17 มิ.ย. 2020 เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์เปื้อนเลือด! 10 ข้อเท็จจริงของคดีเขมรแดงฆ่าล้างเผ่าพันธุ์แห่งกัมพูชา
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ย้อนกลับไปในปี 1975 เขมรแดงได้เข้ามาควบคุมประเทศกัมพูชาด้วยความตั้งใจอย่างแนวแน่ว่าจะเปลี่ยนแปลงประเทศแห่งนี้ให้เป็นระบอบคอมมิวนิสต์เต็มรูปแบบ ส่งผลให้พลเรือนนับล้านคนถูกอพยพออกจากเมืองไปยังค่ายแรงงานตามชนบทเพื่อใช้แรงงานและทำงานหนัก จนมีผู้เสียชีวิตจากการถูกทรมานและความอดอยากราว 1.7 ล้านคน
ในช่วงการปกครองประเทศกว่า 4 ปี ของ พล พต ผู้นำเขมรแดงได้สร้างหายนะครั้งใหญ่ภายในประเทศด้วยการสังหารหมู่ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก ความโหดร้ายจากการสังหารหมู่ในครั้งนั้นเป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวาง แต่ยังมีข้อเท็จจริงมากมายเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกัมพูชาที่หลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อน
WIKIPEDIA PD
1. การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชานั้นแตกต่างจากการสังหารหมู่ครั้งไหน ๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในหน้าประวัติศาสตร์ ซึ่งมักเน้นเป้าหมายในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยเฉพาะเจาะจง แต่การสังหารหมู่ของกัมพูชานั้นมีเป้าหมายหลักคือเพื่อนร่วมชาติที่เป็นกลุ่มปัญญาชนผู้มีการศึกษา เช่น หมอ อาจารย์ และชนกลุ่มน้อยที่ไม่เป็นที่ต้องการ รวมไปถึงเด็กทารกก็ไม่ละเว้น
1
2. พล พต ต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศกัมพูชาให้กลับไปสู่วิถีทางแบบดั้งเดิม หมายถึงว่าอำนาจเงินตราไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป ด้วยเป้าหมายนี้จึงนำไปสู่การบังคับพลเรือนจำนวนมากออกจากเมืองสู่ชนบทเพื่อเริ่มต้นเดินหน้าประเทศครั้งใหม่
1
3. ไม่ใช่แค่ชาวกัมพูชาเท่านั้นทีเสียชีวิตในเหตุการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเขมรแดง ในจำนวนผู้เสียชีวิตราว 1.7 ล้านคน ยังมีชาวจามรวมอยู่ด้วยราว 200,000 คน และชาวเวียดนามอีก 20,000 คน
WIKIPEDIA PD
4.แม้ข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชาได้รับการยอมรับในระดับสากล แต่กลับไม่มีการสอบสวนในระดับสากลเนื่องจากความสูญเสียของสหรัฐฯ ในช่วงสงครามเวียดนาม และความลังเลที่จะเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงในกัมพูชาอีกครั้ง
5. หลายปีที่ผ่านมาหลังจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชา ทางการกัมพูชาเริ่มกลับสู่ประชาคมโลกอีกครั้ง ผู้รอดชีวิตจากเหตุโศกนาฏกรรมในครั้งนั้นต่างออกมาบอกเล่าประสบการณ์ที่น่าเจ็บปวดของพวกเขา จนฮอลลีวูดต้องนำเรื่องเล่าของผู้รอดชีวิตชาวกัมพูชาเหล่านี้ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ เพื่อตีแผ่ความจริงที่แสนเจ็บปวดให้ชาวโลกได้รับรู้
6. ที่กัมพูชา ได้มีการสร้างศาลคดีเขมรแดงเมื่อปี 1997 ที่รู้จักกันในชื่อของ ‘He Extraordinary Chambers in the Courts of Cambodia’ (ECCC) โดยมีจุดประสงค์หลักคือนำตัวอดีตผู้นำเขมรแดงมาตัดสินในคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในช่วงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
7. พล พต ถูกนำตัวไปขึ้นศาลเพื่อตัดสินคดีในปี ค.ศ.1997 เขาถูกกักบริเวณ ก่อนที่อดีตผู้นำเขมรแดงจะเสียชีวิตในอีกไม่กี่เดือนต่อมา และไม่เคยได้รับการพิจารณาคดีและตัดสินในความผิดของเขาอย่างจริงจัง ที่ส่งผลกระทบไปยังคนอีกหลายล้านคนในกัมพูชาจนถึงปัจจุบัน
WIKIPEDIA CC HENNING BLATT
8. ผู้ที่รอดชีวิต และผู้ที่ตกเป็นเหยื่อในการทารุณกรรมช่วงเขมรแดงเรืองอำนาจได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมในกระบวนการพิจารณาคดีในฐานะผู้ร้องเรียน และฝ่ายการเมืองได้ช่วยเยียวยารักษาบาดแผลทางจิตใจด้วยการช่วยเหลือเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้ให้ได้รับความยุติธรรมอย่างถึงที่สุด
9. ได้มีการนำตัวผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องมาตัดสินคดีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศกัมพูชาปี ค.ศ.1956 และอนุสัญญาเจนีวาปี ค.ศ.1949 ที่ได้ระบุว่าผู้ต้องหาเหล่านี้กระทำความผิดเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติและการสังหารหมู่
10. คำแถลงการณ์ปิดคดีสำหรับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชาคดีสุดท้ายเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017 และการพิพากษาคดีความครั้งสุดท้ายที่ถือว่าเป็นที่สุดได้เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2018
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA CC HENNING BLATT MAK REMISSA
โฆษณา