26 มิ.ย. 2020 เวลา 22:55 • ไลฟ์สไตล์
ถ้ารู้สึกอยากลองท้าทายตนเอง
ลองเริ่มจากฝึกใช้มือข้างที่ไม่ถนัดกันไหม
กับคำถามที่ว่า?
วันนึงคุณใช้มือข้างที่ถนัดมากน้อยแค่ไหน (คุณใช้) เกือบตลอดเวลาของทุกกิจกรรมในแต่ละวันหรือไม่
ยิ่งในบางนิ้วมือของคุณ เช่น นิ้วโป้ง คุณน่าจะใช้มันหนักหน่วงมาก
และยิ่งในยุคนี้ที่เกือบทุกกิจกรรมต้องปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ จะต้องใช้มือเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นส่วนใหญ่ในชีวิต....ลองหยุดคิดซักครู่และคุยกับตัวเองดูกันครับ ว่าในแต่ละวัน
"คุณใช้งานมันหนักเกินกว่าในอดีตที่เคยเป็นไหม"
สุขภาพมือของคุณตอนนี้เป็นอย่างไร??
คุณเคยคิดเผื่อในวันที่มือข้างนั้นจะบาดเจ็บไม่สามารถใช้งานได้บ้างไหม??
ผมว่าการคิดเผื่อไว้ล่วงหน้า โดยการลดการใช้งานมือข้างที่ถนัด เปลี่ยนมาฝึกใช้มือข้างที่ไม่ถนัดกันบ้างก็ดีนะครับ
ตัวผมเองเมื่ออดีตเคยมีช่วงเวลาที่มือขวา ข้างที่ถนัด "หัก" ผมเลย สามารถเขียนมือซ้ายได้บ้างเล็กน้อย
และผมเห็นพี่ต่างงานใช้งานเม้าส์ มือซ้าย และผมก็คิดว่ามันน่าสนใจดี ที่จะลดการทำงานของมือข้างขวาที่ถนัด ผมเลยฝึกจนสามารถใช้เม้าส์มือซ้ายได้เป็นหลัก
ผมฝึกเพิ่มเติมการใช้มือข้างที่ไม่ถนัดในกิจกรรมประจำวันการใช้ชีวิต เช่น การแปรงฟัน การใช้งานมือถือ หรือ บลาๆ
อ่านแล้วเป็นเหมือนเรื่องที่ไม่สำคัญ ใหญ่โตมากมาย แต่สำหรับผม เมื่อเริ่มลองทำและทำมันได้จะรู้สึกว่าตัวเราเองสามารถพัฒนาอะไรเพิ่มได้อีก 1 ทักษะ (ในเรื่องเดิม)
และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฝึกในมือข้างที่ไม่ถนัด คือ ในการทำตอนแรกมันจะเข้าขั้นทรมาณ ไม่ถนัดและเมื่อยมือมากๆ เป็นกระบวนการที่ต้องทำช้าๆ และต้องใช้ทั้งกำลังใจ พลังสมอง ประสาทสัมผัส ตลอดจนกล้ามเนื้อต่างๆ มากมาย และจะรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมชาติ จนรู้สึกท้อ และอยากยกเลิกไป (เพราะเราสามารถยกเลิกได้ทันทีตลอดเวลา แค่เปลี่ยนกลับมาใช้มือข้างที่ถนัดแค่นั้นเอง)
คุณจะเจอความรู้สึกแบบนี้ตลอดเวลา จนถึงเวลาที่คุณผ่านมาได้ วันที่คุณสามารถใช้งานมือข้างที่ไม่ถนัด ได้แบบเป็นธรรมชาติ (โดยไม่ต้องคิดอะไร) คุณถึงจะเข้าใจความรู้สึกที่ได้ชนะใจตนเอง
หมายเหตุ ร่างกายคนเรา บางอย่างเมื่อเสียหายแล้วก็ไม่สามารถเรียกกลับมาใหม่ได้ การฉุดคิดในการให้ความสำคัญกับมัน เพื่ออนาคตให้สามารถอยู่ใช้งานได้เต็มที่ ก็เป็นเรื่องที่น่ากลับมาลองใส่ใจกันดูนะครับ
โฆษณา