Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
mommyandthekid.com
•
ติดตาม
14 ก.ค. 2020 เวลา 03:41 • การศึกษา
📒ชั้นอนุบาล🖍 ตอนที่ 3 : ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของชั้นอนุบาลตามแบบสิงคโปร์
mommyandthekid.com
🔢ส่องดูหลักสูตรคณิตศาสตร์สิงคโปร์ อนุบาลถึงประถม3 (3)🧮
📒ชั้นอนุบาล🖍 ตอนที่ 3 : ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนการสอนคณ…
mommyandthekid.com
🌈Mommy & the Kid❤️
จิตวิทยาเด็กและการศึกษา
เยี่ยมชม
ในบทความนี้ Bmum จะเล่าถึงตัวอย่างกิจกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ของชั้นอนุบาลตามหลักสูตรของสิงคโปร์นะคะ อ้างอิงจาก คู่มือการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ชั้นปฐมวัยของกระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์
https://www.moe.gov.sg/docs/default-source/document/education/preschool/files/nel-edu-guide-numeracy.pdf
ซึ่งการเรียนรู้ของเด็กจะไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะตอนที่ครูมาสอน แต่เด็กจะซึมซับความเข้าใจพื้นฐานของคณิตศาสตร์ไปเกือบตลอดเวลาจากกิจกรรมการใช้ชีวิตในโรงเรียนด้วย เช่นเวลากินอาหารว่าง ชั่วโมงเล่านิทานประจำวัน
ก่อนอื่นต้องขอทบทวนวัตถุประสงค์การเรียนรู้และอธิบายให้เห็นภาพชัดเจนก่อนนะคะ ว่ามีอะไรที่เราต้องการให้เด็กอนุบาลทำได้ก่อนจะขึ้นประถมศึกษาต่อไป
1️⃣ Learning Goal 1 : Recognize and use simple relationships and patterns
1️⃣ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ 1 : เข้าใจและสามารถใช้ความสัมพันธ์ของวัตถุและรูปแบบที่ซ้ำกัน
ความเข้าใจที่อยากให้เด็กได้รับ ยกตัวอย่างเช่น
🔸เด็กสามารถมองออกว่าในกองวัตถุ มีอะไรที่เหมือนกันบ้างและหยิบเอาของที่เหมือนกันแยกออกมาวางนอกกองได้
🔹เด็กอธิบายได้ว่ามันเหมือนกันตรงไหน เช่น สีเหมือนกัน ขนาดเท่ากัน หรือรูปร่างเหมือนกัน
🔸สามารถจับคู่สิ่งของตามประโยชน์ใช้สอย(function) เช่น แก้วกาแฟกับจานรอง ช้อนกับส้อม ดินสอกับกระดาษ เป็นต้น
🔹สามารถจับคู่ของสองชุดที่มีจำนวนวัตถุเท่ากัน เช่น ชุดของเด็กสามคน กับ ชุดของตะกร้าสามใบ
🔸เปรียบเทียบของและใช้คำว่า “เหมือนกัน” และ “ต่างกัน” ได้อย่างถูกต้อง
🔹แบ่งวัตถุออกเป็นสองกลุ่มที่แตกต่างกันได้และบอกได้ว่าต่างกันตรงไหน เช่น สี ขนาด รูปร่าง
🔸เปรียบเทียบวัตถุสองชิ้นได้ตามความยาว ใช้คำว่า “ก ยาวกว่า ข” และ “ข สั้นกว่า ก” ได้อย่างถูกต้อง
🔹มองรูปภาพเหมือนจริงของวัตถุและสามารถเปรียบเทียบได้ว่าภาพไหนมีจำนวนมากกว่า,น้อยกว่า
🔸สามารถเรียงลำดับของได้จากจำนวนน้อยสุดไปมากสุด,สั้นสุดไปยาวสุด,ขนาดเล็กสุดไปใหญ่สุด
🔹เข้าใจเรื่องลำดับของเหตุการณ์จากก่อนไปหลังได้และสามารถใช้คำพูดบรรยายลำดับของเหตุการณ์ “แรกสุด” “ที่สอง” “ที่สาม”… “ถัดไป” และ “สุดท้าย” ได้
🔸สามารถเข้าใจลำดับของเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รับประทานอาหารเช้า ->รับประทานอาหารกลางวัน->รับประทานอาหารว่าง->รับประทานอาหารเย็น->ถึงเวลาเข้านอน
🔹บอกชื่อและเรียงลำดับวันในสัปดาห์,เดือนในหนึ่งปี
🔸เข้าใจและดูออกถึงแพทเทิร์นของสิ่งรอบตัวที่เห็นบ่อยๆ เช่น ลายผ้าม่าน กระดาษห่อของขวัญ กลีบดอกไม้ เสือ ม้าลาย
🔹เมื่อเห็นแพทเทิร์นอย่างง่ายๆสามารถดูออกและทำต่อได้
🟦ตัวอย่างกิจกรรมตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ 1🟨
🔸การจัดประเภทเดียวกัน(Matching)🔸
- เกมเดินหาของที่เหมือนกันในห้องเรียนหรือรอบๆโรงเรียน
- เกมการ์ดจับคู่เหมือน
- ใช้ชุดตัวต่อลูกบาศก์(unifix cubes)ให้จับคู่บล็อกที่สีเหมือนกัน
- ให้หาแผ่นบล็อกที่รูปร่างเหมือนกันจากชุดบล็อกเรขาคณิต(pattern blocks)
- ให้จับคู่ภาพกับเงา
- ให้หากระดุมที่เหมือนกันจากกองกระดุมหลายๆแบบ
- ให้จับคู่ของตามประโยชน์ใช้สอย เช่น นำแก้วกาแฟไปวางบนจานรอง นำช้อนไปวางคู่กับส้อม
🔸การแยกประเภทที่ต่างกัน(Sorting)🔹
- ให้แบ่งของที่ต่างกันออกเป็นสองกลุ่ม
- ให้แยกเมล็ดถั่ว/ปอมปอม/ลูกปัด/กระดุม ใส่ภาชนะตามสีที่แตกต่างกัน
- ให้เล่นทำคุ้กกี้จากแป้งโดว์หรือดินน้ำมัน ใช้แม่พิมพ์ที่มีรูปร่างต่างๆกัน เสร็จแล้วเอา “คุ้กกี้”แต่ละแบบแยกใส่ขวดโหลตามรูปร่างที่ต่างกัน
- ให้เด็กช่วยกันเก็บของ เช่น ลูกบอลขนาดต่างๆโดยแยกใส่กล่องเก็บตามขนาดที่แตกต่างกัน
- ให้เก็บจานชามและแก้วน้ำที่ใช้แยกตามขนาดที่แตกต่างกัน
🔸การเปรียบเทียบ(Comparing)🔶
- ให้เด็กฝึกเปรียบเทียบของแบบเดียวกันแต่มีขนาดหรือความยาวที่ต่างกัน เช่น เชือก ลูกบอล และให้พูดออกมาว่าเช่น “เชือกสีแดงสั้นกว่าเชือกสีเหลือง” “ลูกฟุตบอลใหญ่กว่าลูกปิงปอง”
- เล่มเกมจับไม้สั้นไม้ยาว
🔸🔶การเรียงลำดับ(Ordering)🔹🔷
- ให้เปรียบเทียบและเรียงลำดับลูกบอลหลายชนิดเช่น ลูกปิงปอง ลูกเทนนิส ลูกบาสเกตบอล จากของจริง
- นำเชือกหลายๆเส้นที่มีความยาวต่างๆกันมาให้เด็กวางเรียงจากสั้นสุดไปยาวสุด
- ให้เรียงการ์ดภาพตามลำดับเหตุการณ์
🔸🔹🔸การสร้างรูปแบบ(Patterning)🔹🔸🔹
- ให้เด็กเดินสำรวจมองหาแพทเทิร์นรอบๆห้องเรียนหรือโรงเรียน
- ครูวางวัตถุให้เป็นแพทเทิร์นชนิด AB, ABC หรือไม่เป็นแพทเทิร์น แล้วให้เด็กบอกว่าเป็นแพทเทิร์นหรือไม่ เป็นชนิดอะไร แล้วให้เด็กวางวัตถุเรียงเป็นแพทเทิร์นเดิมต่อไปอีก
ให้ทำท่าประกอบจังหวะเพลงเป็นแพทเทิร์นง่ายๆ เช่น ตบมือ ชูแขน ตบหน้าตัก
- ให้เด็กร้อยลูกปัดเป็นแพทเทิร์น
- ให้เด็กยืนเรียงเป็นแถวแล้วแต่ละคนทำท่าเคลื่อนไหวต่างกันให้เกิดแพทเทิร์น เช่นคนแรกกระโดด,คนที่สองย่อตัว,คนที่สามกระโดด…สลับกันไปเรื่อยๆ
2️⃣ Learning Goal 2 : Use numbers in daily experience
2️⃣ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ 2 : สามารถใช้ตัวเลขจำนวนในชีวิตประจำวันได้
ความเข้าใจที่อยากให้เด็กได้รับ ยกตัวอย่างเช่น
▫️จำชื่อตัวเลขได้และสามารถพูดเรียงตามลำดับได้อย่างถูกต้อง เช่นเวลาร้องเพลงสำหรับเด็กที่มีนับตัวเลขด้วย
youtube.com
Five Little Ducks | Kids Songs | Super Simple Songs
Watch this video and MUCH more in the Super Simple App for iOS! ► http://apple.co/2nW5hPd One of our favorite kids songs! ”“Five little ducks went out one da...
▪️นับตัวเลขพร้อมกับแตะวัตถุไปทีละ 1 ชิ้นได้อย่างถูกต้อง
เมื่อถามจำนวนของวัตถุ สามารถเข้าใจคำถามและใช้วิธีนับจำนวนเพื่อตอบคำถามได้
▫️นับและรู้จำนวนของวัตถุได้ทั้งของจริง รูปภาพ และสัญลักษณ์เช่น จุด ไดอะแกรมแท่งจำนวน ขีด
▪️แสดงจำนวนออกมาได้หลากหลายวิธี เช่นนำของมาวาง ชูนิ้ว วาดภาพ ระบายสีลงในกรอบจำนวน(five and ten frames) ขีดเส้น วาดจุด
▫️บอกจำนวนเท่าเดิมถึงแม้ครูจะสลับตำแหน่งของวัตถุหรือวางเรียงใหม่ในรูปแบบต่างๆกันไป
▪️จำและบอกได้ถูกเมื่อเห็นตัวเลขหรือคำศัพท์ของจำนวนตามที่ต่างๆ เช่นในหนังสือ บนป้ายโฆษณา ในโทรทัศน์
▫️เริ่มสร้างภาพของตัวเลข เช่นนำแป้งโดว์มาปั้นเป็นตัวเลข, นำกระดาษสีชิ้นเล็กๆหรือกระดุมมาติดกาวทำภาพตัวเลข
▪️เริ่มฝึกเขียนตัวเลข 1-10
▫️เข้าใจว่าจำนวนใหญ่ประกอบด้วยจำนวนเล็กๆมารวมกัน เช่นเข้าใจว่า สอง และ สาม มารวมเป็น ห้า
⬜️ตัวอย่างกิจกรรมตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ 2⬛️
▫️▫️▫️การนับจำนวน(Counting)▪️▪️▪️
◻️Rote Counting การท่องจำชื่อตัวเลข เช่น
- ให้ร้องเพลงหรือท่องบทกลอนที่มีการพูดถึงตัวเลข เช่นเพลง ลูกเป็ดห้าตัว (five little ducks)
◼️Rational Counting การนับของเพิ่มจำนวนขึ้นทีละ 1 เช่น
- นำจานมาสองใบ ใบหนึ่งมีกองของที่จะนับ อีกใบเป็นจานเปล่า ให้เด็กนับวัตถุโดยหยิบไปใส่จานเปล่าทีละ 1 ชิ้นพร้อมทั้งออกเสียงนับจำนวน
- นับโดยเอาของไปใส่ช่องตาราง,กรอบจำนวนหรือกล่องเปล่าทีละ 1 ชิ้น
- นับจากรูปภาพ(เด็กจะแตะได้แต่ขยับของไม่ได้)
- นับวัตถุที่อยู่ไกลๆ(เด็กจะแตะและขยับวัตถุไม่ได้)
เอาผ้าปิดตา ให้ฟังเสียงหย่อนวัตถุ เช่นเหรียญลงในกระป๋องโลหะแล้วนับจากเสียงวัตถุตกกระทบกระป๋อง
- นับหยิบของออกมาจากกองใหญ่ เช่นให้เด็กหยิบคุ้กกี้ออกมาจากกล่องคนละห้าชิ้น หรือผลัดกันไปหยิบมาแจกเพื่อนคนละห้าชิ้น
▪️▫️▪️ความรู้สึกเชิงจำนวน(Number Sense)▪️▫️▪️
- ให้เด็กแต่ละคนหยิบของขึ้นมาจากถุงใหญ่คนละ 1 กำมือแล้วใส่จาน ลองมานับเปรียบเทียบจำนวนกับเพื่อนๆว่าของใครมากกว่า น้อยกว่าหรือเท่ากัน
- วางบล็อกโดมิโนคว่ำหน้า ให้พลิกหงายสองอันแล้วเปรียบเทียบว่าอันไหนมีจุดมากกว่า
- หลังจากเด็กสามารถเปรียบเทียบมากกว่าและน้อยกว่าได้แล้ว ให้เริ่มฝึกนับว่ามีจำนวนต่างกันกี่ชิ้น โดยเริ่มจากความต่างกันจำนวนน้อยๆก่อน เช่นมากกว่า1-3ชิ้น
- ครูบอกให้เด็กหยิบของจำนวนต่างๆเช่น “ให้หยิบสีเทียนมาห้าแท่ง”
- ให้เด็กทำสมุดภาพตัวเลขแล้วตัดตัวเลขจากหน้าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารมาแปะสะสมไว้
- จับคู่ภาพตัวเลข(5)หรือภาพคำศัพท์จำนวน(ห้า)เข้ากับรูปภาพของจำนวนเท่ากัน🌂🌂🌂🌂🌂
- แบ่งเด็กเป็นกลุ่มย่อยๆ ให้นับของในรูปภาพ โดยเด็กแต่ละคนจะเริ่มนับจากจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกัน แล้วให้แต่ละคนบอกจำนวนที่ตัวเองนับได้ จะพบว่านับได้เท่ากันหมดทุกคน
- ให้เด็กเลือกการ์ดภาพหรือแถวของหมุดในบอร์ดหมุด(pegboard)ตามจำนวนที่ครูบอก เช่น จงชี้ทุกอันที่มีจำนวนเท่ากับ ห้า
- พาเด็กเดินตามหาตัวเลขในห้องเรียนหรือรอบโรงเรียน
ให้เด็กบอกว่าตัวเลขที่หายไปจากเส้นจำนวนคืออะไร
- ให้เด็กแต่ละคนถือการ์ดคำศัพท์จำนวนคนละใบ(หนึ่ง,สอง,สาม…) ครูตะโกนเรียกจำนวนอะไรเด็กคนที่ถือการ์ดจำนวนนั้นต้องวิ่งมาหน้าห้อง
- ให้ปั้นตัวเลขจากแป้งโดว์หรือดินน้ำมันในกิจกรรมศิลปะ
🔲จำนวนหนึ่งแบ่งย่อยออกได้เป็นหลายส่วน(Part-whole relationship)🔳
- ให้เด็กจับคู่สองคน แจกฝาขวดน้ำหรือบล็อกคนละสี ครูให้โจทย์เช่น “5” เด็กคนแรกจะหยิบบล็อกของตัวเองมากี่อันก็ได้แต่เด็กคนที่สองต้องเอาบล็อกของตัวเองมารวมให้ได้จำนวนทั้งหมดห้าชิ้น
- เล่านิทานภาพที่มีรูปแทนจำนวนมารวมกัน เช่น มีลูกเป็ดห้าตัวอยู่ในฟาร์ม สองตัวกำลังว่ายในสระน้ำ ส่วนอีกสามตัวกำลังเดินเล่นอยู่ที่สนามหญ้า
3️⃣ Learning Goal 3 : Recognize and use basic shapes and simple spatial concepts in daily experiences
3️⃣ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ 3 : จำได้ เข้าใจ และใช้เรื่องรูปร่างเรขาคณิตและมิติสัมพันธ์เบื้องต้นในชีวิตประจำวัน
🔸จดจำได้และบอกชื่อของรูปวงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า และสามเหลี่ยมได้อย่างถูกต้อง
🔹ลากเส้นตามรอยประเป็นรูปร่างต่างๆได้
🔸นำแพทเทิร์นบล็อกรูปร่างต่างๆมาเรียงต่อกันเป็นรูปใหม่ๆได้ตามจินตนาการ
🔹เข้าใจและใช้คำศัพท์ว่า บน/ล่าง,ซ้าย/ขวา,หน้า/หลัง,ใกล้/ไกล ได้อย่างถูกต้อง เช่นในกิจกรรมพละหรือกิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ
🟦ตัวอย่างกิจกรรมตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ 3🟨
🔸🔹รูปร่างเรขาคณิต(Shapes)🔸🔹
- ให้เด็กเดินมองหารูปร่างต่างๆในห้องเรียนหรือรอบโรงเรียน
ให้หารูปร่างต่างๆจากหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารแล้วตัดออกมาแปะสะสมใน “สมุดรูปเรขาคณิต”ประจำตัว
- ให้เลือกหยิบบล็อกจากชุดบล็อกเรขาคณิต(pattern blocks) ลองคละให้มีหลายสีหลายขนาด
- ให้เด็กนำบล็อกรูปเรขาคณิตมาวางทาบกระดาษแล้ววาดตามขอบนอก เสร็จแล้วลองพลิกกระดาษดูจากหลายๆมุม
- ใช้บล็อกเรขาคณิตมาสร้างรูปเรขาคณิตอื่นๆ เช่น สามเหลี่ยมสองรูปรวมกันได้สี่เหลี่ยม หรือให้สร้างรูปตามจินตนาการเช่น บ้าน เรือ
- ให้ทำภาพโมเสกจากการนำกระดาษรูปเรขาคณิตเล็กๆมาแปะติดแทนการระบายสีรูปภาพ
🔶ทิศทางและมิติสัมพันธ์เบื้องต้น(Simple spatial concepts🔷
- ให้เด็กเล่นเกมล่าสมบัติ โดยให้ผลัดกันบอกใบ้ถึงตำแหน่งที่ซ่อนสมบัติ เช่น “เดินตรงไปข้างหน้าสามก้าว เลี้ยวซ้ายแล้วเดินไปอีกสองก้าว หยิบกล่องที่วางอยู่ชั้นบนสุดออกมา จะเจอว่ามีสมบัติแอบวางซ่อนอยู่ใต้กล่อง”
ที่ได้เล่ามาเป็นเพียงแค่การยกตัวอย่างของกิจกรรมบางส่วนเท่านั้น จริงๆแล้วครูผู้สอนสามารถยืดหยุ่นปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์และระดับอายุ,พื้นฐานเดิมและความสนใจของเด็กแต่ละคนด้วย
สำหรับบทความถัดไปซึ่งเป็นบทความสุดท้ายของระดับชั้นอนุบาล Bmumจะมาสรุปกลยุทธ์ในการสอนและวิธีการประเมินผลของครูผู้สอนนะคะ เผื่อเราจะนำไปปรับใช้กับลูกๆของพวกเราได้ด้วย หลังจากนั้น Bmum ก็จะมารีวิวหนังสือเรียนของระดับประถม1-3ให้จะได้ไว้ดูแนวทางการสอนคณิตศาสตร์ตามแบบฉบับของสิงคโปร์ค่ะ
อ่านบทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สิงคโปร์บทก่อนๆได้
ตอนที่1
https://wp.me/pc6a9z-6Y
ตอนที่2
https://wp.me/pc6a9z-8Q
7 บันทึก
22
20
14
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ส่องดูหลักสูตรคณิตศาสตร์สิงคโปร์ เขาเรียนอะไรกันบ้าง
7
22
20
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย