Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วรภพ วิริยะโรจน์
•
ติดตาม
24 มิ.ย. 2020 เวลา 08:04 • การเมือง
ทำไมเข้า CPTPP กระทบโอกาสการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ของไทย (4/5)
CPTPP กระทบนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ข้อกำหนด บทที่ 15 ของ CPTPP ระบุไม่ให้ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของประเทศสมาชิก ให้สิทธิพิเศษกับผู้ประกอบการในประเทศ และ ห้ามทำนโยบาย Offset (หรือนโยบายชดเชย) กับประเทศสมาชิก CPTPP ด้วยกัน
ข้อจำกัดสองประเด็นต่อการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ คือสิ่งที่จะกระทบต่อนโยบายสาธารณะของประเทศไทย เพราะสองประเด็นนี้ จะทำให้โอกาสที่ประเทศไทยจะสร้างอุตสาหกรรมใหม่ยากขึ้นมาก
เจตนาของข้อกำหนดนี้คือการให้ภาคเอกชนของทุกประเทศสมาชิกของ CPTPP มีโอกาสร่วมแข่งขันการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในประเทศสมาชิกด้วยกันอย่างยุติธรรม
แต่ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังต้องการสร้างอุตสาหกรรมมูลค่าสูงใหม่ๆจำนวนมาก เพื่อที่จะยกระดับประเทศไทยไปเป็นประเทศพัฒนา และหลุดกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปได้
การสร้างอุตสาหกรรมใหม่โดยใช้เครื่องมือการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเป็นเครื่องมือนโยบายปกติของประเทศกำลังพัฒนา คือการวางนโยบายว่าภาครัฐจะจัดซื้อจัดจ้างสินค้าอุตสาหกรรมใหม่ที่ผลิตขึ้นภายในประเทศในปริมาณที่มากเพียงพอและนานเพียงพอ ให้อุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในประเทศเริ่มตั้งตัวได้ แล้วถึงปล่อยให้อุตสาหกรรมต่างประเทศเข้ามาแข่งขันได้
ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าประเทศไทยมีนโยบายต้องการสร้างอุตสาหกรรมรถเมล์ไฟฟ้าภายในประเทศไทย เครื่องมือนึงที่ประเทศไทยสามารถทำได้ คือ การกำหนดว่าภาครัฐจะจัดซื้อรถเมล์ไฟฟ้า 10,000 คัน ภายในระยะเวลา 5 ปี โดยให้สิทธิพิเศษกับผู้ผลิตในประเทศมากกว่าผู้ผลิตต่างประเทศ เพื่อให้ภาคเอกชนมั่นใจในการลงทุนและพัฒนาการผลิตรถเมล์ไฟฟ้าในประเทศไทย
ซึ่งแน่นอนว่ามันหมายถึง ราคาและคุณภาพรถเมล์ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศจากการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐนี้จะไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับงบประมาณที่ใช้ แต่มันคือนโยบายการลงทุนจากภาครัฐเพื่อให้อุตสาหกรรมใหม่เกิดขึ้นได้ ดังนั้นการให้สิทธิพิเศษกับผู้ประกอบการในประเทศควรจะเป็นเพียงมาตรการที่ชั่วคราว ไม่ใช่ถาวร เพื่อให้ภาคเอกชนก็เข้าใจว่า ภาคเอกชนยังคงมีหน้าที่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่เพื่อให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ในระยะยาว
อีกวิธีการนึงที่ประเทศกำลังพัฒนาเลือกใช้ คือ นโยบาย Offset หรือ นโยบายชดเชย คือการกำหนดว่าผู้ชนะประมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐขนาดใหญ่ จะต้องทำการชดเชยให้กับประเทศตามที่ตกลงกัน เช่น ภาครัฐกำหนดเงื่อนไขว่า ผู้ชนะประมูลการจัดซื้อจัดจ้างรถไฟ ต้องลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถไฟในประเทศ หรือ ต้องใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ หรือ ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตหรือการซ่อมรถไฟให้กับคนในประเทศด้วย
การใช้นโยบาย Offset ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมอาวุธ, อุตสาหกรรมรถไฟ, เรือ ฯลฯ ถูกใช้ในประเทศ เกาหลีใต้ ในการจัดซื้อเรือดำน้ำ จนปัจจุบันเกาหลีใต้สามารถพัฒนาส่งออกเรือดำน้าเองได้ หรือ มาเลเซีย ใช้นโยบาย Offset จนมีโรงงานผลิตรถไฟในประเทศมาเลเซียได้เอง
แต่ประเทศไทยยังไม่ได้มีนโยบาย Offset อย่างเป็นจริงเป็นจริง ทำให้เสมือนนโยบาย Offset จะไม่ได้รับผลกระทบกับประเทศไทยปัจจุบัน แต่มันคือการจำกัดนโยบาย Offset ในอนาคตของประเทศไทย ถ้าประเทศไทยต้องการสร้างและพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่สามารถสร้างได้จากนโยบาย Offset
ประเทศไทยปัจจุบันมีเพียง บัญชีนวัตกรรม ที่เจตนาคือ เพื่อส่งเสริมสินค้านวัตกรรมของคนไทย ให้หน่วยงานรัฐสามารถให้สิทธิพิเศษในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าในบัญชีนวัตกรรมได้ ถึงแม้ว่า ราคาจะไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่ดีที่สุดก็ตาม เพื่อเป็นการสนับสนุนให้สินค้านวัตกรรมของคนไทย มีโอกาสในการแข่งขันและพัฒนาต่อไปได้ โดยใช้การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเป็นกลไกในการส่งเสริมสินค้านวัตกรรมไทย
นโยบายบัญชีนวัตกรรมจะถูกข้อตกลง CPTPP ไม่อนุญาตให้ประเทศไทยดำเนินการต่อไปได้ ยกเว้นประเทศไทยจะเจรจาเพื่อขอยกเว้นจากประเทศสมาชิกทั้งหมด ถึงจะสามารถทำต่อได้
แต่สำหรับประเทศกำลังพัฒนาในหมู่ประเทศสมาชิก CPTPP สามารถเจรจาข้อยกเว้นในช่วงเปลี่ยนผ่านได้ อย่างเช่น ประเทศมาเลเซีย เวียดนามและบรูไน ได้ทำการเจรจาผ่อนผันไว้ได้ ซึ่งประเทศไทยเลยมีแนวโน้มที่จะสามารถขอเจรจาผ่อนผันได้เช่นกัน
แต่การเจรจาผ่อนผันเป็นเพียงการชลอการบังคับใช้เท่านั้น เช่น นโยบาย Offset มาเลเซียขอระยะเวลาผ่อนผันไว้ 12 ปี เวียดนามขอระยะเวลาผ่อนผันไว้ 25 ปี แล้วจะยกเลิกการใข้นโยบาย Offset กับประเทศสมาชิก CPTPP หรือ มูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ขั้นสูงที่ประเทศสมาชิกสามารถยังคงให้สิทธิพิเศษกับผู้ประกอบการในประเทศได้นั้น มาเลเซียขอระยะเวลาผ่อนผันได้ 7 ปี เวียดนามขอได้ 25 ปี แต่ทั้งสองประเทศยังคงต้องทยอยปรับลดลงในแต่ละปี จนสุดท้ายเหลือเพียงโครงการจัดซื้อจัดจ้างสูงสุดที่ให้สิทธิพิเศษกับผู้ประกอบการในประเทศ ไม่เกิน 6 ล้านบาทต่อโครงการเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่า โครงการจัดซื้อจัดจ้าง 6 ล้านบาท ไม่เพียงพอที่จะใช้เป็นกลไกสร้างอุตสาหกรรมใหม่ได้แน่นอน
ดังนั้นการเข้าร่วม CPTPP จะทำให้สุดท้ายประเทศไทยเสียกลไกที่จะใช้การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในการลงทุนสร้างอุตสาหกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยได้ ถึงแม้ว่า GDP ประเทศไทยอาจะเพิ่มขึ้นจากการส่งออกที่มากขึ้น แต่ถ้าไม่ให้ความสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเลย แล้วเมื่อไหร่ประเทศไทยจะมีอุตสาหกรรมมูลค่าสูงใหม่ๆเกิดขึ้นในประเทศ เมื่อไหร่ประเทศไทยถึงจะมีอุตสาหกรรมใหม่เป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนยกระดับเป็นประเทศรายได้สูงได้
ตอน 1 CPTPP 101 ประโยชน์และผลกระทบเขตการค้าเสรี
https://www.facebook.com/TleWoraphop/posts/3350702514940495
ตอน 2 CPTPP และ UPOV ปล้นเกษตรกรจริงหรือไม่
https://www.facebook.com/TleWoraphop/posts/3355931601084253
ตอน 3 ทำไมเข้าร่วม CPTPP ยาในประเทศไทยถึงจะแพงขึ้นได้
https://web.facebook.com/TleWoraphop/posts/3358089594201787
#ก้าวไกล #CPTPP #NoCPTPP
1 บันทึก
9
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
CPTPP
1
9
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย