18 ก.ค. 2020 เวลา 08:15 • สุขภาพ
โรคร่าเริงคืออะไร ทำไมถึงไม่ดีกับร่างกาย?
โรคร่าเริง มนุษย์ยุคใหม่มักเป็นกันมาก เนื่องด้วยช่วงเวลากลางคืนนั้นมันช่างเงียบสงบ ปราศจากเสียงกวน ทำให้มีสมาธิในการทำงานได้สูงดี แต่กับร่างกายแล้วย่อมจะส่งผลเสีย เพราะนาฬิกาชีวิตของคนเรานั้น ยามกลางคืนคือช่วงเวลาที่ต้องพักผ่อนต่างหาก ซึ่งจะส่งให้กลายเป็นโรคต่างๆ ตามมาได้อีก โดยเฉพาะคนชอบโต้รุ่งโหมทำงานตอนกลางคืนอยู่เป็นประจำ
อาการของโรค
ลักษณะจะเป็นคนเนือยๆ ขาดความกระฉับกระเฉง สมองตื้อๆ ง่วงงาวหาวนอนในตอนกลางวัน แต่จะคึกคัก พร้อมลุยพร้อมทำงานในยามค่ำคืนแทนซึ่ง จะส่งผลเสียกับใช้ชีวิตไม่ว่าจะอยู่ในวัยเรียนหรือทำงาน ทำให้สมองทำงานได้ไม่เต็มที่ ที่ต้องใช้ชีวิตแบบง่วงเพลียในตอนกลางวัน วงจรชีวิตเปลี่ยนส่งผลให้เกิดความแปรปรวนของฮอร์โมนในร่างกายเช่นประจำเดือนผิดปกติ อารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย เป็นสิวและริ้วรอยง่าย
พฤติกรรมที่ส่งผลให้เป็นโรคนี้
1.นอนดึก ไม่เข้านอนตามเวลา
หลายคนติดนิสัยเล่นคอม เล่นแท็บเล็ต เล่นมือถือก่อนเข้านอน ซึ่งแสงสีฟ้าในมือถือนั้น จะกระตุ้นในสมองเราตื่นตัว ไม่ง่วง ไม่ยอมหลับ หรือทำให้หลับลึกยาก ทำให้การนอนในยามกลางคืนที่ควรเป็นเวลาพักผ่อนนั้นไม่มีคุณภาพ
2.ตื่นสาย กินอาหารเช้าไม่ทัน
การตื่นสายก็เนื่องจากร่างกายยังพักผ่อนไม่เพียงพอ จึงยังไม่พร้อมที่จะตื่นนอน เมื่อรู้สึกง่วงก็จะรู้สึกไม่หิว ไม่กินข้าวเช้าก็จะส่งผลระบบการย่อยอาหาร การขับถ่าย ซึ่งก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารอย่างโรคกระเพาะ, โรคลำไส้อักเสบ และอาจการขับถ่ายจะผิดปกติไปด้วย
3.ง่วงเพลียในยามกลางวัน
ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย หรือครูอาจารย์ยอมไม่ปลื้มแน่ ถ้าคุณเอาแต่ง่วงหาวตลอดเวลาไม่มีกะใจกายพร้อมที่จะเรียนและทำงานแบบนี้ ถ้าไม่โดนลงโทษก็อาจจะโดนไล่ออกเอานะ คิดดูดีๆ มันก็เป็นพฤติกรรมที่น่ารังเกียจนะ ดูเป็นคนเสียมารยาททำอะไรก็ไม่เต็มที่ไม่มีความตั้งเลยแบบนี้น่ะ
4.ติดกาแฟ และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
เมื่ออยากนอนแต่นอนไม่ได้ก็ต้องฝืนร่างกายโดยการใช้ตัวช่วยอย่างกาแฟ และเครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งบางดื่มเยอะมากๆ จนติดเป็นนิสัย ก่อให้เกิดนิสัยที่ไม่ดี และผลกระทบในแง่ของการสะสมคาเฟอีนในร่างกาย ทำให้ติดคาเฟอีนไปอีก ถ้าเข้าสู่ด้านมืดหนักๆ เข้าอาจจะถึงขั้นลองติดยากันเลยทีเดียว ซึ่งก็แย่มากๆ อย่างแน่นอนล่ะ
5.พร้อมทำงานแต่ในช่วงกลางคืน
ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การเขียน จะรู้สึกว่าทำได้ดีกว่าในตอนกลางวัน แต่ไม่ดีกับทางร่างกายเลย เพราะช่วงเวลา 22.00 - 06.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการนอนพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูซ่อมแซม และมีการหลั่งฮอร์โมนออกมาเพิ่มเผาผลาญไขมันส่วนเกิน ถ้าไม่นอนในเวลานี้แล้ว เสี่ยงต่อการจะเป็นโรคอ้วน ร่างกายจะอ่อนเพลียกว่าปกติเพราะขาดการนอินหลับพักผ่อนด้วย
- วิธีแก้ -
1.ตั้งนาฬิกาปลุก
อย่างน้อยก็เป็นการฝึกให้ตัวเองตื่นเวลาเดิมๆ ทุกวันจนนาฬิการ่างปรับตัวจนชินได้
2.ฝืนตัวเองไม่นอนต่อ
ตั้งเวลาปลุกไปก็ไร้ประโยชน์หากปลุกแล้วก็ยังคงหลับต่ออยู่แบบนั้น เพราะคุณก็จะยังตื่นสายเหมือนอยู่ดี เพราะฉะนั้นต้องฝืนตื่นให้ได้นะ
3.ดื่มน้ำเยอะๆ
ดื่มน้ำให้มากไม่ให้เลือดเหนียวข้นเกินไป ร่างกายจะรู้สึกกระฉับกระเฉง สดชื่นขึ้นได้
4.ออกกำลังกายยืดเส้นสายเบาๆ
หลังลุกจากเตียง แก้อาการอ่อนล้าอ่อนเพลียด้วยขยับร่างกาย ยืดเส้นยืดสาย ให้เลือดมีการไหลเวียน ร่างกายตื่นตัวมากขึ้น
5.หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาลในมื้อกลางวัน
เพื่อไม่ให้สารเซโรโทนินหลั่งออกมามากเกินไป รวมทั้งไม่รับประทานอาหารมากจนอิ่มเกินไป เพราะจะทำให้รู้สึกง่วงนอนได้ง่ายขึ้น
6.ฟังเพลงที่ชอบให้รู้สึกสดใสคึกคัก
เพลงที่คึกคักสนุกสนานจะทำให้ไม่รู้สึกเบื่อจนง่วงเพลีย หากนั่งอยู่เฉยๆ แล้วง่วงลองเปิดฟังดู
7.งดดื่มกาแฟ เครื่องดื่มชูกำลังหลังเวลา 15.00 น.
เพื่อให้ร่างกายไม่มีคาเฟอีนตกค้างที่ส่งผลให้ตื่นตัวในเวลากลางคืนได้
8.ดื่มนม หรือชาอุ่นๆ ก่อนเข้านอน
จะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและหลับสบายขึ้น
9.เข้านอนให้เป็นเวลา
กำหนดเวลาในการเข้านอน เช่น ก่อนนอน 15 นาทีให้หยุดกิจกรรมทุกอย่างเพื่อเตรียมเข้านอน แม้จะไม่หลับก็ไม่ควรเล่นมือถือ แต่ให้หาหนังสืออ่านแทนจะดีกว่า
เพียงแค่ใช้ชีวิตให้เป็นเวลาตามที่ร่างกายควรจะเป็น คุณก็สามารถห่างไกลโรคนี้ได้แล้ว คุณอาจจะรู้สึกว่าการนอนกินเวลาชีวิตมากไป แต่ถ้าไม่ใส่ใจกับการนอนให้เพียงพอ คุณก็จะไม่สามารถใช้ชีวิตในแต่ละวันได้อย่างมีคุณภาพได้เช่นกัน เพราะด้วยร่างกายที่ไม่สมบรูณ์นั่นเอง การนอนไม่มีอะไรทดแทนได้เท่ากับการนอนให้เพียงพอ ดังนั้นควรแบ่งเวลาให้ถูก ยามถึงเวลากินก็กิน ถึงเวลานอนก็นอน คนเราเรื่องพื้นฐานการใช้ชีวิตต้องมาก่อนเรื่องอื่นๆ นะคะ จะได้แข็งแรงสมบูรณ์ร่างกายไม่เจ็บป่วยง่าย พร้อมทำกิจกรรมต่างๆ ได้อีกมากมายเลย
บทความ โดย : Akine_noxx
เผยแพร่ครั้งแรกในเว็บ Spice/Pepper
ฝากติดตาม กดไลค์ กดแชร์ คอมเม้นท์เป็นกำลังใจกันด้วยนะคะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา