23 มิ.ย. 2020 เวลา 04:44 • การศึกษา
คลาสเรียนศัพท์สยามมาแล้วเจ้าคร่าาา
สำหรับวันนี้ฉันขอเสนอคำว่า "เยีย" เจ้าค่ะ
"เยีย" หมายถึง ทำ, กระทำ
ตัวอย่างทางการ
1. มหาชาติ กัณฑ์ชูชก
"เจตบุตรรกเยียคคฤ้าน ขึ้นเกาทัณฑ์ยันยืนป่ายปืนพาด"
2. เสือโค
"มาไกลเยียใกล้ภูมิ ศวราชบดี ก็ได้ผะอบพรายเพรา"
"เยีย" ในปัจจุบันไม่ปรากฎพบเป็นคำเดี่ยวในพจนานุกรมภาษาไทยแล้ว แต่หากยังปรากฎพบเป็นคำผสมอยู่ในพจนานุกรมภาษาไทยปัจจุบันอยู่ เช่น ยาเยีย หมายถึง รักษา, บำรุง หรือ เยียใหญ่ หมายถึง ทำตัวเป็นคนใหญ่คนโต, เป็นผู้มักใหญ่ใฝ่สูง เป็นต้น
และนอกจากนี้ยังปรากฎพบใช้เป็นคำเดี่ยวในพจนานุกรมภาษาถิ่นล้านนา (เหนือ) และภาษาถิ่นใต้ โดยยังคงความหมายเดิมคือ "ทำ, กระทำ" เช่นเดียวกับ เยีย ในสมัยอยุธยา คือ
ภาคเหนือ - เยียะ หมายถึง ทำ, สร้าง, ประดิษฐ์ ตัวอย่างเช่น "ตัวเยียะหยัง" หมายถึง คุณทำอะไร
ภาคใต้ - เยีย หมายถึง ทำ
(อ้างอิง: นิตยา มีสุวรรณ, การศึกษาคำเดี่ยวในวรรณกรรมไทยสมัยอยุธยาที่ไม่ปรากฎเป็นคำเดี่ยวในพจนานุกรมปัจจุบัน)
ตัวอย่างทั่วไป
พิมพ์ : คุณป้าเจ้าค่ะ วันก่อนฉันเห็นแม่นวลไปที่ตำหนักหมอผีที่คุงตีนสะพานฟากบ้านใต้นู้นเจ้าค่ะ
คุณหญิงผกา : กูว่าแล้วเชียว เหตุใดพ่อแช่มถึงได้หลงรักมันนักหนา อีตัวดีมันไป "ยำเยีย" ของใส่พ่อแช่มนี้เอง
พิมพ์ : นั้นสิเจ้าค่ะคุณป้า แล้วจะทำอย่างไรกันดีเจ้าค่ะ ของเสนียดพวกนี้อัปปรีย์จัญไรนัก
คุณหญิงผกา : กูจะจัดการเอง, ป้าขอบใจแม่พิมพ์มานะลูกที่มาบอกป้า ถ้าไม่ได้แม่พิมพ์ ป้าก็ไม่รู้ความเป็นไป
ปล. สรุปอีพิมพ์นั้นแหละคือตัวร้าย ใส่ร้ายแม่นวล 55+
และนี้ก็คือคำศัพท์สยามที่ฉันนำมาฝากพี่ท่านทั้งหลายในวันนี้เจ้าค่ะ อย่างไรเสียก็ลองเอาคำศัพท์แต่ประโยคใช้กันดูนะเจ้าค่ะ
ลองพิมพ์รูปประโยคกันมาเลยลองดูน๊าาา 🥰✌🏻👏🏻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา