19 ส.ค. 2020 เวลา 14:29 • การเมือง
บทเรียนประเทศไทยจากกรณี CPTPP กับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อนโยบายสาธารณะ
.
เป็นที่สรุปแล้วว่าประเทศไทยไม่ได้ไปเจรจาเพื่อเข้าร่วม CPTPP รอบ ส.ค. 63 นี้
ทำให้ไทยต้องรอไปอีกอย่างน้อย 1 ปี เพื่อให้ ครม. มีมติ ไปเริ่มเจรจาในรอบปี 2564 ต่อไป
.
จากประสบการณ์ในกรรมาธิการ ศึกษาประโยชน์และผลกระทบ CPTPP ที่ผ่านมา
ผมมองว่า ประเด็นกรณี CPTPP ควรจะถูกมองเป็นบทเรียนอย่างหนึ่งของกระบวน
การจัดทำนโยบายสาธารณะของประเทศไทยที่ว่า ถ้าขาดการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน จะไม่มีนโยบายรัฐขนาดใหญ่ไหนที่จะถูกขับเคลื่อนได้เลย
.
การพาประเทศไทยเข้าร่วม CPTPP ก็เหมือนกับนโยบายรัฐขนาดใหญ่ คือ มีผู้ได้ประโยชน์ และผู้เสียประโยชน์ แต่การที่จะดำเนินการนโยบายรัฐขนาดใหญ่ได้ การมีส่วนร่วมของประชาชนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะประสบความสำเร็จ เพราะถ้าขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่แรก จะทำให้เกิดการต่อต้านจากประชาชน
.
และกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนจะเกิดขึ้น จะต้องเริ่มจาก ข้อเท็จจริง
ทั้งด้านประโยชน์และผลกระทบ หน่วยงานรัฐมีหน้าที่ต้องอธิบายตรงไปตรงมา และหามาตรการรองรับผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างยุติธรรม ก่อนนำเสนอให้ประชาชน
และผู้มีอำนาจรัฐ ยอมรับและตัดสินใจร่วมกัน
.
สำหรับผมยังคงมองชัดเจนว่า CPTPP ประเทศไทย “ได้ไม่คุ้มเสีย” จากทั้ง เหมือน การนำ เกษตรกรรม ไปแลกกับ อุตสาหกรรม เพราะชัดเจนจากความเห็นของ
กระทรวงเกษตรฯ ที่ภาคเกษตรจะกลายเป็นผู้รับผลกระทบเต็มๆ ในขณะที่ภาค
อุตสาหกรรมจะได้ประโยชน์จากโอกาสทางการค้าที่มากขึ้น
.
และประเทศไทยจะต้องสูญเสียเครื่องมือกลไกในการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ จาก
การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ผมกล้าถกเถียงกับกลุ่มคนที่สนับสนุนให้เข้าร่วม CPTPP

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา