25 มิ.ย. 2020 เวลา 04:34 • การศึกษา
มาจ๊ะมาเจ้าคร่าาาา ถึงเวลามาเรียนรู้คำศัพท์สยามกันแล้วนะเจ้าค่ะ วันนี้คำศัพท์จะคุ้นหูนิดนึง ...
วันนี้ขอเสนอคำว่า "สู" เจ้าค่ะ
"สู" หมายถึง สรรพนามบุรุษที่ 2 เจ้า, ท่าน
ตัวอย่างทางการ
- มหาชาติ กัณฑ์วนประเวศน์
"อันว่าเขาวงกฎกันดาร มีในสถานที่ใดด่งงน้นน สูเร่งซ้นนบอกแก่ตู หนึ่งรา"
- เสือโค
"ดูรายุพาลพยัคฆ์ พฤศภทั้งสองศรี
ซึ่งสูจำนงมี วรจิตรใจอาริย์
"สู" ในปัจจุบันไม่ปรากฎใช้เป็นคำเดี่ยวในพจนานุกรมภาษาไทยแล้ว แต่เรายังพบเป็นคำเดี่ยวในพจนานุกรมภาษาถิ่นล้านนา (เหนือ) และอีสาน โดยใช้คำว่า "สู" ในบริบทเดี่ยวกันกับในสมัยอยุธยา คือ ท่าน, พวกท่าน, เจ้า, แก, มึง ตัวอย่างเช่น
ภาคเหนือ - สูเขาจะไปไปหนา หมายถึง พวกเธออย่าไปนะ!
ภาคอีสาน - พวกสูอย่าสิไปหารเฮ็ดเด้อ หมายถึง พวกเธออย่าริอาจไปทำนะ
(อ้างอิง: นิตยา มีสุวรรณ, การศึกษาคำเดี่ยวในวรรณกรรมไทยสมัยอยุธยาที่ไม่ปรากฎเป็นคำเดี่ยวในพจนานุกรมปัจจุบัน)
ตัวอย่างทั่วไป
ไอ้หมาย : คุณท่านขอรับ ไอ้ดำมันหลบหนีจากเรือนไปเมื่อคืนขอรับ
ท่านเจ้าคุณ : ไอ้จัญไร! กูเลี้ยงเสียข้าวสุกกูจริงๆ กูอุตสาห์ไปซื้อมันมาตั้งแพงโข อัปปรีย์นักมาเล่นกูจนได้
ไอ้หมาย : คุณท่านจะให้พวกข้าทำอย่างไรขอรับ
ท่านเจ้าคุณ : พวกสูเร่งซั้นไปจับตัวมันมาบัดเดี๋ยวนี้ หากเอาตัวมันมาบ่ได้ กูจะลงหวายพวกสูทุกคน
และนี้ก็คือคำศัพท์สยามที่ฉันนำมาฝากพี่ท่านทั้งหลายในวันนี้เจ้าค่ะ อย่างไรเสียก็ลองเอาคำศัพท์แต่ประโยคใช้กันดูนะเจ้าค่ะ
ลองพิมพ์รูปประโยคกันมาเลยลองดูน๊าาา 🥰✌🏻👏🏻
Le Siam
"สยาม ... ที่คุณต้องรู้"

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา