16 มิ.ย. 2020 เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์
ยอดนักวิทย์! เบื้องหลังชีวิตของ 'ชาร์ลส์ ดาร์วิน' ผู้ให้กำเนิดทฤษฎีวิวัฒนาการ
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ชาร์ลส์ ดาร์วิน คือนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ลุกขึ้นมาปฏิวัติความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่เคยมีมาก่อน และนำเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ ที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่น รวมไปถึงทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ และนั่นคือบางส่วนของงานวิชาการของชาร์ลส์ ดาร์วิน ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในบุคคลผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และนี่คือเกร็ดสาระน่ารู้ของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวอังกฤษคนนี้ ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน
1. ชาร์ลส์ ดาร์วิน เกิดวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1809 ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับ อับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ แต่ทั้งคู่เกิดคนละมุมโลก
WIKIPEDIA PD
2. ชาร์ลส์ ดาร์วิน เดินทางรอบโลกโดยเรือหลวงบีเกิลแห่งราชนาวีอังกฤษเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี การเดินทางของเขาจบลงในปี 1836 ที่ส่งผลให้เขาสามารถทำวิจัยในการสนับสนุนการพัฒนาทฤษฎีวิวัฒนาการและการคัดเลือกโดยธรรมชาติของเขา แต่กว่าที่งานวิจัยของดาร์วินจะถูกนำเสนอ ก็ต้องรอจนกระทั่งปี 1858 เมื่อ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานของเขาต่อหน้าสาธารณชนร่วมกับ อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ นักชีววิทยาและนักสำรวจชาวอังกฤษ
WIKIPEDIA PD
3. หลังจากเดินทางกลับมาจากการสำรวจรอบโลก ชาร์ลส์ ดาร์วิน ก็เริ่มมีอาการล้มป่วยจากอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ ปวดศีรษะและหัวใจเต้นผิดปกติ อาการเหล่านี้เรื้อรังไปตลอดชีวิตของเขา บ้างก็ว่าดาร์วินป่วยเป็นโรคชากาส ที่เกิดจากปรสิตชนิดหนึ่งที่พบได้ในทวีปอเมริกาเหนือและใต้
WIKIPEDIA PD
4. ชาร์ล ดาร์วิน เคยทำลิสต์ข้อดีและข้อเสียของการแต่งงาน กล่าวกันว่าดาร์วินได้ใช้ตรรกะและเหตุผลอธิบายในแทบทุกเรื่องแม้กระทั่งเรื่องของความรัก โดยหาเหตุผลว่าทำไมถึงต้องแต่งงาน การที่เรามีภรรยาหมายถึงการที่เรามีเพื่อนในตอนแก่ชราใช่หรือไม่? และเมื่อมีทายาทด้วยกันกับคู่สมรสแล้วมันมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร? เด็กเหล่านี้จะช่วยเราดูแลบ้านหรือไม่? และหาเหตุผลว่าทำไมเราถึงไม่ควรแต่งงาน ดาร์วินให้เหตุผลว่า มีอิสรภาพเต็มที่ อยากไปไหนก็ไปได้ และการแต่งงานมันเป็นเรื่องที่เสียเวลา แต่สุดท้าย ชาร์ล ดาร์วิน ก็แต่งงานกับ เอ็มมา เวดจ์วูด ลูกพี่ลูกน้องของเขาในปี 1839 อยู่ดี
WIKIPEDIA PD
5. พ่อของชาร์ล ดาร์วิน เคยเป็นนายแพทย์ที่ประสบความสำเร็จ และตั้งใจให้ดาร์วินเจริญรอยตาม ในช่วงวัยเด็ก ดาร์วินเคยมีโอกาศเป็นลูกศิษย์ของพ่อตัวเองที่ University of Edinburgh ภายหลัง ดาร์วินพบว่าเขาไม่ชอบวิชาการแพทย์และเบื่อการจดเลคเชอร์ ก็เลยลาออกจากโรงเรียนการแพทย์ในภายหลัง
6. ภายหลังที่จากลาออกมาจาก University of Edinburgh ดาร์วินได้เข้าเรียนที่ University of Cambridge เพื่อค้นหาและท้าทายความเชื่อทางศาสนาและเทววิทยา ดาร์วินไม่เคยบอกว่าตัวเองเป็นเอทิสต์ แต่เขาได้นิยามตัวเองว่าเป็นผู้ไม่เชื่อในเรื่องพระเจ้าแทน
7. สมัยที่เรียนใน University of Cambridge ดาร์วินได้ก่อตั้ง Gourmet Club เพื่อรวบรวมตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตเพื่อนำมาศึกษาพัฒนาการของพวกมัน และรวมไปถึงการทดลองกินสัตว์แปลก ๆ เหล่านั้น ตอนที่ผจญภัยรอบโลกด้วยเรือหลวงบีเกิล เขาได้เคยลิ้มลองรสชาติของตัวอาร์มาดิลโล นกกระจอกเทศ และเสือพูมา มาแล้วอีกด้วย
WIKIPEDIA PD
8. หลายคนอาจจดจำเรื่องทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วินที่ว่า ‘ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดคือผู้อยู่รอด’ ประโยคนี้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวอังกฤษนามว่า เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ ในปี 1864 โดยเขาได้เขียนมันลงในหนังสือ ‘Principles of Biology’ เพื่อเชื่อมโยงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยาของเขา ส่วนตัวของดาร์วินเองได้นำประโยคดังกล่าวมาใช่ในหนังสือ ‘The Origin of Species’ ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ห้า ในปี 1869 และได้กล่าวสนับสนุนแนวคิดของนายสเปนเซอร์ว่ามีความแม่นยำและเที่ยงตรงเหมือนกัน
9. ชาร์ล ดาร์วิน เสียชีวิตในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1882 ในตอนแรกครอบครัวของเขาต้องการฝังศพของดาร์วินที่หมู่บ้านแห่งสุดท้ายที่เขาใช้ชีวิตมานานกว่า 40 ปีจนสิ้นอายุขัย แต่เพื่อนฝูงและเพื่อนร่วมงานของดาร์วินไม่เห็นด้วย และเสนอให้นำร่างของดาร์วินไปฝังที่ Westminster Abbey เพื่อเป็นเกียรติแด่ผลงานด้านวิชาการที่ล้ำค่าของดาร์วิน โดยมีหลุมฝังศพนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่อย่าง จอห์น เฮอร์เชล และ เซอร์ ไอแซค นิวตัน ฝังอยู่ที่นั่นด้วย
WIKIPEDIA PD
10. ภาพของดาร์วิน เคยปรากฏอยู่ในธนบัตรมูลค่า 10 ปอนด์ ของอังกฤษเป็นเวลา 18 ปี โดยธนบัตรดังกล่าวถูกพิมพ์ออกมาใช้ในปี 2000 พร้อมกับเรือหลวงบีเกิลและการผจญภัยรอบโลกของเขา ต่อมาในปี 2018 ธนบัตรภาพของดาร์วินก็ถูกยกเลิกใช้โดยธนาคารกลางแห่งอังกฤษ
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา