ่นผายลมของสัตว์ต่างๆ นั้นเกิดจากจุลินทรีย์ในระบบย่อยอาหารนั่นเอง Peter ได้พบว่า จิงโจ้มีกลิ่นผายลมที่เหม็นน้อยกว่าวัว เพราะว่า จุลินทรีย์ที่พบในจิงโจ้นั้นเป็นกลุ่ม Acetogen ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เติบโตได้โดยไม่ต้องมีออกซิเจน แต่ใช้ CO และ CO2 ผลิต Acetate หรือ Acetyl CoA แทนจึงไม่ผลิตแก๊สมีเทนที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่น่าพิสมัย
123RF
จุลินทรีย์ในกลุ่ม Acetogen ไม่สามารถเติบโตได้ดีในระบบย่อยอาหารของวัว แต่ในระบบย่อยอาหารของวัว จุลินทรีย์ในกลุ่ม Methanogen กลับเติบโตได้ดีกว่า ซึ่งจุลินทรีย์ชนิดนี้ผลิตก๊าซมีเทนออกมา ที่เป็นต้นเหตุสำคัญของก๊าซเรือนกระจกแต่ที่ยิ่งไปกว่านั้น มันทำให้กลิ่นผายลมของวัวมีกลิ่นที่แรงจนต้องเบือนหน้าหนีกันเลยทีเดียว ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ได้ต่อยอดให้ Peter ศึกษาต่อว่า จะทำอย่างไรให้กลุ่มจุลินทรีย์ Acetogen เติบโตได้ดีในกระเพาะของวัวเช่นเดียวกับในจิงโจ้
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
123RF
โฆษณา