21 มิ.ย. 2020 เวลา 04:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ยิ่งใหญ่แต่เจ็บปวด! เบื้องหลังการค้นพบรังสีเรเดียมเพื่อรักษาโรคมะเร็งของ 'มารี คูรี' ยอดนักวิทยาศาสตร์ของโลก
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคมะเร็งคือโรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งมีนักเคมีหญิงชาวโปแลนด์ที่มีชื่อว่า มารี คูรี ที่ได้ค้นพบรังสีเรเดียม เพื่อใช้ในการยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง โรคร้ายที่ยังไม่มีทางรักษาให้หายขนาดได้ ด้วยผลงานดังกล่าว ได้ช่วยอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งของผู้คนเอาไว้ได้มากมาย จนทำให้ มารี คูรี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และรางวัลโนเบลสาขาเคมี ไปในที่สุด
1
และนี่คือเบื้องลึกเบื้องหลังความสำเร็จที่หลายคนอาจเคยไม่รู้มาก่อน ว่ากว่าที่ มารี คูรี จะประสบความสำเร็จในการวิจัยรังสีเรเดียมนั้น เธอต้องผ่านความยากลำบากทั้งทางกายและทางใจอะไรกันมาบ้าง
WIKIPEDIA PD
1. มารี คูรี และ ปิแอร์ คูรี คือสองนักฟิสิกส์เคมีที่ทำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ จนเกิดเป็นความรักและแต่งงานมีลูกด้วยกัน ภายหลังปิแอร์ได้เสียชีวิตไปก่อน ตัวของมารีจึงสานต่องานวิจัยก่อนมาพบกับรังสีเรเดียม และได้ทำการทดลองต่อยอดอีกหลายครั้ง จนพบว่ารังสีเรเดียมมีคุณสมบัติในการยับยั้งการก่อเซลล์มะเร็ง และทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลสองครั้ง
WIKIPEDIA PD
2. ในปี ค.ศ.1903 ผลงานวิจัยของ มารี คูรี และ ปิแอร์ คูรี สองนักฟิสิกส์เคมีถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบล แต่ติดเงื่อนไขที่ว่าในยุคสมัยนั้น ผู้หญิงยังไม่มีสิทธิเสรีภาพและไม่ได้รับการยอมรับให้มีบทบาทในสังคมมากนัก จนศาสตราจารย์ กอสต้า มิทเทจ-เลฟเลอร์ นักวิชาการด้านคณิตศาสตร์แห่ง Stockholm University หนึ่งในคณะกรรมการตัดสินรางวัลโนเบลทักท้วงเรื่องนี้ต่อเพื่อนคณะกรรมการด้วยกัน โดยให้เหตุผลว่าเราควรเคารพต่อผลงานวิจัยของเธอและสามี จนทำให้ มารี คูรี ได้รับรางวัลโนเบลไปในที่สุด
3. หลังจากค้นพบรังสีเรเดียมในปี ค.ศ.1898 ก็มีนักธุรกิจและผู้คนจำนวนมากสนใจที่อยากจะซื้อผลงานที่สองสามีภรรยาช่วยกันวิจัยขึ้นมา โดยพวกเขาพร้อมจะให้ราคาอย่างงาม เพื่อให้มารีบอกขั้นตอนและวิธีการผลิตรังสีเรเดียม เพื่อนำไปใช้ในแวดวงอุตสาหกรรม ซึ่งถ้าหากทำเช่นนี้ มารีจะหมดโอกาสในการจดสิทธิบัตรผลงานของตัวเองทันที แต่มารีปฏิเสธเงินก้อนโตไป โดยเธอให้เหตุผลว่า ‘เรเดียมคือธาตุ มันเป็นของประชาชน เรเดียมไม่ได้ช่วยให้ใครรวยขึ้น’
WIKIPEDIA PD
4. มารี คูรี เคยพบกับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในการประชุม Solvay Conference ที่กรุงบรัสเซลล์ของเบลเยียมในปี ค.ศ. 1911ที่เป็นการพบกันของนักฟิสิกส์ชั้นนำของโลก มารีเป็นผู้หญิงคนเดียวในที่ประชุมจากสมาชิกทั้งหมด 24 คน ในตอนนั้น ไอน์สไตน์ได้ชื่นชมและให้กำลังใจคูรี เพราะก่อนหน้านั้นเธอถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ขโมยผลงานของสามีมาเป็นของตัวเอง เนื่องจากในตอนนั้น ผู้หญิงยังไม่ได้รับการยอมรับให้มีสิทธิเสรีภาพเทียบเท่าผู้ชาย
1
5. ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มารีต้องหยุดงานวิจัยและการเปิดสถาบันวิจัยเรเดียมแห่งใหม่ออกไปจากภัยของสงคราม เธอจึงมาทำงานเป็นอาสากาชาดเพื่อช่วยเหลือทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม ด้วยการใช้เครื่องมือเอ็กซ์เรย์เคลื่อนที่ตระเวนรักษาหน่วยงานต่าง ๆ ในช่วงสงคราม ถึงแม้ว่าเธอจะต้องเสี่ยงอันตรายถึงแก่ชีวิตก็ตาม
WIKIPEDIA PD
6. เป็นเวลากว่า 100 ปี แล้ว หลังจากที่มารีได้ค้นพบรังสีเรเดียม แต่หลายคนอาจไม่เคยรับรู้มาก่อนถึงอันตรายของรังสีเรเดียม แท้จริงแล้วมันก็คือองค์ประกอบของกัมมันตภาพรังสีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ แต่ก็ยังมีนักวิทยาศาสตร์อีกจำนวนไม่น้อยพยายามค้นคว้าเกี่ยวกับกัมมันตรังสีจนถึงกลางทศวรรษที่ 1940 โดยไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพที่จะตามมาภายหลังทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว
2
ปิแอร์ คูรี เคยเก็บตัวอย่างกัมมันตรังสีไว้ในกระเป๋า เพื่อสังเกตความร้อนและการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในปี ค.ศ.1906 เขาต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บปวดเหนื่อยล้า ส่วนตัวของมารีเองก็มีอาการป่วยไม่ต่างจากสามี เธอทำงานหนักและใกล้ชิดกับกัมมันตรังสีมากเกินไป กล่าวกันว่าเธอมักเก็บตัวอย่างกัมมันตรังสีเอาไว้ที่บ้านข้างเตียงนอนในช่วงกลางคืน จนรังสีเรเดียมได้ทำลายไขกระดูกและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
1
7. ไอรีน โจเลียต-คูรี ลูกสาวของมารีและปิแอร์ ก็เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านฟิสิกส์และเคมีที่มีความสามารถไม่แพ้พ่อและแม่ของเธอ ไอรีนและสามีได้ทำงานวิจัยต่อยอดด้านกัมมันตรังสีและเคมี จนได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ.1935 โดยก่อนหน้านั้น เธอเดินทางไปช่วยแม่ทำงานเป็นอาสากาชาดในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมาแล้วอีกด้วย
1
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA PD
โฆษณา