Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
8 มิ.ย. 2020 เวลา 23:10 • การศึกษา
ที่ดินกรรมสิทธิ์รวมอาจแบ่งแยกไม่ได้หากเจ้าของรวมได้มีข้อตกลงบางอย่าง?
โดยปกติแล้ว ที่ดินซึ่งมีบุคคลหลาย ๆ คนเป็นเจ้าของร่วมกัน หรือที่เรียกว่า “กรรมสิทธิ์รวม” นั้น เจ้าของรวมแต่ละคนย่อมมีสิทธิเรียกร้องขอให้แบ่งแยกได้ตลอดเวลา
เว้นแต่ จะเข้าข้อยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้
ซึ่งมีข้อยกเว้นอยู่เรื่องหนึ่งที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ว่า เจ้าของรวมไม่สิทธิขอแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวมได้ ถ้าหาก..
“วัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร”
คำ ๆ นี้หมายความว่าอย่างไร?
ผมขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ
..ลองนึกภาพตามนะครับ มีที่ดินแปลงใหญ่อยู่ 1 แปลง สมมติว่ามีนาย A กับนาย B เป็นเจ้าของร่วมกัน
ต่อมา นาย A กับนาย B ได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินแปลงใหญ่ ออกเป็นแปลงเล็ก ๆ หลายแปลงเพื่อขาย
และได้ตกลงกันให้ที่ดินแปลงหนึ่งที่ได้แบ่งแยก ใช้เป็นถนนสำหรับผู้มาซื้อที่ดินออกสู่ถนนใหญ่ และได้ทำเป็นถนนคอนกรีตขึ้นในที่ดินส่วนนี้
โดยตกลงกันสละสิทธิเรียกร้องใด ๆ จากผู้ใช้ถนนนี้..
คำถามคือ หากภายหลัง นาย A หรือนาย B จะมาขอให้แบ่งแยกที่ดินแปลงที่ใช้ทำเป็นถนนให้เป็นของใครของมัน จะสามารถทำได้หรือไม่?
เรื่องนี้เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1545/2514 ได้ตัดสินเป็นบรรทัดฐานเอาไว้ว่า..
ข้อตกลงระหว่างนาย A กับนาย B ที่ยอมให้ที่ดินแปลงหนึ่งใช้เป็นถนนสำหรับคนที่มาซื้อที่ดินใช้เข้าออกสู่ถนนใหญ่นั้น สามารถใช้บังคับได้ โดยที่ไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่
และเป็นการตกลงที่แสดงให้เห็นว่า มีวัตถุประสงค์จะเป็นเจ้าของที่ดินที่กลายเป็นถนนคอนกรีตไปแล้วร่วมกันมีลักษณะเป็นการถาวร
ดังนั้น นาย A หรือนาย B ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่ดินนั้นได้อีกต่อไป
ยังมีช่องทางอื่น ๆ ให้ติดตามกัน 😉
- สำหรับเอาไว้อ่านบทความดีๆ
Facebook.com/Nataratlaw
- สำหรับเอาไว้ดูรูปสวย ๆ กับอินโฟกราฟิก
Instagram.com/Natarat_law
- สำหรับสายย่อ เอาไว้รับข่าวสารหรือข้อกฎหมายแบบกระชับ
https://twitter.com/Nataratlaw?s=09
Photo:
pixabay.com
6 บันทึก
61
23
11
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
6
61
23
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย