Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Stock In Trend - หุ้นอินเทรนด์
•
ติดตาม
13 มิ.ย. 2020 เวลา 08:46 • ธุรกิจ
Wyckoff Cycle - วงจรการเคลื่อไหวของหุ้น
การเคลื่อนไหวของราคาว่าเป็นไปตามช่วงที่หุ้นนั้นๆอยู่
Accumulation phase - ระยะสะสม
หลังจากที่เราเลือกหุ้นเพื่อนำมาใ้ Run trend ได้แล้ว ต่อไปเราจะต้องรู้เกี่ยวกับวงจรของหุ้น คล้ายๆชีวิตคนที่มีเกิด แก่ เจ็บ ตายประมาณนั้น หรือบางคนอาจจะพูดได้เป็น เกิดมา ตั้งอยู่ และดับไป
ทฤษฎีที่กล่าวถึงวงจรของหุ้นได้ดีที่สุด คือ Wykoff cycle ซึ่งได้ถึงว่าระยะของการเคลื่อนที่ของหุ้นจะมีอยู่ทั้งหมด 4 ระยะ
1. ระยะสะสม หรือ Accumulation Phase
2. ระยะขึ้น หรือ Mark Up Phase
3. ระยะกระจายหุ้น หรือ Distribution Phase
4. ระยะลง หรือ Mark Down Phase
เราทำไมต้องรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับ cycle ของราคาคำตอบที่สำคัญที่สุดก็คือ เราต้องการจะหา timing to invest หรือจังหวะการเข้าลงทุน
แล้วจังหวะใดที่เราจะเข้าลงทุน จังหวะนั้นก็คือ ระยะ mark up และจะหยุดการลงทุน เมื่อเข้าสู่ระยะ กระจาย หรือ distribution จากการศึกษา เราพบว่า ช่วงเวลาที่หุ้น ใช้ในการ mark up ไปจนเข้าสู่การกระจาย จะใช้เวลาแค่เพียง 1 - 2 เดือนเท่านั้นในหุ้นแต่ละตัว ดังนั้นเราจึงจำเป้นอย่างยิ่ง ที่จะต้องรู้แต่ละระยะของ cycle กราฟหุ้นจะแสดงระยะต่างๆของการเคลื่อนไหวของราคา เพียงแค่ใช้กราฟ ที่ประกอบด้วย ราคา และ ปริมาณการซื้อขาย เท่านั้น
เราลองมาดูภาพระยะหุ้นทั้ง 4 กันครับ
เริ่มที่ระยะสะสม หรือ Accumulation phase เป็นระยะที่หุ้นปรับตัวลงมาแรงจนเริ่มไม่ลงต่อ เมื่อเกิดการเทขายราคาอย่างรุนแรงและราคาค่อยๆซึมลง นักลงทุนพร้อมจะเทลงมาอย่างหนัก เหมือนไม่อยากมีหุ้นในครอบครอง เช่น ช่วงที่เกิดวิกฤติ เป็นต้น
จากนั้นเมื่อนักลงทุนส่วนใหญ่เทขายอย่างหนัก จะเริ่มมีกลุ่มคนที่มีเม็ดเงินมหาศาลหรือ smart money เริ่มมาซื้อหุ้นจนการลงของหุ้นเริ่มชะลอตัว ราคาเริ่มไม่ลงต่อ จะสังเกตว่าระยะนี้ราคาหุ้น ไม่เกิดจุดต่ำสุดใหม่แล้ว
เมื่อไม่เกิดจุดต่ำสุดใหม่แล้ว (ไม่เกิด new low) ราคาหุ้นก็จะเหวี่ยงขึ้นซึ่งมักไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ (ไม่ทำ new high) ราคาก็สะบัดลงมาอีกแต่ไม่ทำจุดต่ำใหม่เช่นกัน เราจึงเห็นลักษณะการแกว่งตัวในกรอบแคบๆ
ระยะของการสะสมที่เราเป็นเห็นลักษณะ sideway สามารถกินระยะเวลาเป็นเดือนถึงเป็นปีได้ แล้วแต่ว่าการเก็บสะสมหุ้นของ smart money จะยาวนานและเก็บเป็นจำนวนมากขนาดไหน
ระยะนี้ถ้าเราลองสังเกตดูปริมาณการซื้อขายต่อวัน จะเห็นว่าปริมาณการซื้อขายเบาบาง แต่จะมีบางวันที่เราเห็นการเพิ่มขึ้นของปริมาณการซื้อขายเข้ามาแบบผลุบๆโผล่ๆ ซึ่งวันที่มีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นมาให้คาดเดาว่าเป็นการเก็บหุ้นของ smart money
ถ้าเกิด smart money เริ่มเข้ามาเก็บหุ้นมากขึ้นเรื่อยๆ เราจะเห็นปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นติดๆกัน ราคาหุ้นจะเริ่มยกจุดต่ำสุดขึ้นมาเรื่อยๆ (ยก low) และราคาหุ้นก็เริ่มจะขึ้นไปชนกรอบบนของแนวสะสม จนกระทั่งวันที่มีการทะลุกรอบสะสมขึ้นมาได้ วันนั้นจะถือว่าเป็นจุดเริ่มของการทำราคาในหุ้นนี้หรือเข้าสู่ระยะ mark up นั่นเอง
วันที่ราคาเป็นแท่งเขียวยาวร่วมกับปริมาณการซื้อขายมากที่สุดเท่าที่ผ่านมา จะเป็นจุดทะลุกรอบสะสมอย่างแท้จริง ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดเข้าซื้อจุดแรกของนักลงทุนสาย Run trend เพราะเราจะได้ลงทุนต้นรอบเลย
1
เราไม่ควรเข้าไปรีบซื้อหุ้นก่อนที่ราคาจะทะลุกรอบสะสม เพราะเราไม่รู้ว่า smart money จะเก็บสะสมหุ้นไปอีกนานแค่ไหน เราก็ไม่จำเป็นต้องรอเก็บหุ้นไปพร้อมกับ smart money นั่นเอง
สรุป
สัญญาณที่เกิดขึ้น ที่แสดงว่าสิ้นสุดระยะสะสมเพื่อเข้าสู่ระยะขึ้นแล้วมี 2 สัญญาณ ได้แก่
1 สัญญาณการทะลุกรอบ (break out) กรอบสะสม ซึ่งแท่งราคามีลักษณะแท่งเขียวยาวมากพร้อมปริมาณการซื้อขาย (volume) สูงขึ้นมากที่สุดตั้งแต่อยู่ในระยะสะสม
2 สัญญาณการลงมาทดสอบแนวที่ทะลุขึ้นมา แล้ววกลับขึ้นไปอีกเป็นอันจบสิ้นระยะสะสมเข้าสู่ระยะขึ้นหรือ mark up
รูปที่2 ตัวอย่างระยะสะสมของหุ้นที่ 1
รูปที่3 ตัวอย่างระยะสะสมของหุ้นตัวที่2
รูปที่4 ตัวอย่างระยะสะสมของหุ้นที่3
9 บันทึก
4
8
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ขั้นตอนและวิธีการลงทุนสาย Run trend จากไม่เป็นจนชำนาญ
9
4
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย