17 ก.ค. 2020 เวลา 11:01 • การตลาด
มารู้จักแบรนด์จองโรงแรมออนไลน์กัน! มาวิเคราะห์จุดเด่นและการตลาดกัน
Booking.com & Agoda ตอนที่ 2/2
มาต่อกันเลยกับแบรนด์ยักษ์ใหญ่คู่แข่งสำคัญของ Expedia Group ในตอนแรก นั้นก็คือ Booking Holding นั้นเองงง ซึ่งในบทความนี้จะขอเน้นไปที่แบรนด์ที่เพื่อนไคุ้นหูเป็นอย่างดีอย่าง Booking.com และ Agoda นี้เองงง
มาทำความรู้จักเค้ากันสักนิดนึง
- เริ่มก่อตั้งในปี 1996 (โอ้ะ ปีเดียวกับ Expedia) แต่ที่แตกต่างกันคือไม่ได้มีบริษัทยักษ์ใหญ่ก่อตั้งอย่าง Microsoft แต่กลับเป็นคนที่ชื่นชอบด้าน technology ในเมือง Amsterdam (คิดว่าคงไม่น่าใช่แค่ชื่นชอบ แต่น่าจะเป็นคนที่เก่งมากๆเลยละในสมัยนั้น)
- ซึ่งคนนี้ก็คือ Geert-Jan Bruinsma ซึ่งตอนนั้นสร้างเว้ปไซต์โดยใช้ชื่อว่า booking.nl ซึ่ง Geert เนี่ยเค้าต้องการให้ชาว Dutch หันมาท่องเที่ยวและสนุกกันมากขึ้นแบบไม่มีขีดจำกัด และนำความรู้ IT ที่ตัวเองมีมาประยุกต์ใช้นั้นเอง
- Expedia เคยเกือบจะซื้อแบรนด์ Booking.nl แต่ก็ต้องปฏิเสธไปในปี 2002 (อาจจะด้วย company profile ที่เล็ก)
- แต่ก็นะ ใครจะไปรู้ว่า ในปี 2005 ที่ Priceline Group (หรือแบรนด์แม่ของ Agoda) มาซื้อแบรนด์ Booking.nl ไปในตอนนั้น และพัฒนา platform ต่อจนกลายเป็น booking.com ในปี 2006
- และในช่วงปี 2014 Booking.com ก็ได้เป็นแบรนด์ที่มียอดการจอง สูงทะลุ Expedia ที่เริ่มมาพร้อมๆกันและเป็นแบรนด์ยักษ์ใหญ่ก่อนหน้านี้ !
เรื่องราวเกี่ยวกับ Loyalty program
ระบบ Genius loyalty program
- โดยเค้าแบ่งเป็นแค่ 2 ระดับ (จะน้อยกว่า Expedia) โดยเริ่มมาคือ level 1 พักเกิน 2 คืนขึ้นไป และถ้าพักประมาณ 5 คืน / ใน 2 ปี (แต่เหมือนมีขั้นต่ำว่าต้องจ่ายต่อคืนเกินราวๆ 800 บาทนะ) ก็จะได้อัพเกรดเป็น Level 2
- หรือเราสามารถเป็น Genius ได้ง่ายๆ โดยการเป็นสมาชิกของ Grab ระดับ Platinum ซึ่งตั้งแต่ผ่านโควิดช่วงกักตัวกันมา คิดว่าหลายคนคงปีนไปถึงระดับ Grab Platinum สบายๆกันแล้ว (เราก็ 1 คนละ)
- เพื่อนๆจะเห็นได้ว่าเงื่อนไขของเค้า ถ้าเทียบกับ Expedia แล้ว ง่ายมากๆเลยละ ก็เพราะ Booking.com ต้องการทำให้เรื่องเที่ยวเป็นเรื่องง่าย
- ในขณะที่ Expedia gold members ต้องไต่ไป 7 คืน/ปี ซึ่งแบรนด์นี้เค้าจะเน้นในเรื่อง loyalty แบบ 100% เลย คือเธอต้องซื้อกับชั้นเท่านั้น และการได้ระดับที่สูงขึ้นเป็นเรื่องยาก
อันนี้เป็น Account ของเราเอง Level 2 แว้ว (มีแอบเบลอหน้าน้ะ อิอิ)
การตลาดของ Booking.com เป็นอย่างไรนะ ?
1. Websites Interface
- อย่างแรกที่เห็นได้คือ ความเรียบง่ายของเว็ปไซต์
โดยสิ่งที่สังเกตได้คือ การใช้โทนสี และเลือกใช้สีที่จำกัด และแน่นอนว่า สายตาของก็จะพุ่งไปอยู่กับการค้นหาโรงแรม (จริงๆแล้วเค้ามีให้จองเป็น flight ด้วยนะ)
มากกว่านั้นคือมีการหยิบ Travel offer 15% deal ขึ้นมาไว้เพียงอย่างเดียวซะด้วย
2. Content feed interface
- เรามองว่า Booking.com เอไม่ได้เน้นที่ campaign แต่เน้นการจูงใจด้วย content มากกว่า เช่นตอนนี้ ประเทศปิด เที่ยวได้แค่ในเมืองไทย ก็โปรเมทด้วยแบนเนอร์ของจังหวัดต่างๆซะเลย
- หรือ Content ในด้านของบทความชวนเที่ยวต่างๆ รวมถึง community ที่คล้ายๆเว็ปบอร์ดด้วย
เป็นเหมือน Discussion board ของนักท่องเที่ยว
บทความที่จะชวนให้เพื่อนๆวาดฝันตาม Booking.com
3. การดึงดูดความสนใจด้วย Icon/badge
- เช่น Genius สีน้ำเงิน หรือ สัญลักษณ์ยกนิ้วโป้ง ซึ่งเป็นการที่ booking.com แนะนำโรงแรมนี้ (คาดว่ามาจากการจ่ายเงินโปรโมทของโรงแรมนะ)
- ด้วยความแตกต่างและการเพิ่มขึ้นของ icon and badge เนี่ยก็สร้างความต้องการให้โรงแรมที่ไม่ยอมแพ้กันและกัน และต้องมีส่วนร่วม คือแบบ เธอมี badge นี้หรอ อ้ะชั้นจะต้องซื้อบ้าง ไม่งั้นก็แพ้เธอ และจะได้โปรโมทด้วย แน่นอนก็จะทำการ join program กันอย่างเยอะ นี่มัน Win situation มากๆเลยละ
4. Agoda
มาทำความรู้จักเค้ากันสักนิดนึง
- ก่อนหน้าที่จะมาเป็น Agoda เนี่ย เค้าเริ่มมาจากเว็ป PlanetHoliday.com และ PrecisionReservations.com จนกระทั่งมารวมเป็นแบรนด์ Agoda ในปี 2003
- และในปี 2007 ก็ถูกซื้อโดย Booking Holding
- แล้วรู้ไม๊ว่าแบรนด์นี้ถูกก่อตั้งโดย Kenny และ Robert Rosenstein ซึ่งในขณะนั้นอยู่ที่ Phuket นี่เองงง(ปี 1998)
เรื่องราวเกี่ยวกับ Loyalty program
1. Agoda Cash
- มีความคล้ายกับ Expedia Rewards มากก เพียงแต่อันนี้เค้าจะแปลงมาเป็นจำนวนเงินให้เลย
2. Agoda VIP
- อันนี้มี 3 ระดับ ซึ่งใช้ชื่อแบบเดียวกับ Expedia เลยด้วย แต่ผลประโยชน์ต่างกันนะ
- โดย ถ้าเป็น Expedia จะเน้นเป็น benefits of stay เนอะ แต่ว่าของ Agoda เค้าจะเน้นเป็น ส่วนลดที่เพิ่มขึ้น 12% และ 18% นั้นเอง ก็เยอะน้ะะะ
- พูดถึงจำนวนต่อคืนก็น้อยกว่า Expedia คือ 5 คืนก็สามารถเป็น Gold ได้แล้ว (เพื่อให้สอดคล้องกับแบรนด์ในเครือ อย่าง Genius level 2 booking.com)
เรื่องราวของการตลาดของ Agoda
1. Coupon Discount
- อันแรกเลยคงไม่พ้น Coupon applied ที่เป็นการหักค่าคอมมิชชั่นที่ตัวเองได้รับจากโรงแรม นำมาเป็นส่วนลดให้กัลูกค้า ราว 10%
- สิ่งที่เค้าจะได้คือ ราคาที่ถูกมากๆเมื่อเทียบกับ Expedia หรือ Booking.com เอง แน่นอนว่า เค้าได้ traffic ก็เป็นงบค่าการตลาดนั้นเอง
2. Today's deals (redeem)
- อันนี้ก็คล้ายๆข้อแรก เป็นการสุ่มรับคูปองพิเศษ ซึ่งก็คือเอาค่าคอมมาหักเหมือนกัน และ ถ้าสังเกตดูในทุกๆดีลคือจะไม่เกิน 10% เหมือน margin ของเค้าน่าจะสุดที่แค่นั้น
3. Colourful Attracting message/badge
- แน่นอนว่าการตลาดของอโกด้าก็คงไม่พ้นการหักค่าคอมเป็นส่วนลดให้กับลูกค้า
- แต่สิ่งที่ทำให้การโปรโมทนั้นสะดุดตาลูกค้าขึ้นมาก็คือ ข้อความหลากสีสันเหล่านี้ (แต่เราว่าปวดตาไปหน่อยนะ ดูตาลาย จนบางทีอาจจะไม่เชื่อ)
- เพื่อนๆสังเกตเห็นอะไรในภาพข้างล่างนี้บ้าง ? (นี้คือ 1 โรงแรมเองนะ)
มาวิเคราะห์กัน
- เน้นความรู้สึกปลอดภัย หรือ NO RISK ในการจองด้วยข้อความที่บอกว่า "Easy cancel" "Frequently book" "Pay later"
- จะมีการใช้โทนสีแดงเพื่อ grab attention เช่น "Popular" "72% off today" ที่ทำให้รู้สึกว่า Deal นี้แบบ พิเศษมากก (ซึ่งบางโรงแรมเราพบว่าราคาเท่ากันกับเจ้าอื่นๆนะ) และยังใช้สำหรับ scarcity marketing เช่นข้อความ "Last book 5 hour ago" "Mega sale" "OFF TODAY"
- เพื่อนๆเห็นตัว Agoda PREFERED ไม๊เอ่ย เล็กๆข้างบน เจ้าอันนี้คล้ายๆกับ sponsored ของ Expedia คือ โรงแรมต้องจ่ายเงินเพื่อใน badge นี้มา
- ใช้โทนสีอ่อน(สีเขียว) สำหรับส่วนลด Coupon code
- และด้วยการที่เค้าดึงความสนใจได้ขนาดนี้ ไม่ได้ส่งผลแค่ลูกค้าอย่างเดียวนะ สิ่งนี้ยังส่งผลทางจิตวิทยาให้กับโรงแรม ว่า คุณสามารถสร้าง attraction เหล่านี้เพื่อดึง traffic คนมา view โรงแรมได้ ด้วยการ จ่ายเพิ่ม บลาๆ
- แล้วลองดูที่คู่แข่ง ที่แต่และข้อความ badge เต็มไปหมดเลย มันก็จะทำให้แปลงจาก want เป็น need
อย่างโรงแรมนี้เค้าอาจจะไม่ได้ใช้จ่ายเยอะ เลยไม่ได้มี badge โปรโมทพิเศษ (ขออนุญาตเบลอน้าเพื่อนๆ)
จบแล้วจ้าาาาาาา
ก็เพื่อนๆจะจองเที่ยวไปไหนกัน อย่าลืมพก "สติ" มากกว่าการถูกโน้มน้าวโดย badge เหล่านี้นะเพื่อนๆ
เพราะสุดท้ายแล้ว ถ้าเรายินยอมซื้อเอง ละโรงแรมไม่ดี ไม่ถูกใจเนี่ย ทางเว็ปจองพวกนี้เค้าจะไม่รับผิดชอบน้าาา
เพราะงั้นอย่าลืมอ่านรีวิว และเปรียบเทียบเยอะๆด้วยละ ราคาถูกก็ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป :)
โฆษณา