26 มิ.ย. 2020 เวลา 09:37 • การศึกษา
เคยไหมเจ้าค่ะที่เรารู้สึกเบื่ออะไรสักอย่าง หรือ เอือมระอากับนิสัยของใครสักคน หากคุณเคยมีความรู้สึกแบบนั้นมาเรียนรู้ศัพท์สยามกับฉันสิเจ้าค่ะ แล้วพี่ท่านจะได้มิ "หน่าย" เจ้าค่ะ อิอิ
"หน่าย" หมายถึง เบื่อ, เอือมระอา
ตัวอย่างทางการจากพระราชปุจฉาพระเพทราชา
"อันว่านักปราชญ์ผู้มีปัญญา พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่าวิญญานหารนำมาซึ่งปติสนธิไภย อันเปนที่สดุ้งตกใจกลัวยิ่งหนักหนา และกอประด้วยทุกข์เวทนามีประการต่างๆ และนักปราชญ์ผู้มีปัญญานั้นก็"หน่าย"ก็ยินร้ายมิได้ ยินดีต่อวิญญาหารนั้น"
"หน่าย" ไม่ปรากฎเป็นคำเดี่ยวในพจนานุกรมภาษาไทยแล้วในปัจจุบัน หากแต่ยังปรากฎเป็นคำซ้อนและคำผสมปรากฎอยู่ โดยมีการใช้ เบื่อหน่าย หน่ายแหน แหนงหน่าย เหนื่อยหน่าย และหน่ายหนี เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วยังปรากฎมีเป็นคำเดี่ยวในพจนานุกรมภาษาถิ่นเหนือ ถิ่นอีสาน และถิ่นใต้ โดยให้ความหมายเช่นเดียวกันกับในสมัยอยุธยา นั้นคือ เบื่อหน่าย เอือมระอา คลายจากความพัวพัน คลายจากความรัก
(อ้างอิง: นิตยา มีสุวรรณ, การศึกษาคำเดี่ยวในวรรณกรรมไทยสมัยอยุธยาที่ไม่ปรากฎเป็นคำเดี่ยวในพจนานุกรมปัจจุบัน)
ตัวอย่างทั่วไป
แก้ว : แม่พิมพ์ฉันจะทำเยี่ยงไรดี ไอ้ก่ำฟากน้ำกะโน่นมันตามเกี้ยวฉันอยู่ได้ ฉันละรู้สึกหน่ายกับมันจริงๆ
พิมพ์ : ก็ฉันบอกแม่แล้วไม่เชื่อฉันเอง ว่าอย่าไปหว่านเสน่ห์ให้มัน แม่ก็ไม่เชื่อฉัน
แก้ว : ก็ฉันหารู้ไม่นิ ว่ามันจะจริงจังเอาปานนั้น เช้าบ่ายเย็นถึง น่ารำคาญนัก ฉันละหน่ายมันจวนจะบ้าอยู่ละ
และนี้ก็คือคำศัพท์สยามที่ฉันนำมาฝากพี่ท่านทั้งหลายในวันนี้เจ้าค่ะ อย่างไรเสียก็ลองเอาคำศัพท์แต่ประโยคใช้กันดูนะเจ้าค่ะ
ลองพิมพ์รูปประโยคกันมาเลยลองดูน๊าาา 🥰✌🏻👏🏻
Le Siam
“สยาม ... ที่คุณต้องรู้”

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา